[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 367
เถรคาถา ทสกนิบาต
๔. จูฬปันถกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระจูฬปันถกเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 367
๔. จูฬปันถกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระจูฬปันถกเถระ
[๓๗๓] เมื่อก่อน ญาณคติเกิดแก่เราช้า เราจึงถูกดูหมิ่น และพี่ชายจึงขับไล่เราว่า จงกลับไปเรือนเดี๋ยวนี้เถิด เรา ถูกพี่ชายขับไล่แล้ว ไปยืนร้องไห้อยู่ที่ใกล้ซุ้มประตู สังฆาราม เพราะยังมีความอาลัยในพระศาสนา พระผู้- มีพระภาคเจ้าได้เสด็จมา ณ ที่นั้น ทรงลูบศีรษะเรา ทรง จับแขนเราพาเข้าไปสู่สังฆาราม พระศาสดาทรงอนุ- เคราะห์ ประทานผ้าเช็ดพระบาทให้แก่เราตรัสว่า จง อธิษฐานผ้าสะอาดผืนนี้ ให้ตั้งมั่นดี โดยมนสิการว่า รโชหรณํๆ ผ้าสำหรับเช็ดธุลีๆ จงตั้งจิตให้มั่น นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว เกิด ความยินดีในพระศาสนา ได้บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นเพื่อ บรรลุประโยชน์อันสูงสุด เราระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว ได้บรรลุวิชชา ๓ คำ สั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.
พระจูฬปันถกเถระได้เนรมิตตนขึ้นพันหนึ่ง นั่งอยู่ที่ ชีวกัมพวันอันรื่นรมย์ จนถึงเวลาเขามาบอกนิมนต์ ครั้ง นั้น พระศาสดาทรงส่งทูตไปบอกเวลาภัตตาหารแก่เรา เมื่อทูตบอกเวลาภัตตาหารแล้ว เราได้เข้าไปเฝ้าโดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 368
ทางอากาศ ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระศาสดาทรง รับรองเราผู้ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ เราเป็นผู้ควรบูชาของ ชาวโลกทั้งปวง เป็นผู้ควรรับของอันเขานำมาบูชา เป็น นาบุญแห่งหมู่มนุษย์ ได้รับทักษิณาทานแล้ว.
จบจูฬปันถกเถรคาถาจบ
อรรถกถาจูฬปันถกเถรคาถาที่ ๔
มีคาถาของท่านพระจูฬปันถกเถระว่า ทนฺธา มยฺหํ คติ ดังนี้ เป็นต้น. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?
ท่านกล่าวคำที่จะพึงกล่าวในเรื่องนี้ ด้วยอำนาจเหตุเกิดแห่งเรื่อง ไว้ในอัฏฐกนิบาต เรื่องมหาปันถกแล้วนั่นแล. ส่วนความแปลกกัน มีดังต่อไปนี้ :-
พระมหาปันถกเถระ บรรลุพระอรหัตแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุข อันเกิดแต่พระอรหัตตผล คิดแล้วว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะสามารถให้ จูฬปันถก ดำรงอยู่ในความสุขอย่างนี้บ้าง.
พระมหาปันถกเถระนั้น จึงเข้าไปหาธนเศรษฐีผู้เป็นโยมตาของตน แล้ว กล่าวว่า โยมตาผู้เป็นมหาเศรษฐี ถ้าโยมจะอนุญาตไซร้, อาตมภาพ จะพึงให้จูฬปันถกบวชบ้าง. โยมตาเรียนว่า นิมนต์ให้เขาบวชเถิดพระคุณ ท่าน. พระเถระจึงให้จูฬปันถกนั้นบวชแล้ว. จูฬปันถกนั้นดำรงมั่นอยู่ใน ศีล ๑๐ ประการแล้ว เรียนคาถาในสำนักของพระพี่ชายว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 369
ดอกบัวชื่อว่า โกกนุท มีกลิ่นหอมฟุ้ง เบ่งบาน ตั้งแต่เช้าตรู่ พึงเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอมยังไม่สิ้นไปฉันใด เธอจงดูพระอังคีรสเจ้า พระองค์รุ่งเรืองอยู่ดุจพระอาทิตย์ รุ่งโรจน์อยู่ในกลางหาวฉันนั้น ดังนี้.
