ผู้ที่พิจารณาธรรม ย่อมเห็นอวิชชาของตนเอง /1526
โดย สารธรรม  18 ก.ย. 2567
หัวข้อหมายเลข 48498

ทุกคนเร่าร้อน และไม่สงบใจอยู่บ่อยๆ ใช่ไหม บางคนพากันไปแสวงหาว่า ทำอย่างไรจิตใจจะสงบ มีข้อปฏิบัติอะไรที่ทำให้สงบได้ แต่จะต้องเข้าใจให้ถูกต้อง จริงๆ ว่า ความสงบจริงๆ นั้น จะมีได้เมื่อปัญญาเกิดขึ้นเข้าใจลักษณะของ สภาพธรรมตามความเป็นจริงในเรื่องของกุศล ในเรื่องของอกุศล ในเรื่องของกรรม ในเรื่องของวิบาก แม้ในเรื่องของยุคสมัย เช่น กาลสมบัติหรือกาลวิบัติต่างๆ ซึ่ง ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงแสดงพระธรรมไว้โดยละเอียดทุกประการ ใครๆ ย่อม ไม่อาจสงบใจได้อย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น แม้ท่านพระเตลุกานิเถระท่านก็ได้กล่าวว่า

เรามีความเพียรค้นคิดธรรมอยู่นาน ก็ไม่ได้ความสงบใจ จึงได้ถาม สมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า ใครหนอในโลกเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ใครเล่าเป็นผู้ได้บรรลุธรรมอันหยั่งลงสู่อมตะ เราจักปฏิบัติธรรมของใครซึ่งเป็นเครื่องให้รู้แจ้งปรมัตถ์ เราเป็นผู้ มีความคด คือ กิเลสอันไปแล้วในภายใน เหมือนปลาที่กินเหยื่อฉะนั้น

ต้องเป็นผู้มีปัญญาถึงจะรู้ตัวว่า ขณะที่กำลังปรารถนารูป อยากได้เสียง อยากได้กลิ่น อยากได้รส อยากได้โผฏฐัพพะต่างๆ ทุกขณะนั้นเหมือนปลาที่กินเหยื่อ แต่ถ้าไม่พิจารณา ย่อมกินเหยื่ออย่างเพลิดเพลิน เอร็ดอร่อย

ผู้ที่พิจารณาธรรม ย่อมเห็นอวิชชาของตนเอง คือ เห็นความไม่รู้ของตนเองที่ทำให้ยังมีความต้องการในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ทุกๆ วัน ก็เหมือนกับการกินเหยื่อทุกวัน ซึ่งจะทำให้เกิดทุกข์ คือ ชาติ ชรา มรณะ ไม่สิ้นสุด

ท่านพระเตลุกานิเถระกล่าวว่า

เราถูกผูกด้วยบ่วงใหญ่ คือ กิเลส เหมือนท้าวเวปจิตติอสูร ถูกผูกด้วยบ่วงของท้าวสักกะฉะนั้น เรากระชากบ่วงคือกิเลสนั้นไม่หลุด จึงไม่พ้นไปจากความโศก และความร่ำไร ใครในโลกจะช่วยเราผู้ถูกผูกแล้วให้หลุดพ้น ประกาศทาง เป็นเครื่องตรัสรู้ให้เรา เราจะรับสมณะหรือพราหมณ์คนไหนไว้เป็นผู้แสดงธรรมอันกำจัดกิเลสได้ จะปฏิบัติธรรมเครื่องนำไปปราศจากชรา และมรณะของใคร

ท่านพระเตลุกานิเถระกล่าวต่อไปว่า

ขอเชิญรับฟัง

เตลุกานิเถรคาถา เราถูกผูกด้วยบ่วงใหญ่ คือ กิเลส*



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 พ.ย. 2567

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 40

อรรถกถาเตลุกานิเถรคาถาที่ ๓

คาถาของท่านพระเตลุกานิเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จิรรตฺตํ วตาตาปี ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปาง ก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้นๆ ใน พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง ในพระนคร สาวัตถี ก่อนกว่าพระศาสดาประสูติ ได้นามว่า เตลุกานิ เจริญวัยแล้ว รังเกียจกาม เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุ จึงละการครองเรือนบวชเป็น ปริพาชก มีอัธยาศัยในการลอกจากวัฏฏะ เที่ยวแสวงหาวิโมกข์ คือการ หลุดพ้น โดยนัยมีอาทิว่า ใคร คือท่านผู้ถึงฝั่งในโลก จึงเข้าไปหา สมณพราหมณ์นั้นๆ ถามปัญหา. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทำเขาให้ ดื่มด่ำไม่ได้ เขามีจิตข้องกับปัญหานั้น จึงได้ท่องเที่ยวไป.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงอุบัติในในโลก ประกาศพระธรรมจักรอันบวร ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก วันหนึ่ง ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรม ได้ศรัทธาแล้วบวช เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต. วันหนึ่ง ท่าน นั่งอยู่กับพวกภิกษุ พิจารณาถึงคุณวิเศษที่ตนได้บรรลุ แล้วหวนระลึกถึง การปฏิบัติของตนตามแนวนั้น เมื่อจะบอกข้อปฏิบัตินั้นทั้งหมดแก่ภิกษุ ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้

อ้างอิง ... อรรถกถาเตลุกานิเถรคาถาที่ ๓