รู้สภาพเป็นจริงอย่างไร
โดย แสงจันทร์  7 ส.ค. 2554
หัวข้อหมายเลข 18882

คำว่ารู้ตามสภาพความเป็นจริงที่ท่านอาจารย์พูดถึงทำอย่างไร ต้องมีการคำกำหนด

ด้วยหรือเปล่า เช่น เวลาเราคิด บางแห่งสอนให้กำหนดคิดหนอ อย่างนี้หรือเปล่า

หรือทำอย่างไร



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 7 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย การรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง คือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้

ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ขณะนั้นเป็นสติและปัญญา รู้ลักษณะที่เป็นตัวธรรม ครับ โดย

ที่ไม่ต้องมีคำกำหนด เพื่อให้รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ยกตัวอย่างเช่น ขณะนี้ กำลังเห็น

จะต้องพูดหรือไม่ ว่าเห็นหนอจึงจะรู้ว่าเห็น แต่เห็นเกิดแล้ว มีลักษณะให้รู้ ขณะที่ปัญญา

เกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นไม่ได้คิดเป็นคำๆ ว่าเห็น แต่รู้ที่ลักษณะของตัว

เห็นเลยว่า เป็นธรรม หรือ ขณะนี้กำลังนั่ง เท้าที่กระทบพื้น มีลักษณะแข็ง แข็งมีจริง

แม้ไม่ต้องกล่าวว่าแข็งหนอหรือพูดคำใดเลยลักษณะของแข็งก็มีโดยไม่ต้องพูด เพราะ

ลักษณะแข็งกำลังปรากฎ ดังนั้นปัญญาก็รู้ตัวลักษณะของแข็ง โดยไม่ต้องพูด ไม่ต้อง

กำหนดเป็นคำ หรือคิดนึกว่าแข็ง เพราะแข็งมีลักษณะอยู่แล้ว ขณะที่รู้ตัวลักษณะของ

แข็งขณะนั้น มีแต่ลักษณะเท่านั้นที่ปรากฎกับสติและปัญญา โดยไม่ได้คิดนึกเป็นคำ

อะไรเลย ครับ

ขณะนี้ มีจิตที่คิด คิดมีจริง ไม่ต้องเรียกชื่อ หรือกล่าวว่าจิตกำลังคิดเลยครับ เพราะ

ลักษณะที่คิด มีจริงโดยไม่ต้องเรียกชื่อ เพราะตัวธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม มีลักษณะ

ของเขาอยู่แล้ว ดังนั้น ขณะที่จิตคิดเกิดขึ้น ขณะนั้นมีลักษณะแล้ว สติและปัญญา

สามารถเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพรู้ ที่เป็นจิตคิดในขณะนั้นว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ซึ่งขณะที่สติและปัญญารู้ลักษณะที่คิด ลักษณะที่คิดเท่านั้น ที่ปรากฎ ไม่มีการคิดถึง

คำ คิดถึงเรื่องราวของสภาพธรรม ครับ

ที่สำคัญที่สุด ขณะที่คิดว่า คิดหนอ ขณะนั้น กำลังคิดถึงคำ แต่ไม่ได้รู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมที่เป็นคิด ไม่รู้ตัวลักษณะจริงๆ จึงไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน ครับ ธรรม

จึงเป็นเรื่องละเอียด ว่า การคิดนึก ไม่ใช่การรู้ลักษณะของธรรมจริงๆ ครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 2    โดย แสงจันทร์  วันที่ 7 ส.ค. 2554

ขอขอบคุณสำหรับคำตอบ แล้วผมจะลองนำไปปฏิบัติดูครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 3    โดย paderm  วันที่ 7 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

ไม่ต้องเอาไปปฏิบัติครับ เพราะในความเป็นจริงสติและปัญญาเป็นอนัตตา การจะรู้ตัว

ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เป็นสิ่งที่ยากมาก คือ ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ดังนั้น

ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องไปลองปฏิบัติ ฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ ให้เข้าใจทีละน้อย ปัญญาจะ

ค่อยๆ รู้ความจริงทีละน้อยเอง จึงไม่มีเราจะทำ หรือมีเราจะปฏิบัติ หน้าที่ตอนนี้คือการฟัง

พระธรรมเท่านั้นครับ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 7 ส.ค. 2554

อย่าลืมว่ากาีรฟังธรรมเพื่อความเข้าใจ ถ้ามีความเข้าใจที่มั่นคงว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็น

ธรรมะ ไม่ใช่เรา เกิดแล้วดับ สั้นมาก และความเข้าใจละความคลายความไม่รู้

ละความติดข้องที่จะไปทำ ไปกำหนด เพราะธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา ฯลฯ ค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย แสงจันทร์  วันที่ 7 ส.ค. 2554

