[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 368
จตุตถปัณณาสก์
อินทริยวรรคที่ ๑
๑. อินทริยสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๔ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 368
จตุตถปัณณาสก์
อินทริยวรรคที่ ๑
๑. อินทริยสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๔ ประการ
[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๔ ประการนี้ ฯลฯ คือ
สทฺธินฺทฺริยํ อินทรีย์คือศรัทธา
วิริยินฺทฺริยํ อินทรีย์คือวิริยะ
สมาธินฺทฺริยํ อินทรีย์คือสมาธิ
ปญฺินฺทฺริยํ อินทรีย์คือปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล อินทรีย์ ๔.
จบอินทริยสูตรที่ ๑
จตุตถปัณณาสก์
อินทริยวรรควรรณนาที่ ๑
อรรถกถาอินทริยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอินทริยสูตรที่ ๑ แห่งปัณณาสก์ที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า สัทธินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในสัทธาธุระ. แม้ ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล.
จบอรรถกถาอินทริยสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 369
๒. ปฐมพลสูตร
ว่าด้วยพละ ๔
[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ นี้ ฯลฯ คือ สทฺธาพลํ พละคือศรัทธา วิริยพลํ พละคือวิริยะ สมาธิพลํ พละคือสมาธิ ปญฺาพลํ พละคือปัญญา ภิกษุทั้งหลาย นี้แล พละ ๔. จบปฐมพลสูตรที่ ๒ ปฐมพลสูตรที่ ๒ ชื่อว่า สัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวใน อัสสัทธิยะ (ความไม่เชื่อ). แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล.
๓. ทุติยพลสูตร
ว่าด้วยพละ ๔
[๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ นี้ ฯลฯ คือ ปญฺาพลํ พละคือปัญญา วิริยพลํ พละคือวิริยะ อนวชฺชพลํ พละคือกรรมอันไม่มีโทษ สงฺคาหกพลํ พละคือการสงเคราะห์คนที่ควร สงเคราะห์ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล พละ ๔. จบทุติยพลสูตรที่ ๓