ได้อ่านในหัวข้อสังฆทาน ของผู้ที่ post มา สงสัยว่า ตกลงสังฆทานที่ถูกต้องเป็นอย่างไรกันแน่ ที่เห็นอยู่มี ๒ แนวความคิดซึ่งก็เป็นที่มาจากพระไตรปิฏกทั้ง ๒ แนวนี้ครับ คือ
แนวที่ ๑ สังฆทานต้องถวายแด่พระ ๔ รูปและต้องเป็นอาหารที่พระฉันได้ในเวลานั้น ไม่ใช่อาหารแห้งหรือที่เราเคยถวายเป็นถังๆ และการถวายต้องเป็นพิธีมีการกล่าวถวายและมีการกล่าวอปโลกน์ของพระเพื่อสละอาหารนั้นๆ หลังจากได้รับการถวายหรือตักแล้วเพื่อให้ญาติโยมได้กินกัน หากไม่มีการอปโลกน์ฆราวาสไปกินไม่ได้ หากกินถือว่ากินของสงฆ์ผลคือ จะไปเป็นเปรต
แนวที่ ๒ ก็คือตามแบบที่บอกว่าถวายด้วยจิตใจที่นอบน้อมที่คิดว่าถวายแด่สงฆ์ไม่ใช่บุคคลครับ
๑. เลยสงสัยว่าอย่างไหนถูกผิดกันแน่อยากทำแบบที่ถูกต้องครับ
๒. หากแบบ ๒ ถูก อย่างงี้ถ้าตอนเช้าใส่บาตร คิดว่าถวายแด่สงฆ์ หรือถวายที่ไม่ใช่บุคคลอย่างงี้เป็นสังฆทานหรือเปล่าครับ เพราะสังฆทานได้ผลมากครับ (เท่าที่รู้มาผล ๑๐,๐๐๐ ล้านเท่าเป็นอย่างน้อยหรือนับไม่ได้ครับ) ผมเคยอ่านในพระไตรปิฏกตอนหนึ่ง
อยากแสดงให้ช่วยกันคิดครับ
นางภัทราใส่บาตรหน้าบ้านตลอดชีวิต ไปบังเกิดเป็นบาทบริจาคของพระอินทร์ซึ่งผมก็คิดว่าคงจะไม่ใช่ใส่บาตรเจาะจงผู้ใดนะครับ ส่วนน้องสาวนางสุภัทราไม่เคยทำบุญเลยจนวันหนึ่งเริ่มแก่ลงเลยอยากทำบุญ แต่โชคดีที่ได้ใส่บาตรแบบสังฆทานโดยมีพระรูปหนึ่งในตอนเช้ามารับบาตร และเป็นพระอรหันต์เป็นผู้แนะนำเพื่อให้ได้บุญมากแก่หญิงคนนี้ โดยให้นิมนตร์พระมารับอาหาร ๘ รูปที่บ้านเป็นเวลา ๗ วัน ซึ่งนางสุภัทราตายไปไปบังเกิดเป็นเทพนารีผู้ยิ่งใหญ่มีวิมานอยู่ชั้นนิมมานนรดี ตรงนี้พระโมคคัลลานะเป็นผู้เล่าครับ และไม่รู้ว่าใครเคยอ่านตอนนี้บ้างครับ ผมเลยคิดว่าสังฆทานที่ถูกต้องน่าจะแบบ ๑ นะครับ
หากเป็นแบบ ๒ ใครๆ ก็ทำกันโดยง่าย แค่น้อมจิตคงจะมีเทวดาเต็มเทวโลกนะครับ เพราะผมคิดว่าการใส่บาตรตอนเช้าคงไม่มีใครใส่แบบเจาะจงหรอกครับเห็นพระองค์ไหนมาก็ใส่กัน และจิตแต่ละคนก็เป็นกุศล แบบแม่ผมขอยกตัวอย่างครับ ใส่บาตรมาตลอดชิวิต ปลายชีวิตก็ไม่เห็นผลในที่นี้ ก็คือไม่เห็นจะมีทรัพย์สินอะไรเลย ซึ่งจริงๆ น่าจะมีผลในชาตินี้บ้าง เพราะสังฆทานให้ผลมากและให้ผลเป็นด้านโภคทรัพย์ครับ
หากใครมีความรู้ในด้านสังฆทานที่ถูกต้อง ช่วยไขข้อข้องใจนี้ให้ด้วยครับว่าเป็นยังไงครับ
ขอบคุณครับ
ควรทราบการจำแนกทานในพระศาสนานี้ ประเภทใหญ่ๆ มี ๒ ประเภท คือ การให้เจาะจงบุคคล (ปาฏิปุคคลิกทาน) ๑ การให้ไม่เจาะจงบุคคล ให้แก่คณะสงฆ์
(สังฆทาน)
ประเภทที่หนึ่ง เลือกบุคคลผู้รับทาน ไม่ใช่สังฆทาน
ประเภทที่สอง ไม่เลือกหรือเจาะจงผู้รับ ให้ทั้งคณะ แม้ว่าจะมีตัวแทนของคณะมาเพียงรูปเดียว ก็เป็นสังฆทาน และองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย อนึ่งผลของกุศลกรรมที่กระทำในชาตินี้ ย่อมมีได้คือ การรับวิบากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งมีการเสวยผลกันอยู่ทุกวัน แต่เราไม่รู้ว่าเป็นผลของกรรมใด ชาติไหน ไม่ควรกล่าวว่าไม่เห็นผล และไม่ควรเพ่งแต่เรื่องทรัพย์สินเท่านั้น เพราะกุศลวิบาก ไม่ใช่รูปธรรม ขอเชิญอ่านทาน ๒ ประเภทจากพระไตรปิฎกใน
ความเห็นที่ ๒ ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่นี่...
ทักษิณาปาฏิปฺคคลิก
ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓.
จากข้อความดังกล่าว แสดงว่าถ้าจะให้ทานแก่ภิกษุสงฆ์
๑. คำว่าภิกษุสงฆ์ต้องสมมติสงฆ์ ๔ รูปขึ้นไปหรือไม่?ครับ
๒. หากมีตัวแทนสงฆ์พระ ๑ รูป หากพระรูปนั้นอาบัติ เราถวายผลของการถวายได้เท่าสังฆทานหรือไม่ครับ
ขอบคุณครับ
๑.คำว่าถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ หมายถึง พระภิกษุทั้งหมดทุกรูปในอารามนั้น
๒.แม้ตัวแทนของสงฆ์เป็นพระทุศีลหรือมีศีล มีผลอานิสงส์ไม่ต่างกัน เพราะถวายต่อสงฆ์
ให้ทานเพื่อบำเพ็ญบารมี คือขัดเกลากิเลส ละคลายความตระหนี่ ดำรงตนโดยไม่ ประมาทครับ
ขออนุโมทนา
เจริญกุศลทุกอย่าง เพื่อสละกิเลส เพื่อออกจากวัฏฏ์ จึงจะเป็นบารมีค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
บุญอยู่ที่จิตนะ ไม่ใช่พิธีการ สังฆทานก็อยู่ที่จิตเช่นกัน จะเป็นสังฆทานหรือไม่ ถ้าจิตไม่นอบน้อมดังเช่น พระอริยสงฆ์แล้วก็ไม่เป็นสังฆทาน แต่ที่สำคัญนะ การมีจิตนอบน้อมถวายแด่สงฆ์ อาจจะคิดว่าง่าย ไม่ใช่อย่างนั้นครับ ยากมากเพราะต้องเป็นปัญญาที่รู้พระคุณของพระสงฆ์และอริยสงฆ์ว่าคืออะไร ไม่ใช่นอบน้อมเฉยๆ ดังนั้น สังฆทานจึงไม่ใช่ง่ายที่จะเป็นสังฆทานแต่ไม่ว่าจะถวายกับภิกษุรูปใด แต่จิตมุ่งตรงนอบน้อมถวายแด่สงฆ์แล้ว ก็เป็นสังฆทาน ขออนุโมทนานะ ลองอ่านข้อความในพระไตรปิฎกครับ
เรื่อง จิตนอบน้อม ยำเกรงถวายแด่สงฆ์ทำได้ยาก ถ้าจิตนอบน้อมยำเกรงแด่สงฆ์จึงเป็นสังฆทาน โดยไม่สำคัญว่าเป็นภิกษุรูปใด แต่ถ้าดีใจหรือเสียใจที่ได้ภิกษุรูปใด นั่นไม่ใช่สังฆทาน
เชิญคลิกอ่านได้ที่นี่ ... .
สังฆทาน