รบกวนอีกนิดนะครับ ท่านโปริฏฐะเถระ ท่านท่องจำพระไตรปิกฎได้ทั้งหมด พระพุทธเจ้า

ยังตรัสเรึยก ท่านว่าใบลานเปล่า เพราะทำไม่ได้ลงมือปฏิบัติเลยหรือว่าฟังจนเกิดความ

จำ (สัญญา) จนเกิด ความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) และพัฒนาจนถึงความรุ้แจ้ง (ญานะ) อย่างนั้น

หรือครับ


ความคิดเห็น 6    โดย khampan.a  วันที่ 7 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น แสดงถึงความเป็นจริง ของสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา โดยพระองค์ทรงใช้พยัญชนะที่หลากหลายมากมายในการแสดงพระธรรมเทศนา เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจถึงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง สำหรับธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น ไม่พ้นไปจากสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งทีกระทบสัมผัส คิดนึก จิตเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นวิบาก เป็นกิริยา โดยประมวลแล้ว เป็นจิต เจตสิก รูป หรือ เป็นนามธรรม กับ รูปธรรม เมื่อประมวลให้ย่อที่สุดแล้ว คือ เป็นธรรม หรือ เป็นธาตุ เมื่อเป็นธรรม เป็นธาตุแต่ละอย่างๆ จึงหาความเป็นสัตว์เป็นบุคคลไม่ได้เลย สภาพธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา

การศึกษาธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด จุดประสงค์ก็เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ตามความเป็นจริง ถ้าไม่อาศัยการฟัง ไม่อาศัยการศึกษาอย่างต่อเนื่องด้วยความละเอียดรอบคอบแล้ว ย่อมไม่สามารถเข้าใจตามความเป็นจริงได้ ดังนั้น จึงต้องฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้นไปตามลำดับ ขณะที่เข้าใจตามความเป็นจริง เป็นกิจหน้าที่ของปัญญาที่รู้ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงในขณะนั้นตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นธรรมประเภทใดก็ตาม โดยที่ไม่มีตัวตนที่ไปบังคับให้ปัญญาเกิดได้ แต่ปัญญา ย่อมเจริญขึ้นไปตามลำดับจริงๆ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 7    โดย paderm  วันที่ 7 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

จากตัวอย่างเรื่องพระโปฐิลเถระ ที่ท่านผู้ถามยกมา ก็แสดงให้เห็นแล้วถึงเรื่องการ

ศึกษาธรรมที่เป็นแต่เพียงการจำ กับ การศึกษาธรรมที่ศึกษาด้วยความเข้าใจ สำหรับ

เรื่องพระโปฐิลเถระ เพราะท่านไม่เคยมีความคิดว่า เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่

ตน จึงเป็นการศึกษาที่เป็นเพียงการจำเรื่องราวของธรรม แต่ขณะที่ลงมือปฏิบัติคือขณะ

ไหน ก็ต้องเข้าใจคำว่า "ปฏิบัติ" ด้วยครับ คือ ขณะที่สติและปัญญาเกิดรู้ความจริงของ

สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา เป็นขณะที่เป็นปฏิบัติ ครับ ซึ่งอาศัย

การฟังด้วยความแยบคาย ฟังด้วยความเข้าใจถูก ที่ไม่ใช่การจดจำ แต่ อาศัยปริยัติ นำ

ไปสู่ปฏิบัติ คือ ฟังพระธรรมด้วยความเข้าใจว่าธรรมคืออะไร และ ธรรมก็คือสิ่งที่มีจริงใน

ขณะนี้ เมื่อปัญญาขั้นการฟังเจริญขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ถึงการที่สติและปัญญาเกิดรู้ความ

จริงในขณะนี้ แต่ถ้าตอนนี้ ปัญญาย้งน้อย จะไปลงมือปฏิบัติ คือ จะพยายามให้สติและ

ปัญญาเกิด รู้ความจริงในขณะนี้ ก็ไม่ใช่ฐานะ ครับ และก็เท่ากับว่า ลืมความเป็นอนัตตา

ของสภาพธรรม ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ แต่ถ้าจะทำ จะลงมือปฏฺบัติ ก็เท่ากับว่าจะบังคับ

