พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 46
ด้วยเหตุที่ธรรมทั้งหลาย ที่มีความเจริญ ที่มีความกำหนดหมาย ที่บุคคลบูชาแล้ว บัณฑิตกำหนดตัดและ ที่ยิ่ง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระอภิธรรมนี้ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าอภิธรรม. ส่วนปิฎกศัพท์ใด เป็นศัพท์ที่ไม่พิเศษในพระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรรมนี้ ปิฎกศัพท์นั้น อันบัณฑิตทั้งหลาย ผู้รู้อรรถแห่งปิฎก กล่าวว่า ปิฏก โดยอรรถว่าปริยัติและภาชนะศัพท์ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้น บัณฑิตพึงให้ประชุมลงด้วยปิฎกศัพท์นั้น แล้วพึงทราบ. [ปิฎกเปรียบเหมือนตะกร้า] จริงอยู่ แม้ปริยัติ ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่าอย่าเชื่อโดยการอ้างตำรา ๑. ฯลฯ
กรุณาอธิบายคำว่า
๑. ความกำหนดหมาย กำหนดตัด ที่ยิ่ง
๒. อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา
ขออนุโมทนา
๑. ข้อความในอรรถกถาท่านอธิบายดังนี้ ชื่อว่ามีความกำหนดหมายบ้าง เพราะเป็นธรรมควรกำหนดได้ ด้วยกรรมทวารและปฏิปทาที่สัมปยุตด้วยอารมณ์ เป็นต้น โดยนัย มีอาทิว่า จิต ... ปรารภอารมณ์ใดๆ เป็นรูปารมณ์ก็ดีสัททารมณ์ก็ดี
ชื่อว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดบ้าง เพราะเป็นธรรมที่ท่านกำหนดตามสภาพ โดยนัยเป็นต้นว่า ในสมัยนั้น ผัสสะมี เวทนามี ตรัสธรรมทั้งหลายที่ยิ่งบ้าง โดยนัยเป็นต้นว่า มหัคคตธรรมอัปปมาณธรรม อนุตตรธรรม
๒. คำว่า อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา เป็นพระพุทธพจน์ที่ตรัสสอนแก่ชนบางกลุ่มชนบางพวก ไม่ทั่วไปกับทุกคน อนึ่งการอ้างตำราที่มีสืบทอดกันมานานนั้นไม่ใช่ถือเอาเพียงอักษร พยัญชนะเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาเทียบเคียงกับอรรถะเนื้อความโดยรอบคอบ และพระธรรมส่วนอื่นๆ ด้วยครับ
น โม เม โลกวิทูนํ
ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระโลกวิทู
สวัสดีครับ, คุณ prachern.s และ คุณ นักศึกษา,
ผมขอร่วมสนทนาด้วยคนนะครับ.
ยํ เอตฺถ วุฑฺฒิมนฺโต, สลกฺขณา ปูชิตา ปริจฺฉินฺนา;
วุตฺตาธิกา จ ธมฺมา, อภิธมฺโม เตน อกฺขาโตติฯ
คำว่า อภิธรรม นี้ เป็นธรรมถูกกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก
ในความหมายว่า .-
1. เพิ่มขึ้น (เช่น เมตตาภาวนาเจริญขึ้น - เมตตาก็เป็นอภิธรรม) ,
2. สังเกตได้ (เช่น อารมณ์คือพุทธคุณ, สัมปยุตกับเจตสิก 33, มโนกรรม, มโนทวาร, สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา อย่างนี้ก็สังเกตทราบได้ว่า เป็นญาณสัมปยุตจิตของอุคคติตัญญู วิปปจิตัญญูที่กำลังมีพุทธานุสสติ อันลึกซึ้งเป็นอารมณ์ - ญาณสัมปยุตจิตก็เป็นอภิธรรม)
3. ควรบูชา (เช่น เสกขาธัมมา อเสกขาธัมมา โลกุตตรธมฺมา - โลกุตตรธรรม ก็เป็นอภิธรรม)
4. แจกแจงได้ (เช่น ผัสสะ เวทนา สัญญา เป็นต้น อภิธรรม คือ ปรมัตถธรรมที่มีตอนกุศลดวงแรกเกิด ก็เป็นธรรมที่แจกแจงจากกันได้ ไม่ปะปน โดยใช้ปัจจัตตลักษณะเข้าไปกำหนด แล้วแบ่งแยกกัน - สภาธรรมะก็เป็นอภิธรรม)
5. เหนือกว่า (เช่น มหัคคตธัมมา,อัปปมาณธัมมา,อนุตตรธัมมา - อุตตริมนนุสธรรมก็เป็นอภิธรรม)
ความกำหนดหมาย คือ ข้อ 2, กำหนดตัด คือ ข้อ 4, ที่ยิ่ง คือ ข้อ 5 ครับ.