โดย ๔ เดือน ก็ไม่สามารถจะจดจำได้, บทที่เรียนแล้วท่องแล้ว ไม่ได้ติดอยู่ในหัวใจท่านเสียเลย. ต่อมาพระมหาปันถกจึงกล่าวแก่ท่านว่า ปันถกเอ๋ย เธอเป็นคนอาภัพในศาสนานี้เสียแล้ว, ตั้ง ๔ เดือนล่วงไป แล้ว เธอก็ไม่สามารถจะจดจำแม้คาถาเดียวได้, ก็เธอจักทำกิจแห่ง บรรพชิตให้ถึงที่สุดได้อย่างไรเล่า เธอจงออกไปเสียจากที่นี้เถอะ. จูฬปันถกนั้นถูกพระเถระขับไล่ จึงไปยืนร้องไห้อยู่ใกล้ซุ้มประตู.
ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดาประทับอยู่ที่อัมพวนารามของหมอชีวก. ลำดับนั้น หมอชีวกส่งบุรุษไปว่า เธอจงนิมนต์พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูปมา. ก็สมัยนั้น ท่านมหาปันถกเป็นพระภัตตุทเทสก์ (ผู้แจกภัต). พระมหาปันถกนั้น ผู้อันทายกนิมนต์ว่า ขอท่านจงรับภิกษาเพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูปเถิด ดังนี้ก็กล่าวว่า อาตมภาพจะรับภิกษาเพื่อภิกษุทั้งหลายที่ เหลือ ยกเว้นจูฬปันถก. พระจูฬปันถกได้ฟังดังนั้น ได้มีความโทมนัส เพิ่มขึ้น.
พระศาสดาทรงทราบว่า จูฬปันถกมีความทุกข์ใจแล้ว จึงทรงดำริว่า จูฬปันถกจักตรัสรู้ ด้วยอุบายที่เราสร้างขึ้นมา ดังนี้แล้ว จึงแสดงพระองค์ ในที่ไม่ไกลจูฬปันถกนั้นแล้ว ตรัสถามว่า ปันถกเป็นอะไร เธอจึงร้องไห้. จูฬปันถกกราบทูลว่า พระพี่ชายขับไล่ข้าพระองค์พระเจ้าข้า. พระศาสดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 370
ตรัสว่า ปันถกเอ๋ย อย่าคิดอะไรไปเลย, เธอบวชแล้วในศาสนาของเรา, เธอจงมาเถิด จงรับเอาสิ่งนี้แล้วจงทำบริกรรมในใจว่า รโชหรณํ รโชหรณํ ดังนี้ จึงทรงตระเตรียมท่อนผ้าอันสะอาดด้วยฤทธิ์ แล้วทรงพระราชทาน ให้. พระจูฬปันถกนั้น นั่งเอามือลูบท่อนผ้าที่พระศาสดาพระราชทาน บริกรรมว่า รโชหรณํ รโชหรณํ ดังนี้.
เมื่อเธอบริกรรมลูบท่อนผ้านั้นอยู่ ความเศร้าหมองก็เกิดขึ้น. เมื่อ ลูบไปอีก ท่อนผ้านั้นก็กลายเป็นเช่นกับผ้าเช็ดหม้อข้าว, เพราะเธอมีญาณ แก่รอบแล้ว เธอจึงคิดอย่างนี้ว่า ท่อนผ้านี้แต่เดิมเป็นของสะอาด, กลาย เป็นอย่างอื่น เศร้าหมองไป เพราะอาศัยอุปาทินนกสรีระนี้, เพราะฉะนั้น ท่อนผ้านี้เป็นอนิจจังแม้ฉันใด ถึงจิตก็เป็นอนิจจังฉันนั้น ดังนี้แล้ว จึง เริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไป ทำฌานให้เกิดขึ้น ในเพราะนิมิตนั้นนั่นแล เริ่มตั้งวิปัสสนา อันมีฌานเป็นบาทแล้ว บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน๑ว่า :-
เวลานั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรับ เครื่องบูชาแล้ว พระองค์เสด็จหลีกออกจากหมู่ ประทับ อยู่ ณ ภูเขาหิมวันต์ แม้เวลานั้น เราก็อยู่ในอาศรมใกล้ ภูเขาหิมวันต์ เราได้เข้าไปเฝ้าพระมหาวีระเจ้า ผู้เป็น นายกของโลก ซึ่งเสด็จมาไม่นาน เราถือเอาฉัตรอัน ประดับด้วยดอกไม้ เข้าไปเฝ้าพระนราสภ เราได้ทำ อันตรายแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งกำลังเสด็จเข้าสมาธิ
๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๑๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 371
เราประคองฉัตรดอกไม้ด้วยมือทั้งสอง ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ามหามุนี พระนามว่า ปทุมุตตระทรงรับแล้ว เทวดาทั้งปวงมีใจชื่นบานเข้ามาสู่ ภูเขาหิมวันต์ ยังสาธุการให้เป็นไปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีจักษุทรงอนุโมทนา ครั้นเทวดาเหล่านี้กล่าว เช่นนี้แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สูงสุด กว่านระ เมื่อเรากั้นฉัตรดอกบัวอันอุดมอยู่ในอากาศ (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) ดาบสได้ประคองฉัตรใบบัว ๗ ใบ ให้แก่เรา เราจักพยากรณ์ดาบสนั้น ท่านทั้งหลาย จงฟังเรากล่าว.
ดาบสนี้จักเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ตลอด ๒๕ กัป และ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ๓๕ ครั้ง จะท่องเที่ยวไปสู่ กำเนิดใดๆ คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิด นั้นๆ จักทรงไว้ซึ่งดอกปทุมอันตั้งอยู่ในอากาศ ในแสน กัป พระศาสดาพระนามว่า โคดม โดยพระโคตร ซึ่ง มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก เมื่อพระศาสดาทรงประกาศพระศาสนา ดาบสผู้มีจักได้ ความเป็นมนุษย์ เขาจักเป็นผู้อุดมในกายอันบังเกิดแล้ว ด้วยใจ จักมีพี่น้องชาย ๒ คน มีชื่อว่าปันถก แม้ทั้งสอง คน เสวยประโยชน์อันสูงสุดแล้ว จักยังพระศาสนาให้ รุ่งเรือง เรานั้นมีอายุ ๑๘ ปี ออกบวชเป็นบรรพชิต เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 372
ยังไม่ได้คุณวิเศษในศาสนาของพระศากยบุตร เรามี ปัญญาเขลา เพราะเราอบรมอยู่ในบุรี พระพี่ชายจึงขับไล่ เราว่า จงไปสู่เรือนเดี๋ยวนี้ เราถูกพระพี่ชายขับไล่แล้ว น้อยใจ ได้ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูสังฆาราม ไม่หวังในความ เป็นสมณะ.
ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จมา ณ ที่นั้น ทรงลูบศีรษะ เรา ทรงจับเราที่แขน พาเขาไปในสังฆาราม พระศาสดา ได้ทรงอนุเคราะห์ ประทานผ้าเช็ดพระบาทให้แก่เราว่า จงอธิษฐานผ้าอันสะอาดอย่างนี้ วางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เราจับผ้านั้นด้วยมือทั้งสองแล้ว จึงระลึกถึงดอกบัวได้ จิตของเราปล่อยไปในดอกบัวนั้น เราจึงได้บรรลุพระอรหัต เราถึงที่สุดในฌานทั้งปวง ในกายอันบังเกิดแล้ว แต่ใจ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ คุณ วิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา... ฯลฯ. .. พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ด้วยอรหัตตมรรคนั้นแล พระไตรปิฎกและอภิญญา ๕ ได้มาถึงแล้ว แก่พระจูฬปันถกนั้น. พระศาสดาเสด็จไปพร้อมกับภิกษุ ๔๙๙ รูป แล้ว ประทับนั่งบนอาสนะ. ที่บุคคลจัดแจงไว้แล้ว ในบ้านของหมอชีวก, ส่วน พระจูฬปันถกไม่ได้ไป เพราะพระพี่ชายไม่ได้รับนิมนต์เพื่อภิกษาไว้ สำหรับตน. พอหมอชีวกเริ่มจะถวายข้าวยาคู, พระศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ ปิดบาตรเสีย. เมื่อหมอชีวกกราบทูลว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 373
ทรงรับ พระเจ้าข้า ดังนี้ พระองค์จึงตรัสว่า ในวิหารยังมีภิกษุอยู่ ๑ รูป ชีวก.
หมอชีวกนั้นจึงส่งคนใช้ไปว่า แน่ะ พนาย เธอจงไปพาพระคุณเจ้า ที่นั่งอยู่ในวิหาร แล้วนำมา. แม้พระจูฬปันถกเถระ ก็นั่งนิรมิตภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปให้ไม่เหมือนกัน แต่ละรูปมีรูปร่างและการกระทำคนละอย่าง คนใช้นั้นเห็นว่าภิกษุในวิหารมีมากรูป จึงไปบอกหมอชีวกว่า ในวิหาร มีภิกษุสงฆ์มากกว่าภิกษุสงฆ์นี้, กระผมไม่รู้จักพระคุณเจ้าที่ให้ไปนิมนต์ มา. หมอชีวกทูลถามพระศาสดาอีกครั้งว่า ภิกษุที่นั่งอยู่ในวิหารชื่ออะไร พระเจ้าข้า? พระศาสดาตรัสว่า ชื่อจูฬปันถก ชีวก. หมอชีวกสั่งคนใช้ อีกว่า แน่ะ พนาย เธอจงไปแล้วถามว่า รูปไหนชื่อจูฬปันถก แล้วจง นิมนต์ท่านรูปนั้นมา.
คนใช้นั้นไปยังวิหาร แล้วถามว่า รูปไหนชื่อจูฬปันถก ขอรับ? ภิกษุทั้ง ๑,๐๐๐ รูปก็ตอบพร้อมกันทีเดียวว่า เราชื่อจูฬปันถก เราชื่อ จูฬปันถก. คนใช้นั้นกลับมาบอกความเป็นไปแก่หมอชีวกอีก. เพราะ ความที่ตนแทงตลอดสัจจะแล้ว หมอชีวกจึงรู้โดยนัยว่า พระคุณเจ้านี้เห็น จะมีฤทธิ์ แล้วกล่าวว่า แน่ะ พนาย เธอจงไปกล่าวกะพระคุณเจ้าด้วยการ พูดครั้งเดียวว่า พระศาสดารับสั่งหาท่าน แล้วจงจับที่ชายจีวรเถิด. คนใช้ นั้นไปวิหารแล้ว ได้ทำตามนั้น, ในขณะนั้นนั่นเอง ภิกษุที่นิรมิตแล้ว ทั้งหลายก็หายไป. คนใช้นั้นได้พาพระเถระไปแล้ว.
ในขณะนั้น พระศาสดาทรงรับประเคนข้าวยาคู และอาหารต่าง ชนิด มีของที่ควรเคี้ยวเป็นต้น. เมื่อพระทศพลทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ก็เสด็จกลับไปยังวิหาร การสนทนากันก็เกิดขึ้นในโรงธรรมสภาว่า โอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 374
หนอ อานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งได้การทำให้จูฬปันถก ผู้แม้ ไม่สามารถจะเล่าเรียนคาถา ๑ ใน ๔ เดือนได้ ทำให้ท่านมีฤทธิ์มาก อย่างนั้น โดยขณะอันเร็วพลันทีเดียว. พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำสนทนา ของภิกษุเหล่านั้น จึงเสด็จมาประทับนั่งบนพุทธอาสน์แล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกำลังพูดกันถึงเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า เรื่องนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ จูฬปันถกตั้งอยู่ในโอวาทของเราแล้ว ได้โลกุตรสมบัติ. ส่วนในชาติก่อน ได้โลกิยสมบัติ ดังนี้ ถูกภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว จึงได้ตรัสจูฬ- เศรษฐีชาดก.
ในกาลต่อมา พระศาสดาอันหมู่แห่งพระอริยเจ้าแวดล้อมแล้ว ประทับนั่งบนธรรมาสน์แล้ว ดังจูฬปันถกนั้นไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลาย ผู้นิรมิตกายอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ทางใจ และผู้ฉลาดในการพลิก กลับทางใจ. สมัยต่อมา พระจูฬปันถกนั้นถูกภิกษุทั้งหลายถามว่า ท่าน เป็นคนโง่ทึบถึงอย่างนั้นแล้ว ตรัสรู้แจ้งสัจจะทั้งหลายได้อย่างไร? ท่าน เมื่อจะประกาศถึงข้อปฏิบัติของตน ตั้งต้นแต่ถูกพระพี่ชายขับไล่มา จึง กล่าวคาถา๑เหล่านี้ว่า :-
เมื่อก่อน ญาณคติเกิดแก่เราช้า เราจึงถูกดูหมิ่น และพระพี่ชายจึงขับไล่เราว่า จงกลับไปเรือนเดี๋ยวนี้เถิด เราถูกพระพี่ชายขับไล่แล้ว ไปยืนร้องไห้อยู่ที่ใกล้ซุ้ม ประตูสังฆาราม เพราะยังมีความอาลัยในพระศาสนา
๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๗๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 375
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จมา ณ ที่นั้น ทรงลูบศีรษะเรา ทรงจับแขนเราพาเข้าไปสู่สังฆาราม พระศาสดาทรง อนุเคราะห์ ประทานผ้าเช็ดพระบาทให้แก่เรา ตรัสว่า จงอธิษฐานผ้าสะอาดผืนนี้ ให้ตั้งมั่นดี โดยมนสิการว่า รโชหรณํๆ ผ้าสำหรับเช็ดธุลีๆ จงตั้งจิตให้มั่น นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว เกิด ความยินดีในพระศาสนา ได้บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นเพื่อ บรรลุประโยชน์อันสูงสุด เราระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว ได้บรรลุวิชชา ๓ คำ สั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.
พระจูฬปันถกเถระได้นิรมิตตนขึ้นพันหนึ่ง นั่งอยู่ที่ ชีวกัมพวันอันรื่นรมย์ จนถึงเวลาเขามานิมนต์ ครั้งนั้น พระศาสดาทรงส่งทูตไปบอกเวลาภัตตาหารแก่เรา เมื่อ ทูตบอกเวลาภัตตาหารแล้ว เราได้เข้ารูปเฝ้าโดยทาง อากาศ ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระศาสดาทรงรับรองเรา ผู้ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ เราเป็นผู้ควรบูชาของชาวโลก ทั้งปวง เป็นผู้ควรรับของอันเขานำมาบูชา เป็นนาบุญ แห่งหมู่มนุษย์ ได้รับทักษิณาทานแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทนฺธา ได้แก่ เขลา, คืออ่อนกำลัง เพราะว่าไม่สามารถจะใช้เวลา ๔ เดือนเล่าเรียนคาถา อันประกอบด้วยบาท ทั้ง ๔ ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 376
บทว่า คตี ได้แก่ ญาณคติ. บทว่า อาสิ ได้แก่อโหสิ แปลว่า ได้มีแล้ว.
บทว่า ปริภูโต ได้แก่ถูกดูหมิ่นจากพระพี่ชายนั้นนั่นแลว่า เป็น คนหลงลืม ไม่มีความรู้ ดังนี้.
บทว่า ปุเร ได้แก่ ในกาลก่อน คือในเวลาเป็นปุถุชน.
จ ศัพท์ ในบทว่า ภาตา จ นี้ เป็นสมุจจยัตถะ, ความว่า มิใช่ เราจะถูกดูหมิ่นอย่างเดียวเท่านั้น, โดยที่แท้แม้พระพี่ชายยังขับไล่เรา คือ ฉุดคร่าเราออกไปว่า ปันถก เธอเป็นคนโง่เขลา เห็นจะไม่มีเหตุ (ในการ ตรัสรู้) , เพราะฉะนั้น เธอจึงไม่สามารถเพื่อจะทำกิจแห่งบรรพชิตให้ถึง ที่สุดได้, เธอไม่สมควรเพื่อพระศาสนานี้. บัดนี้ เธอจงไปสู่เรือนของ คุณตาของเธอเถิด. บทว่า ภาตา ได้แก่พระพี่ชาย.
บทว่า โกฏฺเก ได้แก่ ใกล้ซุ้มประตู.
บทว่า ทุมฺมโน ได้แก่ถึงความโทมนัสใจ.
บทว่า สาสนสฺมึ อเปกฺขวา ได้แก่ ยังมีความอาลัยในพระศาสนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือยังไม่ต้องการจะสึก.
บทว่า ภควา ตตฺถ อาคจฺฉิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ มีพระมนัสอันพระมหากรุณาคุณตักเตือนแล้ว เมื่อจะทรงอนุเคราะห์เรา จึงได้เสด็จมา ณ ที่ที่เรายืนอยู่. ก็แล ครั้นพระองค์เสด็จมาแล้ว ทรง ปลอบใจว่า ปันถกเอ๋ย เราเป็นศาสดาของเธอ, มหาปันถกไม่ใช่เป็น ศาสดาของเธอ, การบรรพชาของเธอ ก็มุ่งเพื่ออุทิศเรา ดังนี้ ทรงลูบ ศีรษะเรา คือเมื่อจะแสดงว่า จักเป็นลูกของเรา ณ บัดนี้ทีเดียว ดังนี้ จึงทรงลูบศีรษะเรา ด้วยฝ่าพระหัตถ์ อันมีรูปกงจักรเป็นเครื่องหมาย ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 377
ผูกพันสลับมีลายดุจตาข่าย อ่อนนุ่มเอิบอิ่ม และมีนิ้วมือแผ่ออกงดงาม เสมอกันเป็นอย่างดี มีพระสิริงดงามปานดอกปทุมที่แย้มบานแล้ว.
บทว่า พาหาย มํ คเหตฺวาน ความว่า พระศาสดาตรัสถามเราว่า ทำไมเธอจึงมายืนในที่นี้เล่า? ดังนี้แล้ว เอาพระหัตถ์ของพระองค์จับเรา ที่แขน นำเข้าไปยังภายในสังฆาราม อันมีกลิ่นหอมด้วยไม้จันทน์.
บทว่า ปาทาสิ ปาทปุญฺฉนึ ความว่า พระองค์พระราชทานผ้าที่ ทำผ้าเช็ดเท้าให้ คือพระราชทานให้ด้วยตรัสสั่งว่า เธอจงทำไว้ในใจว่า รโชหรณํ ผ้าสำหรับเช็ดธุลี ดังนี้. บาลีว่า อทาสิ และ ปาทปุญฺฉนึ ดังนี้ก็มี. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ได้พระราชทานท่อนผ้าสำหรับ เช็ดเท้า ซึ่งเรียกกันว่า ปาทปุญฺฉนึ ดังนี้. คำนั้นไม่เหมาะ เพราะท่อน ผ้านั้น พระองค์ปรุงแต่งขึ้นด้วยฤทธิ์พระราชทานให้.
บทว่า เอตํ สุทฺธํ อธิฏฺเหิ เอกมนฺตํ สฺวธิฏฺิตํ ความว่า เธอจง นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งที่มุขคันธกุฎีอันสงัด จงอธิษฐานท่อนผ้าสะอาดผืนนี้ ทำให้มั่นด้วยมนสิการว่า รโชหรณํ รโชหรณํ คือทำจนให้จิตเป็นสมาธิ เป็นไป.
บทว่า ตสฺสาหํ วจนํ สุตฺวา ความว่า เราฟังพระดำรัสอันเป็น โอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ยินดีในคำสั่งสอน คือใน โอวาทนั้นแล้ว เป็นผู้ยินดียิ่งอยู่ คือปฏิบัติตามคำสั่งสอน. ก็เมื่อจะปฏิบัติ ตาม ได้บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด ความว่า ชื่อว่าประโยชน์อันสูงสุด ได้แก่พระอรหัต, เราทำรูปฌานให้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยอำนาจการบริกรรมกสิณ เพื่อบรรลุพระอรหัตนั้นแล้ว เริ่มเจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 378
วิปัสสนา มีฌานเป็นบาทแล้ว ทำอรหัตตมรรคสมาธิ ให้ถึงพร้อมแล้ว ด้วยข้อปฏิบัติแห่งมรรค.
ก็คำว่า สมาธิ ในที่นี้ ได้แก่ สมาธิที่ท่านหมายถึงสมาธิทั่วไป ตั้งแต่อุปจารสมาธิ จนถึงอรหัตตมรรคสมาธิ ส่วนอรหัตตผลสมาธิ ท่าน หมายถึงศัพท์ว่า ประโยชน์อย่างสูงสุด, ก็ความฉลาดในสมาธินี้ จัดเป็น ความดีอันประเสริฐ, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สมาธึ ปฏิปาเทสึ ดังนี้เป็นต้น.
จริงอยู่ ท่านพระจูฬปันถกรูปนี้ เพราะเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ จึง กลายเป็นผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจ, ส่วนพระมหาปันถกเถระ เพราะท่านเป็นผู้ฉลาดในวิปัสสนา จึงเป็นผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทาง ปัญญา. ท่านพรรณนาไว้ว่า ก็ในพระเถระ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาด ในลักษณะแห่งสมาธิ, รูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาดในลักษณะแห่งวิปัสสนา, รูป หนึ่งยึดมั่นทางสมาธิ, รูปหนึ่งยึดมั่นทางวิปัสสนา, รูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาด ในการย่นย่ออวัยวะ, รูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาดในการย่นย่อทางอารมณ์, รูป หนึ่งเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดอวัยวะ รูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาดในการกำหนด อารมณ์.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า พระจูฬปันถกเถระเป็นผู้ฉลาดในการ เปลี่ยนแปลงทางใจ เพราะท่านได้รูปาวจรฌาน ๔ อย่างดียิ่ง, พระมหาปันถกเถระ เป็นผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางสัญญา เพราะท่านได้ อรูปาวจรฌาน ๔ อย่างดียิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง องค์ที่ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการ เปลี่ยนแปลงทางใจว่า เราเป็นผู้ได้รูปาวจรฌาน ออกจากองค์ฌานทั้งหลาย แล้ว บรรลุพระอรหัต, อีกองค์นอกจากนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเปลี่ยน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 379
แปลงทางสัญญาว่า เราเป็นผู้ได้อรูปาวจรฌาน ออกจากองค์ฌานทั้งหลาย แล้ว บรรลุพระอรหัต.
ก็พระเถระเมื่อจะทำกายที่สำเร็จด้วยใจให้เกิดขึ้น ย่อมทำให้เกิด เป็นคนเหล่าอื่น คือ ๓ คนบ้าง ๔ คนบ้าง, มิใช่ทำให้เกิดเป็นคนจำนวน มาก ย่อมทำให้เกิดเป็นเช่นกับคนคนเดียวเท่านั้น ในการงานที่กำลังทำ อย่างเดียวกัน. ส่วนพระเถระนี้ นิรมิตเว้นจากคนเดียว ทำให้เป็น สมณะ ๑,๐๐๐ รูปได้, แม้คน ๒ คน ก็ทำให้ร่างกายไม่เหมือนกันได้ ในการงานที่กำลังทำคนละอย่างกัน. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้นิรมิตกายที่สำเร็จด้วยใจ.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงคุณวิเศษที่ตนบรรลุแล้ว ท่านจึงกล่าวคำ เป็นต้นว่า ปุพฺเพนิวาสํ ชานามิ ดังนี้. พระเถระนี้ เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ ก็จริง, ถึงอย่างนั้น เพื่อจะแสดงอภิญญาที่มีอุปการะมากแก่การบรรลุ อาสวักขยญาณ จึงกล่าวว่า เราระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ ชำระทิพยจักษุ ให้หมดจดแล้ว ดังนี้แล้วกล่าวว่า ได้บรรลุวิชชา ๓ เป็นต้น. จริงอยู่ ปุพเพนิวาสญาณ ยถากัมมุปคญาณ และอนาคตังสญาณ ย่อมมีอุปการะ มากแก่การบำเพ็ญวิปัสสนา, ญาณนอกนี้หามีอุปการะเหมือนอย่างนั้นไม่.
บทว่า สหสฺสกฺขตฺตุํ แปลว่า ๑,๐๐๐. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ๑,๐๐๐ ครั้ง ดังนี้ก็มี. ก็พระเถระนิรมิตกายที่สำเร็จด้วยใจเป็น ๑,๐๐๐ ร่าง ด้วยการนึกครั้งเดียว, มิใช่ด้วยวาระ. ก็ร่างกายที่นิรมิตแล้วเหล่านั้น แล ย่อมทำการงานเช่นเดียวกัน และต่างกันได้. ถามว่า ก็การนิรมิต ด้วยฤทธิ์เห็นปานนี้ ย่อมมีได้แม้แก่พระสาวกทั้งหลายหรือ? ตอบว่า หามีแก่พระสาวกทั้งปวงไม่, ก็พระเถระรูปนี้เท่านั้น ได้ทำได้อย่างนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 380
เพราะความถึงพร้อมแห่งอภินิหาร, จริงอยู่ ด้วยเหตุนี้ พระเถระนั้นจึง ได้รับเอตทัคคะอย่างนั้น.
บทว่า ปนฺถโก นิสีทิ ความว่า ย่อมกล่าวเปรียบคนอื่นเหมือนกับ ตนนั่นแล.
บทว่า อมฺพวเน ได้แก่ ในอัมพวัน ซึ่งเป็นวิหารที่หมอชีวกสร้าง อุทิศถวาย.
