[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 223
๑๐. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 223
๑๐. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
[๑๙๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทานนั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้นเป็นตัวอุปาทานในรูปนั้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์นั้นเป็นตัวอุปาทานในธรรมารมณ์นั้น.
จบ อุปาทานสูตรที่ ๑๐
โลกกามคุณวรรคที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 224
อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๙ - อุปาทานสูตรที่ ๑๐
สูตรที่ ๙ และที่ ๑ เมื่อท่านกล่าวโดยอนิฏฐารมณ์ ก็เป็นอันกล่าวโดยบุคคลผู้ตรัสรู้.
จบ อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๙ - อุปาทานสูตรที่ ๑๐
จบ อรรถกถาโลกกามคุณวรรคที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมมารปาสสูตร ๒. ทุติยมารปาสสูตร ๓. ปฐมโลกกามคุณสูตร ๔. ทุติยโลกกามคุณสูตร ๕. สักกสูตร ๖. ปัญจสิขสูตร ๗. สารีปุตตสูตร ๘. ราหุลสูตร ๙. สังโยชนสูตร ๑๐. อุปาทานสูตร