[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1045
สัจญาณจตุกทวยนิทเทส
๕๖ - ๖๓. อรรถกถาสัจญาณจตุกทวยนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1045
สัจญาณจตุกทวยนิทเทส
[๒๖๔] ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งควรกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งควรละ เป็นสมุทยญาณ ปัญญาในอรรถว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1046
เป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งควรเจริญ เป็นมรรคญาณ อย่างไร?
สภาพบีบคั้น สภาพเดือดร้อน สภาพปัจจัยปรุงแต่ง สภาพแปรปรวน สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ สภาพที่ประมวลมา สภาพเป็นเหตุ สภาพที่เกี่ยวข้อง ภาพพัวพัน สภาพที่ควรละแห่งสมุทัย สภาพที่สลัดออก สภาพที่สงัด สภาพอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาพเป็นอมตะ สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งนิโรธ สภาพที่นำออก สภาพที่เป็นเหตุ สภาพที่เห็น สภาพที่เป็นอธิบดี สภาพที่ควรเจริญแห่งมรรค.
ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความกำหนดเป็นทุกขญาณ ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ ปัญญาในความทำให้แจ้งเป็นนิโรธญาณ ปัญญาในความเจริญเป็นมรรคญาณ.
[๒๖๕] ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ อย่างไร? ญาณของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรคนี้ เป็นทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.
[๒๖๖] ในญาณเหล่านั้น ทุกขญาณเป็นไฉน?
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความค้นคว้า ความสอดส่องธรรม ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1047
เฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้ละเอียด ความแจ่มแจ้ง ความคิด ความพิจารณา ปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน ปัญญาอันทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ความเห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม ปัญญาดังปฏัก ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาดังศัสตรา ปัญญาดังปราสาท ปัญญาเป็นแสงสว่าง ปัญญาเป็นรัศมี ปัญญารุ่งเรือง ปัญญาดังรัตนะ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิที่ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขญาณ.
[๒๖๗] ฯลฯ ปรารภทุกขสมุทัย ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ ฯลฯ ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิที่ปรารภทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.
๕๖ - ๖๓. อรรถกถาสัจญาณจตุกทวยนิทเทส
๒๖๔ - ๒๖๗] พึงทราบวินิจฉัยในสัจญาณจตุกทวยนิทเทสดังต่อไปนี้.
บทมีอาทิว่า ทุกฺขสฺส ปิฬนฏฺโ - สภาพบีบคั้นแห่งทุกข์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1048
มีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้ว.
บทมีอาทิว่า มคฺคสมงฺคิสฺส าณํ ทุกฺเขเปตํ าณํ - ญานของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรคนี้ เป็นทุกขญาณ ท่านกล่าวด้วยสามารถการตรัสรู้อย่างเดียว ดุจในหมวด ๔ ตามลำดับ. จริงอยู่ สัจญาณมี ๒ อย่าง คือ โลกิยะ ๑ โลกุตระ ๑. โลกิยะมี ๒ คือ อนุโพธญาณ ๑ ปัจจเวกขณญาณ ๑.
อนุโพธญาณ ย่อมเป็นไปในนิโรธและมรรค ด้วยสามารถการได้ฟังมาเป็นต้นของอาทิกรรมิกภิกษุ. ย่อมเป็นไปในทุกข์และสมุทัย ด้วยสามารถทำให้เป็นอารมณ์.
ปัจจเวกขณญาณ ย่อมเป็นไปในสัจจะแม้ ๔ ของภิกษุผู้แทงตลอดสัจจะแล้ว ด้วยสามารถทำให้เป็นอารมณ์.
ปฏิเวธญาณอันเป็นโลกุตระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๔ โดยกิจ. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นทุกข์. ผู้นั้นย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย. ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธ. ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๑) ดังนี้.
พึงกล่าวถึงทุกข์ทั้งหมด. แม้ในนิทเทสนี้ ท่านก็กล่าวถึงทุกข์นี้แหละ โดยวาระนี้. อนึ่ง แม้โลกุตระนั้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า โลกุตระ ย่อมได้ซึ่งชื่อทั้งหลาย มีอาทิว่า ทุกฺเข าณํ - การรู้ทุกข์. แต่ในที่นี้
๑. สํ. มหา. ๑๙/๑๗๑๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1049
ท่านประสงค์เอาโลกิยญาณเท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระ จึงกล่าวว่า ตตฺถ ตมํ ทุกฺเข าณํ - ในญาณเหล่านั้น ทุกขญาณเป็นไฉน?
