ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
วันเสาร์ที่ 8 มิ.ย. 2556 กระผมจดบันทึกข้อความจากชั่วโมงพระสูตร และก็ขอโอกาสในการแบ่งปันเป็นเนื้อความสรุปสั้นๆ ตามกำลังความเข้าใจครับ (ต้องขอประทานโทษที่เนื้อหาอาจไม่ครบทั้งหมด เพราะฟังจากถ่ายทอดสด ซึ่งสัญญานที่ได้รับบางครั้งอาจขาดหายบ้างครับ)
-“ความหวั่นไหว”ความหวั่นไหวมี เมื่อขณะใดก็ตามที่จิตไม่สงบ ไม่ได้เป็นไปในกุศลถ้าไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ก็ไม่หวั่นไหว เช่น มีคนพูดไม่ดี คำแรง ตกใจ กลัว เป็นต้น จึงหวั่นไหว
-ลักษณะที่ไม่สงบทั้งหมด คือ อุทธัจจะ โมหะ โลภะ เป็นต้น หวั่นไหวไปจากกุศล เพราะมีอหิริกะ อโนตตัปปะ โมหะ อุททัจจะ เป็นต้น
-กำลังหวั่นไหวอยู่หรือไม่? (เพราะไม่ได้สงบด้วย โลภะ ทิฏฐิ อวิชชาอหิริกะ อโนตตัปปะ เป็นต้น)
-ฟังธรรม เข้าใจเพียงขั้นหนึ่งตามที่ได้ศึกษาว่า ไม่มีตัวตน สัตว์ บุคคล เช่น “เห็น” มีเจตสิกทั้งหมด ๗ ประเภท เมื่อหวั่นไหว เจตสิกเกิน ๗ ประเภทแล้ว เพราะฉะนั้นทั้งๆ ที่หวั่นไหวอยู่ก็ไม่รู้ เพียงแต่กำลังฟัง เรื่องของความหวั่นไหว กำลังฟังเรื่องของสิ่งที่มีจริง ซึ่งยากแสนยากที่จะเข้าใจถูกต้อง
-การฟังขณะนี้ เพื่อเข้าใจลักษณะของธรรม ซึ่งเดี๋ยวนี้กำลังมีความจริงที่กำลังเกิดขึ้นและดับไป ซึ่งจะเข้าใจขึ้นได้ต้องฟังธรรม
-ในบรรดาสิ่งที่มีจริง มีธรรมที่เป็นกุศล และธรรมเป็นอกุศล ซึ่งตรงข้ามกับกุศล ไม่ใช่เพื่อเรียกชื่อ แต่เพื่อเข้าใจความจริง เช่น กุศล มีอโลภะมีสิ่งที่น่าพอใจ แต่ไม่หวั่นไหวไปอยากได้ เป็นต้น
-การศึกษาธรรม ไม่ใช่เพื่อคิดเอง แต่เพื่อการเข้าใจธรรมถูกต้อง ตามที่ทรงตรัสรู้
-แม้มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ที่ใครๆ ก็ติดข้อง แต่ผู้ที่สะสมมาที่กุศลเกิดได้ขณะนั้นก็ไม่หวั่นไหว
-แม้ฟังพระธรรมเข้าใจ ก็ยังไม่รู้ว่าขณะนี้หวั่นไหว หรือไม่หวั่นไหวจะรู้ก็ต่อเมื่อหวั่นไหวไปแล้วด้วย โลภะ มานะ ทิฏฐิ บ้าง
-ขณะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ขณะนั้นไม่หวั่นไหว
-“ความดิ้นรนย่อมมีแก่ผู้มีตัณหา ทิฏฐิ มานะ” ดิ้นรนทุกวัน ไม่มีใครบังคับ เพราะเกิดแล้วตามปัจจัย คือ ตามการสะสมมา ถ้าไม่มี “ความหวั่นไหวในรูปแล้ว จะดิ้นรนหรือไม่”
-ดิ้นรนเพื่อรูปที่ปรากฏ เช่น ดิ้นรนเพื่อให้มีรูปมากมายในจาน ดิ้นรนให้มีรูปกุหลายสวยๆ ดิ้นรนให้ดูงามขึ้นในสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นตัวเราดิ้นรนในเวทนา คือ ไม่อยากให้ทุกข์เกิด แค่ไม่พอใจในเสื้อผ้านั้นก็แก้ทั้งคืน ดิ้นรนไหม?
