ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จากกระทู้ที่ ๑๔๒๓๖ โดยคุณเมตตา..
[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 447
ปาสราสิสูตร
ความที่ธรรมเป็นสภาพลึกซึ้ง
ตอบว่า ข้อนี้ เป็นความจริง จิตของพระองค์ น้อมไปอย่างนี้ (ไม่แสดงธรรม) ด้วยอานุภาพแห่ง "ปัจจเวกขณญาณ" ก็พระองค์บรรลุ สัพพัญุญุตญาณ พิจารณาถึง "ความที่สัตว์ยังยึดกิเลส และ ความที่ธรรมเป็นสภาพลึกซึ้ง" จึงปรากฏว่า สัตว์ยังยึดกิเลส และ ธรรมเป็นสภาพลึกซึ้ง โดยอาการทั้งปวง เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ทรงพระดำริว่า สัตว์เหล่านั้น เพียบไปด้วย "กิเลสเศร้าหมอง" เหลือเกิน กำหนัดเพราะราคะ โกรธเพราะโทสะ หลงเพราะโมหะเหมือนน้ำเต้าเต็มด้วยน้ำข้าว เหมือนตุ่มเต็มด้วยเปรียง เหมือนผ้าเก่าชุ่มด้วยมันข้น และเหมือนมือเปื้อนยาหยอดตา สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จักตรัสรู้ได้อย่างไรเล่า.! จึงทรงน้อมจิตไปอย่างนั้น แม้ด้วย "อานุภาพแห่งการพิจารณาถึงการยึดกิเลส"
ก็ธรรมนี้พึงทราบว่าลึก เหมือนลำน้ำที่รองแผ่นดิน เห็นได้ยาก เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่เอาภูเขามาวางปิด รู้ตามได้แสนยาก เหมือนปลายแห่งขนทราย ที่แบ่งออกเป็น ๗ ส่วน ชื่อว่า ทาน ที่เราพยายาม เพื่อแทงตลอดธรรมนี้ไม่ให้แล้ว ไม่มี ชื่อว่า ศีลที่เราไม่ได้รักษาแล้วก็ไม่มี ชื่อว่า บารมีไรๆ ที่เรามิได้บำเพ็ญ ก็ไม่มีเมื่อเรานั้น "กำจัดกำลังของมารที่เหมือนไร้อุตสาหะ" แผ่นดิน ก็ไม่ไหว เมื่อระลึกถึง "ปุพเพนิวาสญาณ" ในปฐมยาม ก็ไม่ไหว เมื่อชำระทิพยจักษุในมัชฌิมยาม ก็ไม่ไหว แต่เมื่อแทงตลอด "ปฏิจจสมุปบาท" ในปัจฉิมยาม หมื่นโลกธาตุจึงไหว ดังนั้น ผู้ที่มีญาณกล้า แม้เช่นเรา ยังแทงตลอดธรรมนี้ได้โดยยากทีเดียวโลกิยมหาชน จักแทงตลอดธรรมนั้นได้อย่างไร
พึงทราบว่า ทรงน้อมจิตไปอย่างนี้ แม้ด้วยอานุภาพแห่งการพิจารณา "ความลึกซึ้งแห่งพระธรรม" ด้วยประการ ดังนี้
เนื่องจากมีการกล่าวถึงคำว่า "ปฏิจจสมุปบาท" กันมากเมื่อค้นดูแล้ว ก็ยังไม่แน่ใจ จึงขอเรียนถามดังนี้ค่ะ
๑. ข้อความในพระสูตรนี้ ที่เป็นตัวอักษรสีฟ้า หมายความว่าอะไรคะ
๒. ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมที่ทรงแสดงโดยอีกนัยหนึ่งของ อริยสัจธรรม ๔ ใช่หรือไม่คะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
๑. กรุณาถามแยกเป็นข้อๆ ครับ
๒. พระธรรมที่แสดงทั้งหมดไม่พ้นอริยสัจจธรรม ปฏิจจสมุปบาท เป็นทุกขสัจจ์ และสมุทยสัจจ์ ความดับปฏิจจสมุปบาท เป็นนิโรธสัจจ์ หนทางเพื่อการดับ เป็นมรรคสัจจ์
กรุณาแนะนำความหมายของคำเหล่านี้ เพื่อประกอบการศึกษาพระสูตรนี้ ค่ะ
๑. ปัจจเวกขณญาณ
๒. ความที่สัตว์ยังยึดกิเลส และ ความเป็นสภาพธรรมที่ลึกซึ้ง
๓. อานุภาพแห่งการพิจารณาถึงกิเลส
๔ ธรรมนี้พึงทราบว่าลึก เห็นตามได้ยาก รู้ตามได้ยาก
๕. เมื่อเรากำจัด "กำลังของมารที่เหมือนไร้อุตสาหะ"
๖. ปุพเพนิวาสญาณ
๗. ปฏิจจสมุปบาท
๘. ความลึกซึ้งแห่งพระธรรม
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
๑. เป็นชื่อของญาณประเภทหนึ่ง ปัจจเวกขณญาณ
๒. สัตว์ทั้งหลาย มีความยึดติดในสิ่งต่างๆ สภาพธรรมก็ลึกซึ้งรู้ได้ยาก
๓-๔. โลกุตตรธรรม ลึกซึ้ง เห็นตามได้ยาก เพราะปรากฏกับปัญญาขั้นโลกุตตระ
๕-๖. เป็นชื่อของญาณประเภทหนึ่งที่ระลึกชาติในหนหลังได้
๗. ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท
๘. พระธรรมที่ทรงแสดงลึกซึ้ง ต้องอาศัยการสะสมอบรมเจริญปัญญา
จากที่อาจารย์ประเชิญกรุณาอธิบาย...