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขํ อารพฺภ - ปรารภทุกข์ คือ หน่วงเหนี่ยวทุกขสัจ. คือทำให้เป็นอารมณ์.
ในบทมีอาทิว่า ปญฺา พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่าให้รู้ กล่าวคือ ทำอรรถนั้นๆ ให้ปรากฏ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปัญญา เพราะรู้ธรรมทั้งหลายโดยประการนั้นๆ มีความไม่เที่ยงเป็นต้น. บทนี้ เป็นสภาวบทของปัญญานั้น. อาการรู้ชัด ชื่อ ปชานนา. ชื่อว่า วิจยะ เพราะเลือกเฟ้นถึงความไม่เที่ยง เป็นต้น. บทว่า ปวิจยะ - ความค้นคว้า เพิ่มบทอุปสรรคลงไป ได้แก่ความเลือกเฟ้นโดยทั่วไป. ชื่อว่า ธรรมวิจยะ เพราะความสอดส่องจตุสัจธรรม.. ชื่อว่า สัลลักขณา - ความกำหนดดี ด้วยสามารถการกำหนดความไม่เที่ยงเป็นต้นโดยชอบ. ท่านกล่าวว่า สัลลักขณานั่นแหละ คือ อุปลักขณา - ความเข้าไปกำหนด ปัจจุปลักขณา - ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ โดยต่างกันที่อุปสรรค. อธิบายว่า การกำหนดอย่างสูง ชื่อว่า ความเข้าไปกำหนดอาศัยธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้นเหล่านั้นๆ. ความเป็นบัณฑิต ชื่อว่า ปณฺฑิจฺจํ. ความเป็นผู้ฉลาด ชื่อว่า โกสลฺลํ. ความเป็นผู้ละเอียด ชื่อว่า เนปุญฺํ. ชื่อว่า เวภพฺยา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1050
คือความแจ่มแจ้ง ด้วยสามารถยังความไม่เที่ยงเป็นต้นให้แจ่มแจ้ง. ชื่อว่า จินฺตา - ความคิด ด้วยสามารถคิดถึงความไม่เที่ยงเป็นต้น. อนึ่ง ชื่อว่า จินฺตา - เพราะยังบุคคลที่เกิดความคิดให้คิดถึงความไม่เที่ยงเป็นต้น. ชื่อว่า อุปปริกฺขา เพราะพิจารณาถึงความไม่เที่ยงเป็นต้น.
บทว่า ภูริ คือ แผ่นดิน. ชื่อว่า ภูริ เพราะมีปัญญาดุจแผ่นดิน ด้วยอรรถว่าละเอียด และด้วยอรรถว่ากว้างขวาง. อีกอย่างหนึ่ง ปัญญานั้นแหละ ท่านกล่าวว่า ภูริ เพราะอรรถว่ายินดีในอรรถที่เป็นจริง.
ชื่อว่า เมธา เพราะอรรถว่าฆ่า คือ ทำลายกิเลสดุจสายฟ้าทำลายสิ่งที่ก่อด้วยหิน ฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เมธา เพราะอรรถว่าถือเอาและทรงไว้ได้เร็ว.
ชื่อว่า ปริณายิกา เพราะอรรถว่า ย่อมนำผู้ที่ญาณเกิดไปในสัมปยุตธรรมและปฏิเวธธรรม อันกำหนดตามความเป็นจริงในการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตน.
ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะอรรถว่าเห็นธรรมหลายอย่าง ด้วยสามารถความไม่เที่ยงเป็นต้น.
ชื่อว่า สัมปชานะ เพราะรู้ความไม่เที่ยงเป็นต้นโดยชอบ. ความเป็นแห่งความรู้พร้อมนั้น ชื่อว่า สัมปชัญญะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1051
ชื่อว่า ปโตโท - ปัญญาดังปฏัก เพราะทิ่มแทงจิตโกงอันแล่นไปนอกทางเพื่อให้เข้าทาง ดุจปฏักทิ่มแทงม้าที่วิ่งไปนอกทางเพื่อให้ขึ้นถนน ฉะนั้น.