-หวั่นไหวไปด้วยอกุศลโดยที่ไม่รู้เลย ก็ดิ้นรน ต้องพากเพียร ดิ้นรนเพื่อความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
-สัญญาจำได้ว่าอาหารอร่อยอยู่ที่ใด จำได้ว่าอยู่ที่ไหน จำไม่ถูก ก็ถามผู้รู้ พากเพียรจนกระทั่งไปถึง นี้คือความหวั่นไหวไปในสัญญาขันธ์
-เพราะฉะนั้นกว่าที่จะเข้าใจความจริงมั่นคงได้ ปัญญาเท่านี้ยังไม่พอเพราะแม้ฟังธรรม ก็ไม่สนใจความเข้าใจ แต่หวั่นไหวไปเพื่อหาวิธีเข้าใจ ผู้ที่ศึกษา ไม่ใช่เพื่อหวั่นไหวอยากได้ หรือเพิ่มความสงสัยในพระธรรม แต่เพื่อเข้าใจ ไตร่ตรองความละเอียดของกุศล อกุศล และเข้าใจความจริงลึกซึ้งยิ่งขึ้น
-ประโยชน์ของพระสูตร คือ ให้ทราบว่า ผู้ที่กิเลสมีมากขนาดนั้นจะละได้อย่างไร ถ้าปัญญาไม่พอ เพราะฉะนั้นฟังธรรม เพื่อเข้าใจธรรม และเห็นถูก ธรรมเหมือนยารักษาโรค ให้เข้าใจถูก ให้รู้จักธรรมที่ปรากฏ ไม่ประมาทอกุศลที่มีมากด้วยความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น
-การฟังธรรมเข้าใจมั่นคง เป็นประโยชน์เพื่อเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม
-ต้องเป็นผู้ที่อดทนอย่างยิ่ง ผู้ที่อดทน และไม่อดทนต่างกันหรือไม่ อดทนแม้เล็กน้อยก็เป็นประโยชน์ จนกว่าจะอดทนเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีขณะนี้ จนกระทั่งอดทนเป็นปรกติ
-“ชาวโลกเห็นนามรูปเป็นจริง พระอริยบุคคลเห็นนามรูปเป็นเท็จ ชาวโลกเห็นนิพพานเป็นเท็จ พระอริยบุคคลเห็นนิพพานเป็นจริง”
-ชาวโลกเห็นดอกไม้จริง (คิดว่าไม่เกิด ไม่ดับ ไม่เข้าใจว่าเป็นนามรูป) แต่พระอริยบุคคลเห็นตรงข้ามกับชาวโลก แม้พระนิพพานมีจริง แต่เมื่อชาวโลกไม่ประจักษ์ ก็เหมือนพูดเรื่องเท็จหลอกลวงจากความเป็นชาวโลก ถึงพระอริยบุคคลด้วยอะไร? (ปัญญา)
-นามรูป เป็น เท็จ เพราะแค่เพียงปรากฏแล้วหายไป ลวงให้เห็นว่ามีจริง หลงว่าเที่ยง แต่ความจริงแล้วเท็จ เพราะไม่เที่ยง แต่หลงว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
-ถ้าหลงไปว่าเป็นโลกที่รวมกันหลายๆ อย่าง ก็ทำลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนไม่ได้ จนกว่าสิ่งเดียวจะปรากฏ เช่น ธาตุที่รู้เฉพาะแข็งปรากฏ เป็นต้น นี้คือ หนทางการละความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เมื่อสภาพธรรมปรากฏกับปัญญา
-ขณะนี้ขั้นฟัง ให้เข้าใจธรรมยิ่งขึ้น เพื่อเข้าใจความจริง จนกว่าถึงความเป็นพระอริยบุคคลที่ถึงความเข้าใจสิ่งที่มีจริง (คือนิพพาน) แต่ชาวโลกว่าเป็นเท็จ
-ถ้าไม่มีอะไรเกิดสักอย่างจะมีคน ต้นไม้ เก้าอี้ไม่ได้ (ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา เกิดขึ้น กระทบจักขุปสาทรูป จิตเห็นเกิดไม่ได้) แต่พอมีแล้ว ไม่รู้ เริ่มจำ (จำ เป็นนามธรรมที่เกิดกับธาตุรู้ เพราะจิตเกิดโดยลำพังไม่ได้ ต้องมีสภาพจำเกิดด้วย) จำแล้วโดยเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
-แต่จริงๆ แล้วเป็นธรรม ปรมัตถธรรม คือ แม้ไม่ได้เรียกชื่อ (คิด หรือ เปล่งเสียง เพราะคุ้นตามความหมายของเสียงนั้นเพราะมีสภาพจำ) แต่ก็เปลี่ยนแปลงความจริงนั้นๆ ไม่ได้
ขออนุโมทนาท่านอาจารย์ อาจารย์วิทยากร และผู้ร่วมสนทนาทุกท่านครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประโยชน์ของพระสูตร คือ ให้ทราบว่า ผู้ที่กิเลสมีมากขนาดนั้น จะละได้อย่างไร ถ้าปัญญาไม่พอ เพราะฉะนั้นฟังธรรม เพื่อเข้าใจ ธรรม และเห็นถูก ธรรมเหมือนยารักษาโรค ให้เข้าใจถูก ให้รู้จัก ธรรมที่ปรากฏ ไม่ประมาทอกุศลที่มีมากด้วยความเข้าใจธรรม เพิ่มขึ้น
...ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณwittawat ด้วยครับ...
การศึกษาธรรม ไม่ใช่เพื่อคิดเอง แต่เพื่อการเข้าใจธรรมถูกต้อง ตามที่ทรงตรัสรู้
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