[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 90
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๒๐. อรรถกถา ญาตัฏฐญาณุทเทส
ว่าด้วยญาตัฏฐญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 90
๒๐. อรรถกถาญาตัฏฐญาณุทเทส
ว่าด้วย ญาตัฏฐญาณ
บัดนี้ ปริญญา ๓ คือ การกำหนดรู้นามรูปโดยประเภทนั้นแล เป็นญาตปริญญา, ต่อจากนั้นก็เป็นตีรณปริญญา, ในลำดับต่อไปก็เป็น ปหานปริญญา, และภาวนาการเจริญและสัจฉิกิริยาการทำให้แจ้ง ก็ย่อมมีเพราะเนื่องด้วยปริญญา ๓ นั้น, เพราะฉะนั้นท่านจึงยกเอาญาณทั้ง ๕ มีญาตัฏฐญาณเป็นต้น ขึ้นแสดงต่อจากธัมมนานัตตญาณ.
ก็ปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา, ตีรณปริญญาและปหานปริญญา. ในปริญญาทั้ง ๓ นั้น ดังนี้
ปัญญาอันเป็นไปในการกำหนดลักษณะโดยเฉพาะๆ แห่งสภาวธรรมเหล่านั้นๆ อย่างนี้ว่า รูปมีการแตกดับไปเป็นลักษณะ, เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ ชื่อว่า ญาตปริญญา.
วิปัสสนาปัญญาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ ยกสามัญลักษณะแห่งสภาวธรรมเหล่านั้นๆ ขึ้นเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า รูปํ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, เวทนา อนิจฺจา ทุกฺขา อนตฺตา เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาดังนี้ ชื่อว่า ตีรณปริญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 91
ก็วิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ เป็นไปด้วยสามารถแห่งการละวิปลาสทั้งหลาย มีนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น ในธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเสียได้นั่นแล ชื่อว่า ปหานปริญญา.
บรรดาปริญญาทั้ง ๓ นั้น ตั้งต้นแต่สังขารปริจเฉทญาณ ญาณในการกำหนดสังขารธรรม จนถึงปัจจยปริคคหญาณ ญาณในการกำหนดสังขารธรรมโดยความเป็นปัจจัย เป็นภูมิของญาตปริญญา. เพราะในระหว่างนี้ ความเป็นอธิบดีย่อมมีแก่พระโยคีบุคคลผู้แทงตลอดลักษณะโดยเฉพาะๆ ของสภาวธรรมทั้งหลายได้.
ตั้งแต่กลาปสัมมสนญาณ ญาณในการพิจารณาสังขารธรรมโดยกลาป จนถึงอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณในการเห็นอยู่เนืองๆ ซึ่งการเกิดขึ้นและดับไปของสังขารธรรม เพราะในระหว่างนี้ ความเป็นอธิบดีย่อมมีแก่พระโยคีบุคคลผู้แทงตลอดสามัญลักษณะได้.
ตั้งต้นแต่ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณในการเห็นอยู่เนืองๆ ซึ่งความดับไปแห่งสังขารธรรมขึ้นไป เป็นภูมิแห่งปหานปริญญา. เพราะจำเดิมแต่นั้นไปความเป็นอธิบดีย่อมมีแก่อนุปัสสนา ๗ อันจะให้สำเร็จการละวิปลาสมีนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น ได้อย่างนี้คือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ก็ย่อมละนิจสัญญาวิปลาสได้, เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ก็ละสุขสัญญาวิปลาสได้, เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ก็ละอัตตสัญญาวิปลาสได้, เมื่อเบื่อหน่าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 92
ก็ละความเพลิดเพลินได้, เมื่อคลายกำหนัด ก็ละราคะได้, เมื่อให้ดับ ก็ละสมุทัยได้, เมื่อสละคืนก็ละความถือมั่นเสียได้ (๑) ดังนี้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อภิญฺาปญฺา ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องรู้ตามสภาวะมีรุปปนลักษณะ คือ รูปมีอันแตกดับไปเป็นลักษณะ เป็นต้น แห่งสภาวธรรมทั้งหลาย. จริงอยู่ ปัญญานั้นท่านเรียกว่า อภิญญา เพราะอธิบายด้วยอภิศัพท์มีอรรถว่างามดังนี้ คือ การรู้งามด้วยสามารถแห่งการรู้สภาวะของธรรมเหล่านั้นๆ.
คำว่า าตฏฺเ าณํ - ญาณในอรรถว่ารู้ ได้แก่ญาณอันมีความรู้เป็นสภาวะ.
๑. ขุ.ป. ๓๑/๑๑๒.