ชื่อว่า อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ เพราะอรรถว่าทำความเป็นใหญ่ ในลักษณะเห็น. ความเป็นใหญ่ คือ ปัญญา ชื่อว่า ปัญญินทรีย์. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านไม่กล่าวบทนี้ว่า อินทรีย์แห่งปัญญา ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ ดุจบทมีอาทิว่า ปุริสสฺส อินฺทฺริยํ ปุริสินฺทฺริยํ - อินทรีย์ของบุรุษ ชื่อว่า ปุริสินทรีย์. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อินทรีย์ คือ ปัญญานั่นแหละ ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ คือปัญญาเป็นใหญ่.
ชื่อว่า ปัญญาพละ คือ ปัญญาเป็นกำลัง เพราะไม่หวั่นไหวไปด้วยอวิชชา.
ปัญญาเป็นดังศัสตรา เพราะอรรถว่าตัดกิเลส จึงชื่อว่า ปัญญาดังศัสตรา.
ปัญญาเป็นดังปราสาท เพราะอรรถว่าขึ้นไปสูง จึงชื่อว่า ปัญญาดังปราสาท.
ปัญญาเป็นดังแสงสว่าง เพราะอรรถว่าทำให้สว่าง จึงชื่อว่า ปัญญาเป็นแสงสว่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1052
ปัญญาเป็นรัศมี เพราะอรรถว่าทำให้สว่าง จึงชื่อว่า ปัญญาเป็นรัศมี.
ปัญญารุ่งเรือง เพราะอรรถว่าทำให้สว่างไสว จึงชื่อว่า ปัญญารุ่งเรือง.
จริงอยู่ โลกธาตุหนึ่งหมื่น มีแสงเป็นอันเดียว มีความสว่างเป็นอันเดียว มีความรุ่งเรืองเป็นอันเดียว ย่อมปรากฏแก่ผู้มีปัญญาผู้นั่งโดยบัลลังก์เดียว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวบท ปญฺา ปชฺโชโต นั้น.
อนึ่ง ใน ๓ บทนี้ แม้ด้วยบทหนึ่งก็สำเร็จความอย่างเดียวกัน ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรด้วยอัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างมี ๔ อย่าง คือ แสงสว่างของดวงจันทร์ ๑ แสงสว่างของดวงอาทิตย์ ๑ แสงสว่างของไฟ ๑ แสงสว่างของปัญญา ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ อย่างเหล่านี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ เหล่านี้ แสงสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศกว่าแสงสว่างเหล่าอื่น. (๑)
๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๔๔,๑๔๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1053
แม้ในนิทเทสนี้ พระเถระก็แสดงโดยอนุรูปแก่พระสูตรนั้น. เพราะท่านจำแนกความอันมีอยู่โดยอาการไม่น้อย. ทั้งผู้อื่นย่อมรู้โดยประการอื่น.
ปัญญาดังรัตนะ เพราะอรรถว่าทำความยินดี ให้ความยินดี ยังความยินดีให้เกิด ทำให้วิจิตรหาได้ยาก ชั่งไม่ได้ เป็นของใช้ของสัตว์อย่างงาม จึงชื่อว่า ปญฺารตนํ - ปัญญาดังรัตนะ.
ชื่อว่า อโมโห คือ ความไม่หลง เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่ลุ่มหลงไปด้วยเหตุนั้น. หรือไม่ลุ่มหลงไปในอารมณ์ด้วยตนเอง.
บทว่า ธรรมวิจยะ มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว, ก็เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวไว้อีก. เพื่อแสดงความที่อโมหะเป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงบทนี้ไว้ว่า อโมหะนั้นมิใช่ธรรมนอกจากโมหะอย่างเดียว แต่ยังเป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ ในนิทเทสนี้ ท่านประสงค์เอาอโมหะ กล่าวคือ การเลือกเฟ้นธรรม.
บทว่า สมฺมาทิฏฺิ ได้แก่ กุศลทิฏฐิอันนำสัตว์ออกไปได้อย่างแท้จริง. ท่านกล่าวคำถามไว้โดยสังเขปว่า ในญาณเหล่านั้น ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ เป็นไฉน ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาสัจญาณจตุกทวยนิทเทส