๙. ปฐมสัปปายสูตร ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง
โดย บ้านธัมมะ  10 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37141

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 45

๙. ปฐมสัปปายสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 45

๙. ปฐมสัปปายสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง

[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฏฐิ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฏฐิ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุ ในจักษุ แต่จักษุ ว่าจักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญรูป ย่อมไม่สำคัญจักษุวิญญาณ ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุสัมผัส ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ในเวทนานั้น แต่เวทนานั้น ว่าเวทนานั้นเป็นของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสิ่งใดที่ตนสำคัญไว้ เป็นที่ให้สำคัญ เป็นแดนให้สำคัญ เป็นเหตุให้สำคัญว่า เป็นของเรา สิ่งนั้นล้วนเปลี่ยนแปลงออกไปจากที่สำคัญนั้น คือสัตว์ในภพก็มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น สัตว์โลกย่อมเพลิดเพลิน เฉพาะภพเท่านั้น ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ในใจ แต่ใจ ว่าใจของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ ในธรรมารมณ์ แต่ธรรมารมณ์ ว่าธรรมารมณ์ของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ในมโนวิญญาณ แต่มโนวิญญาณ ว่ามโนวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนสัมผัส ในมโนสัมผัส แต่มโนสัมผัส ว่ามโนสัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ในเวทนานั้น แต่เวทนานั้น ว่าเวทนานั้นเป็นของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นย่อมไม่สำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุและอายตนะ ในขันธ์ ธาตุและอายตนะ แต่ขันธ์


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 46

ธาตุและอายตนะ ว่าขันธ์ ธาตุและอายตนะเป็นของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับสนิทได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฏฐิ.

จบ ปฐมสัปปายสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมสัปปายสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมุคฺฆาตสปฺปายา ได้แก่ เป็นอุปการะแก่การเพิกถอน. บทว่า ตโต ตํ โหติ อญฺถา ความว่า สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่สำคัญนั้น. บทว่า อญฺถาภาวี ภวสตฺโต โลโก ภวเมว อภินนฺทติ ความว่า สัตว์แม้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ด้วยการเข้าถึงความเป็นอย่างอื่น คือความเปลี่ยนแปลงก็ยังติด คือข้อง คือกังวล อยู่ในภพ สัตว์โลกนี้จึงชื่อว่า ย่อมเพลิดเพลินเฉพาะภพเท่านั้น. บทว่า ยาวตา ภิกฺขเว ขนฺธธาตุอายตนํ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นย่อมไม่สำคัญแม้ขันธ์ ธาตุและอายตนะนี้มีประมาณเท่าใดว่า ขันธ์ทั้งหลาย ธาตุทั้งหลาย และอายตนะ ดังนี้. ด้วยบทว่า ตมฺปิ น มญฺติ ทรงชักเอาข้อที่บุคคลถือเอาในหนหลังนั่นแล มาแสดงอีก. ในพระสูตรนี้ ตรัสวิปัสสนาให้บรรลุพระอรหัตในฐานะ ๑๔๘.

จบ อรรถกถาปฐมสัปปายสูตรที่ ๙