"พระธรรมที่ทรงแสดงทั้งหมด...ไม่พ้น อริยสัจจธรรม"
ปฏิจจสมุปบาท เป็นทุกขสัจจ์ และ สมุทยสัจจ์ ความดับปฏิจจสมุปบาท เป็นนิโรธสัจจ์ หนทางเพื่อการดับ เป็นมรรคสัจจ์
ธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ และลึกซึ้ง และ (เบื้องแรก) ไม่ทรงน้อมพระทัยที่จะทรงแสดง หลังจากทรงตรัสรู้ ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ ปฏิจจสมุปบาท เกี่ยวข้องกับ อริยสัจจธรรม ๔ โดยนัยนี้เอง ที่ท่านอาจารย์สุจินต์ เคยกล่าวไว้ว่า "ปฏิจจสมุปบาท คือ ขณะนี้เอง" เป็นเช่นนี้เอง
ขออนุโมทนา อาจารย์ประเชิญ ที่กรุณาอธิบายข้อสงสัย ค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
มนุษย์เรา ยึดกิเลสได้เหนียวแน่นมากสุดๆ เสียขนาดนี้ พระพุทธองค์ ก็ยังทรงคิดค้นหาวิธีให้มนุษย์พ้นทุกข์ไปตามพระองค์ จนสำเร็จได้ ทรงเลิศด้วยปัญญา หาผู้ใดเปรียบได้จริงๆ ซาบซึ้งสุดๆ ถ้าไม่มีพระพุทธองค์ชี้นำทาง เราจะต้องนอนกอดกิเลสไปอีกกี่ล้านล้านชาติกัน
ขออนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนาท่านเจ้าของกระทู้และท่านวิทยากรดิฉันขออนุญาติ
ขอกราบเรียนว่าดิฉันได้อ่านบทพระสูตรปฏิจจสมุปบาทพอสรุปว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อริยสัจจสี่ และปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นเรื่องเดียวกันคือปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นคำสอนที่บอกเหตุปัจจัยของทุกข์ทั้งหมดที่มีอยู๋ ๑๒องค์ธรรมได้แก่
อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ (อวัยวะรับรู้ทั้ง ๖)
สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
เวทนาเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหา
ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ
ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
ชาติเป็นปัจจัยให้เกิด ชรา มรณ โศกะ ปริเทว ทุกขโทมนัส
และในปฏิจจสมุปบาท นี้มีสามส่วน ตามที่อาจารย์ประเชิญกล่าวไว้
คำถามคือ ๑ การฟังพระธรรม ในเรื่องปรมัตถธรรม ที่ว่าด้วยจิต เจตสิก รูป เพื่อให้เข้าถึงพระนิพพานนั้น ควรจะโยงไปถึงปฏิจจสมุปบาทอย่างไร จึงจะทำลายอวิชชาได้อย่างสิ้นเชิง (คำถามนี้เพื่อให้มองกรอบกว้างว่า การศึกษาปรมัตถธรรมจะพาไปถึงพระนิพพานอย่างไรค่ะ)
๒. เมื่อฟังธรรมเพื่อให้เข้าใจสภาวธรรมตามที่ปรากฏ ดังที่ฟังจากคำสอนของอาจารย์สุจินต์และท่านวิทยากรทุกท่าน (ยังไม่ครบถ้วน) บ่อยครั้งดิฉัน ฟังไปคล้อยตามได้แต่ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า แล้วเราจะเข้าสู่การสร้างปัญญาขั้นทำลายอวิชชาได้อย่างไร เพราะได้เคยอ่านในหลายกระทู้ สรุปได้ว่าต้องฟัง ด้วยศรัทธา ตั้งใจ มีกัลยาณมิตร คือพระพุทธเจ้า และสัตตบุรุษ ฟังธรรมบ่อยๆ มีโยนิโสมนสิการฯลฯ แต่หาทางเชื่อมโยงกับการทำลายอวิขขาไม่ได้เลยค่ะ ส่วนเวลาใด ก็คงต้องอีกนานหลายล้านโกฏิกัปป์ปแน่นอน (สำหรับดิฉัน)
