นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ••• ... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... •••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ
ทุติยพลสูตร
(ว่าด้วยกำลัง ๗ ประการ)
จาก [เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ ๗
... นำสนทนาโดย ...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ ๗
๔. ทุติยพลสูตร
(ว่าด้วยกำลัง ๗ ประการ)
[๔] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ศรัทธาพละ เป็นไฉน? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต ว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ป็นพระอรหันต์ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ
ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่สมควรฝึกอย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ตื่นแล้ว ทรงเป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ศรัทธาพละ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วิริยพละเป็นไฉน? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลายนี้เรียกว่า วิริยพละ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็หิริพละเป็นไฉน? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความละอาย คือ
ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อความถึงพร้อมแห่งอกุศลกรรม อันลามกทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริพละ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ โอตตัปปพละเป็นไฉน? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ
สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อความถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลายนี้ เรียกว่า โอตตัปปพละ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็สติพละเป็นไฉน? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ย่อมระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สติพละ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิพละเป็นไฉน? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน นี้เรียกว่า สมาธิพละ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาพละเป็นไฉน? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้เรียกว่า ปัญญาพละ
ดูกร ภิกษุทั้งหลายพละ ๗ ประการนี้แล
ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปป-
พละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละเป็นที่ ๗
ภิกษุผู้มีพละด้วยพละ ๗ ประการนี้ เป็นบัณฑิต
ย่อมอยู่เป็นสุข พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
ย่อมเห็นอรรถแห่งธรรมชัดด้วยปัญญา ความ
หลุดพ้นแห่งจิต คือ ความดับ ของภิกษุนั้น
ย่อมมีได้ เหมือนความดับแห่งประทีป ฉะนั้น.
จบ ทุติยพลสูตรที่ ๔
อรรถกถาทุติยพลสูตรที่ ๔
ทุติยพลสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ทุติยพลสูตรที่ ๔ มีอาทิว่า สทฺโธ โหติ ได้พรรณนาไว้แล้ว
ในปัญจกนิบาต นั่นแล.
จบ อรรถกถาทุติยพลสูตรที่ ๔
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
ทุติยพลสูตร
(ว่าด้วยพละ ๗ ประการ)
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกำลัง ๗ ประการ ได้แก่
สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา เลื่อมใสในพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)
วิริยพละ (กำลังคือความเพียรในการละอกุศลธรรม เจริญกุศลธรรม)
หิริพละ (กำลังคือความละอายต่ออกุศลธรรม)
โอตตัปปพละ (กำลังคือเกรงกลัวต่ออกุศลธรรม)
สติพละ (กำลังคือสติ ความระลึกเป็นไปในกุศลธรรม)
สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
(ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตร)
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
พละ ๕
หิริ และ โอตตัปปะ นั้น...สำคัญไฉน.?
หิริ และ โอตตัปปะ [ธรรมสังคณีปกรณ์]
ความหมายของสติ
ปัญญา
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ด้วยความเคารพ จาก ใหญ่ราชบุรี-ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