บทว่า เวหาสา ในบทว่า เวหาสาหุปสงฺกมิ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ลงในตติยาวิภัตติ, ความว่า โดยอากาศ. ท อักษร การทำการต่อบท.
ศัพท์ว่า อถ ได้แก่ ภายหลังแต่การนั่งของเรา.
บทว่า ปฏิคฺคหิ ได้แก่ ทรงรับน้ำทักษิโณทก.
บทว่า อายาโค สพฺพโลกสฺส ความว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานะที่ชาว โลกทั้งปวง พร้อมทั้งเทวโลก พึงนำไทยธรรมมาบูชา เพราะความที่ตน เป็นพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ.
บทว่า อาหุตีนํ ปฏิคฺคโห ความว่า เป็นผู้ควรรับทักษิณาอันเขา นำมาบูชา โดยทำให้มีผลมาก.
บทว่า ปฏิคฺคณฺหิตฺถ ทกฺขิณํ ความว่า ได้รับทักษิณา อันต่าง ด้วยข้าวยาคูและของควรเคี้ยวเป็นต้น ที่หมอชีวกน้อมนำมาถวาย.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรง สั่งท่านพระจูฬปันถกว่า เธอจงทำอนุโมทนา. พระเถระนั้น เพราะ ความที่ตนบรรลุปฏิสัมภิทาอย่างแตกฉาน เมื่อจะทำพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎกให้กระฉ่อน เรียนแบบอัธยาศัยของพระศาสดา การทำการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 381
อนุโมทนา เป็นราวกะว่า จับภูเขาสิเนรุเอามากวนคนมหาสมุทรฉะนั้น. จริงอยู่ ท่านรูปนี้ แม้จะเพียบพร้อมด้วยอุปนิสัยถึงอย่างนั้น ก็ยังถูกเศษ กรรมเก่าเห็นปานนั้นเบียดเบียนเอาได้ คือไม่สามารถจะใช้เวลา เดือน เล่าเรียนคาถาอันประกอบด้วย ๔ บาทได้ ก็พระศาสดาทรงเล็งเห็นอุปนิสัย สมบัติของท่านนั้นแล้ว ทรงชักชวนให้ใช้โยนิโสมนสิการ อันเหมาะแก่ ความประพฤติที่เคยมีมาในกาลก่อน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ นั่งในนิเวศน์ของหมอชีวกในกาลนั้นอย่างนั้นนั่นแล ทรงทราบว่า จิต ของพระจูฬปันถกเป็นสมาธิแล้ว, ปฏิบัติถูกทางเป็นวิปัสสนาแล้ว ดังนี้ ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏทั้งที่ประทับนั่งอยู่นั่นแล เมื่อจะแสดงว่า ปันถก แม้ท่อนผ้านี้จะเป็นของเศร้าหมอง ปะปนคละด้วยธุลี, แต่ธรรมอื่น นั่นแหละ ที่เศร้าหมองและมีธุลี ในวินัยของพระอริยเจ้า จัดว่าเป็นความ เศร้าหมองยิ่งกว่าท่อนผ้านี้ ดังนี้. จึงตรัสคาถาสุดท้าย ๓ คาถานี้ว่า :-
ราคะ ชื่อว่า ธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านไม่เรียกว่า ธุลี, คำว่า ธุลี นั่นเป็นชื่อของราคะ, ภิกษุเหล่านั้น ละ ธุลีนั่นได้เด็ดขาดแล้ว อยู่ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี. โทสะ ชื่อว่า ธุลี แต่เรณู (ละออง) ท่านไม่เรียกว่า ธุลี, คำว่า ชุลี นั่นเป็นชื่อของโทสะ, ภิกษุเหล่านั้นละธุลีนั่นได้เด็ดขาดแล้ว อยู่ในพระศาสนา ของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี. โมหะ ชื่อว่า ธุลี แต่ เรณู (ละออง) ท่านไม่เรียกว่า ธุลี, คำว่า ธุลี นั่นเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 382
ชื่อของโมหะ, ภิกษุเหล่านั้น ละธุลีนั้นได้เด็ดขาดแล้ว อยู่ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.
ในเวลาจบคาถา พระจูฬปันถกบรรลุพระอรหัต อันมีอภิญญา และปฏิสัมภิทาเป็นบริวารแล.
จบอรรถกถาจูฬปันถกเถรคาถาที่ ๔