นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
••• ... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... ..•••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙ คือ
สุสสูสาสูตร
... จาก ...
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๘๑๖
๔. สุสสูสาสูตร (ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเข้าถึงธรรม)
[๓๕๙] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบุคคลอื่นแสดงอยู่ ก็ไม่ฟังด้วยดี ๑ ไม่เงี่ยโสตลงฟัง ๑ ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง ๑ ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ๑ ทิ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๑ และเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่ไม่สมควร ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบุคคลอื่นแสดงอยู่ ย่อมฟังด้วยดี ๑ ย่อมเงี่ยโสตลงฟัง ๑ เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง ๑ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ๑ ละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ๑ และเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
จบสุสสูสาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสุสสูสาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสุสสูสาสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนตฺถํ ได้แก่ ความไม่เจริญ. บทว่า อตฺถํ ริญฺจติ ความว่าทอดทิ้งประโยชน์ คือความเจริญ. บทว่า อนนุโลมิกาย ความว่า (ด้วยความชอบใจ) อันไม่เป็นไปโดยอนุโลม ตามคำสอน.
จบอรรถกถาสุสสูสาสูตรที่ ๔
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
สุสสูสาสูตร *
(ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเข้าถึงธรรม)
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม ๖ ประการที่ไม่ทำให้ก้าวลงสู่แน่นอน ความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย ได้แก่
๑. เมือมีการแสดงธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธจ้าทรงแสดง ก็ไม่ฟังด้วยดี
๒. ไม่เงี่ยโสตลงฟัง
๓.ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง
๔. ถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
๕. ละทิ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์
๖. มีความอดทนที่ไม่สมควร
และทรงแสดงธรรม ๖ ประการ ที่ทำให้ก้าวลงสู่ความแน่นอน ความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย ได้แก่
๑. เมื่อมีการแสดงธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธจ้าทรงแสดง ก็ฟังด้วยดี
๒. เงี่ยโสตลงฟัง
๓. ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง
๔. ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
๕. ละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
๖. มีความอดทนที่สมควร คล้อยตามคำสอน
หมายเหตุ คำว่า สุสสูสา (อ่านว่า สุด - สู - สา) แปลว่า ฟังด้วยดี ครับ
ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
คุณสมบัติของผู้ฟัง
ฟังธรรมโดยเห็นประโยชน์
ตั้งจิตไว้ชอบ
องค์ประกอบของการฟังธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา
…ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
สาธุๆ ๆ อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
รู้สึกเป็นบุญจริงๆ ค่ะที่ได้อ่าน
กราบอนุโมทนาค่ะ