ขออนุโมทนา ที่คำถามยาว ดิฉันปรารถนาคำชี้แนะทำนองพระสูตร อรรถกถาที่กล่าวถึงการเชื่อมโยงในคำถามทั้ง ๒ ค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
คุณพุทธรักษาขอให้ท่านวิทยากรแนะนำ 9 ข้อ เพื่อประกอบการศึกษาปฏิจจสมุปบาท
ท่านวิทยากรได้ตอบแล้ว คุณพุทธรักษาฟังแล้ว
ผมขอถามว่า คุณพุทธรักษาครับ ปฏิจจสมุปบาทมีอะไร หรือครับ ปฎิจจสมุปบาท คืออะไร หรือครับ มีอะไรอยู่ในปฎิจจสมุปบาท หรือครับ คุณพุทธรักษาผู้ยกพระสูตรมาเพื่อศึกษา ผมได้ถามแล้ว โปรดตอบด้วยเถิด
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ตอบคุณ homenumber5 ขอเรียนว่าการศึกษาพระธรรมคำสอนเพื่อการอบรมเจริญปัญญา เพื่อละอวิชชาอันเป็นประธานของสังสารวัฏฏ์ แต่ผู้ที่จะทำลายวงจรปฏิจจสมุปบาทได้ทั้งหมด ต้องเป็นพระอรหันต์ เมื่อท่านดับขันธปรินิพพานย่อมสิ้นสุดวัฏฏะ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ คามดับแห่งกองทุกข์ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ขออนุโมทนาค่ะ
ธรรมพร้อมด้วยเหตุ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
อ้างอิงความคิดเห็นที่ 11
ปรมัตถธรรม ที่ว่าด้วยจิต เจตสิก รูป เพื่อให้เข้าถึงพระนิพพานนั้น ควรจะโยงไปถึงปฏิจจสมุปบาทอย่างไร
มีสิ่งที่ปรากฏทางตา (สีฯลฯ คือ รูป) แล้ว (วิญญาณ คือ จิต) คิด (สังขาร คือ เจตสิก) เกิดความหวั่นไหวในภาพ (บัญญัติ) นั้น เพราะโมหะ (อวิชชา) ไม่รู้ตามจริงว่า เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นสภาพธรรมะอย่างหนึ่ง เมื่อจิตรกรลบภาพนั้นกลับไปไว้ในกระป๋องสี เราตามไปดูแล้วรู้สึกเฉย (อุเบกขา)
ปรมัตถอารมณ์กับบัญญัติอารมณ์จึงต่างกันอย่างนี้
จิตส่วนมากเป็นอกุศล ไม่อยากหวั่นไหว แต่ขัดกับตัณหา จึงเดือดร้อนกันทั่วโลกพระนิพพาน เป็นธรรมชาติที่สงบจากรูป-นาม (จิต เจตสิก) หรือขันธ์ห้า ควรอบรมเจริญปัญญา (ธรรมชาติที่รู้สภาพธรรมะโดยทั่วๆ ไปตามความเป็นจริง) ให้เข้าใจสภาพธรรมะนั้นๆ ตามจริง (ปรมัตถ์) แม้ความหวั่นไหวก็เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา พระพุทธเจ้าและสาวกก็มีบัญญัติเป็นอารมณ์
อวิชชาàสังขารàวิญญาณ ฯลฯ เป็นความเห็นของผู้ศีกษา ไม่ถือเป็นอันถูกต้อง
ขออนุโมทนา
แท้จริงในภาพที่ทำให้หวั่นไหวนั้นก็มีปรมัตถ์ (สีฯลฯ คือ รูป) ด้วย แต่เพราะอวิชชาครอบงำจิต จึงเห็นแต่บัญญัติ พระอรหันต์ท่านสงบเพราะละรูป-นามได้แล้ว
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