ในข้อที่ 2 และ 4 มีเกร็ดเพิ่มเติมอยู่ คือ คำว่า ความกำหนดหมาย หรือ สลกฺขณ นี้ ในฏีกาใช้คำว่า สญฺชาน (จำ) อันเป็นลักษณะของ สัญญา มาขยายทำให้ชัดเจนว่า สลักขณะนี้เกี่ยวกับการจำ.
ส่วนคำว่า กำหนดตัด หรือ ปริจฺฉินฺนนี้ เป็น ปริอุปสัคค์ ฉิทธาตุ เหมือนธรรมนี้เป็นธรรมะ ที่"อภิ (ญฺญาต [ปริญฺญา] ) "ได้ตามลักษณะส่วนตัว คือ เป็นธรรมที่"แบ่ง"ได้ตามปัจจัตตลักษณะ ได้แก่ แบ่งตามลักขณาทิจตุกกะ นั่นเอง (ปริจฺฉินฺน = ปริจฺเฉท ใน นามรูปปริจฺเฉทญาณ จึงตามอ่านรายละเอียดของคำนี้ใน ทิฏฺฐิวิสุทฺธินิทฺเทส ของ วิสุทฺธมคฺค ได้) .
จะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 ข้อเกี่ยวกับการจำโดยตรง โดยเป็นการจำลักษณะและความเป็นไปของสภาพธรรม เพื่อสั่งสมถิรสัญญา จึงทำให้สังเกตด้วยสัมปชัญญะในอภิญญาตธรรมด้วยอภิญญาปัญญา คือ ญาตปริญญาได้ง่ายขึ้น ชัดขึ้น เป็นปัจจัยแก่สติสัมปชัญญะระดับตีรณปริญญาต่อไป.
2. ข้อที่ยกมาอธิบายเพิ่มนี้ เพราะเห็นว่าเกี่ยวกับการปฏิบัติโดยตรง ครับ ถ้าสามารถเข้าใจได้ จะอ่านอรรถกถาได้อรรถรส ธรรมรสมาก ครับ.
อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา - โดยนัยเข้าข้างตำรา อาจกล่าวว่า สมัยที่พระพุทธเจ้าตรัส พระไตรปิฎกยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเท่าไหร่เลย จึงไม่น่าหมายถึงพระไตรปิฎก.
แต่เมื่อ พิจารณาเนื้อความในเกสปุตตนิกสูตรแล้ว เห็นว่าควรหมายถึง อย่าลืมพิจารณาดีชั่ว ตามความเป็นจริง (ซึ่งปกติมีแต่พระพุทธเจ้าที่สอนความจริงไว้มากที่สุด) แล้วนำมาใช้ คือ ถ้าดีก็เอา ถ้าชัวก็เลิก ไม่ใช่มัวแต่คิดติดใจว่า ตำราฉัน เว็บฉัน งานฉัน เป็นต้น จนไม่สนใจว่า สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น คืออะไร เข้าข้างแต่อาจารย์บ้าง ตำราบ้างของตนอยู่ เช่นนี้จึงจะสมกับข้อความในพระสูตร ที่ทรงให้ชาวกาลามะ พิจารณาว่า สิ่งที่เคยจะเชื่อกัน 10 อย่างนั้น อย่างไหน ทำให้ อกุศลมูลเกิด อย่างนั้นก็ควรละ ไม่ควรเชื่อ, แต่ถ้าอย่างไหนทำให้กุศลมูลเกิด ก็ควรเจริญ ควรเชื่อ.
ทั้งนี้ เพราะ ปกติเรามีความรู้ไม่พอ ที่จะตัดสินใจได้ว่า สิ่งไหนถูก ผิด ดี งาม, เราจึงต้องใช้คำของพระพุทธเจ้ามาเป็นเกณฑ์ตัดสิน ซึ่งก็ทนต่อการพิสูจน์มา กว่า 2500 ปีแล้ว ครับ.
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ สำหรับคำอธิบายที่อ่านแล้วพอจะเข้าใจขึ้นบ้าง การอ่านพระไตรปิฎกโดยตรงนั้นมีคำที่ไม่แน่ใจว่าเข้าใจจริงๆ หรือเปล่า ... เยอะมากบางครั้ง ... ... ในอรรถกถา อ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจและ ถ้าถาม ก็คงถามได้แทบทุกบรรทัดเลยค่ะ. ท่านพอจะมีคำแนะนำ สำหรับผู้เริ่มต้นอ่านพระไตรปิฎกหรือไม่คะ.? กรุณาแนะนำด้วยค่ะ.
ขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองท่าน สำหรับ "ธรรมทาน"
อาจารย์ BudCoP กรุณาร่วมสนทนาในกระทู้นี้ด้วยได้ไหมคะ ... ?
ขอเรียนถาม
โดย นักศึกษา
ขอบคุณครับ, เรียกผมว่า BudCoP ดีแล้ว ครับ, ผมยังไม่เคยสอนใครเลย. ตอบแล้วนะครับ.
ขออนุโมทนาค่ะ