สติและปัญญาให้เกิดตามใจชอบ ก็ไม่ใช่เรื่องของความเป็นอนัตตา ครับ เพราะสติและ

ปัญญาเมื่อถึงพร้อม ก็จะเกิดเอง ขณะที่เกิดเอง ขณะนั้นก็ปฏิบัติแล้วครับ หากเรามีเงินอยู่เพียง 5 บาท จะไปซื้อของใหญ่ ของแพง ใจอยากซื้อ แต่เงินก็มีน้อย แม้ใจอยากจะซื้อมาก ก็ซื้อไม่ได้ เพราะไม่มีเหตุ คือ เงินถึง เงินพอ ฉันใด หากปัญญายังน้อยมาก จะทำ จะปฏิบัติ จะพยายามให้สติและปัญญาเกิดก็ไม่ได้ เพราะไม่มีเหตุปัจจัยพอคือ สติและปัญญาที่มั่นคงเพียงพอ จากขั้นการฟัง ครับ

พระธรรมจึงเป็นเรื่องยากครับ แม้ท่านพระโปฐิลเถระ ขณะนั้น ท่านไม่มีความคิดที่จะ

ออกจากทุกข์ แต่ไม่ได้หมายความว่า ท่านไม่ได้อบรมปัญญามาในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน

ตอนหลัง ปัญญาถึงพร้อมท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย นี่แสดงว่าท่านอบรมปัญญามา

มากแค่ไหน ถึงขนาดเป็นพระอรหันต์ได้ แสดงว่าท่านสะสมปัญญามามากแล้วในอดีต

ชาติ มีเงินพอที่จะซื้อของแพง ก็มีเหตุปัจจัยให้สติและปัญญาเกิดรู้ความจริง แต่เรา

ปัญญาน้อยจริงๆ จะพยายามให้สติ ปัญญาเกิดโดยลงมือปฏิบัติก็ไม่มีทางเลย เพราะว่าสติและปัญญาจะเกิดขึ้น เข้าใจความจริงในขณะนี้ ก็อาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระรรม ซึ่งขณะที่ฟังเข้าใจ ก็จะสะสมสัญญาความจำ พร้อมกับปัญญาด้วย จนในที่สุด เงินพอก็ทำให้สติและปัญญาเกิดรู้ความจริง ไม่ต้องไปพยายามให้สติและปัญญาเกิด (ปฏิบัติ) เลย

เพราะเกิดเอง และแสดงถึงความเป็นอนัตตา แต่ถ้าจะทำก็กลายเป็นอัตตา บังคับบัญชา

ได้นั่นเองครับ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 8    โดย pat_jesty  วันที่ 7 ส.ค. 2554

ความเข้าใจอย่างมั่นคงจาการได้ยินได้ฟัง จะสะสม และเมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อมให้รู้แจ้งตาม

สภาพความเป็นจริง ก็จะรู้ได้เอง ไม่มีใครทำอะไรได้เลยค่ะ...

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย แสงจันทร์  วันที่ 7 ส.ค. 2554

ธุระ มีอยู่๒ ในปรมัตถโชติกา.๑/๕/๔๐๒-๔๐๓ เรียกวิปัสนาธุระว่า วาสธุระ (ธูระด้าน

สภาวะ) อธิบายว่า "กุลบุตรผู้บวชแล้วในสำนักของอาจารย์และอุปัชฌาย์สิ้น๕ปี

บำเพ็ญข้อวัตร และปฏิบัติในปราฏิโมกข์ และภานวาร (การสาธยาย ๘๐๐๐อักขระ)

และพระสูตร ๒-๓สูตรให้ข้องแคล่ว เรียนกรรมฐานแล้ว เข้าสู่โคนป่าโดยตัดอาลัยใน

ตระกลูหรือคณะสืบต่อเสีย พยายามเพื่อทำให้แจ้งพระอรหัต นี้เชื่อว่า วาสธุระ

ส่วนกุลบุตรที่เล่าเรียน ๑นิกาย๒นิกาย หรือ๕นิกายตามกำลังสติปัญญาของตน รักษา

ศาสนาให้บริสุทธิด้วยดีโดยปริยัติและอรรถ นี้เรียกว่าปริยัติ

สรุปแล้วยังไงก็หนีไม่พ้นที่จะต้องฟังธรรมหรือศึกษาธรรมอยู่ดีแหละครับ

มิใช่การประพฤติตนเป็นชีเปลือย มิใช่การเกล้าผมทรงชฎา

มิใช่การบำเพ็ญตบะนอนในโคลนตม มิใช่การอดอาหาร

มิใช่การนอนกับดิน มิใช่การเอาฝุ่นทาตัว มิใช่การตั้งท่านั่งดอก

ที่จะทำให้คนบริสุทธิ์ได้ ในเมื่อความสงสัยยังไม่สิ้น.

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 10    โดย คนไทยพบธรรม  วันที่ 8 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ


ความคิดเห็น 11    โดย ละอองน้ำ  วันที่ 8 ส.ค. 2554
ขอนอบน้อมแด่พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