๑๐. วิภังคสูตร วิธีเจริญอิทธิบาท ๔
โดย บ้านธัมมะ  12 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38004

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 159

๑๐. วิภังคสูตร

วิธีเจริญอิทธิบาท ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 159

๑๐. วิภังคสูตร

วิธีเจริญอิทธิบาท ๔

[๑๑๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคอง


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 160

เกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

[๑๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน ฉันทะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไป.

[๑๑๘๑] ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป.

[๑๑๘๒] ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน.

[๑๑๘๓] ก็ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก

[๑๑๘๔] ภิกษุมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างไร ความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้า อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่ามีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

[๑๑๘๕] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 161

ย่อมพิจารณากายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องล่างแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

[๑๑๘๖] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

[๑๑๘๗] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร อาโลกสัญญา (ความสำคัญว่าแสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่อย่างนี้แล.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 162

[๑๑๘๘] ก็วิริยะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน วิริยะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่าวิริยะที่ย่อหย่อนเกินไป.

[๑๑๘๙] ก็วิริยะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน วิริยะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคองเกินไป.

[๑๑๙๐] ก็วิริยะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน วิริยะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิริยะหดหู่ในภายใน.

[๑๑๙๑] ก็วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน วิริยะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ

[๑๑๙๒] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร อาโลกสัญญา อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่ากลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่อย่างนี้แล.

[๑๑๙๓] ก็จิตที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน จิตที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนเกินไป.

[๑๑๙๔] ก็จิตที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคองเกินไป.

[๑๑๙๕] ก็จิตที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน จิตที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน.

[๑๑๙๖] ก็จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน จิตที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 163

[๑๑๙๗] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่อย่างนี้แล.

[๑๑๙๘] ก็วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน วิมังสาที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไป.

[๑๑๙๙] ก็วิมังสาที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน วิมังสาที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคองเกินไป.

[๑๒๐๐] ก็วิมังสาที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน วิมังสาที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน.

[๑๒๐๑] ก็วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ

[๑๒๐๒] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้.

[๑๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 164

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

(พึงขยายอภิญญาแม้ทั้งหกให้พิสดาร)

จบวิภังคสูตรที่ ๑๐

จบปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒

อรรถกถาวิภังคสูตร

วิภังคสูตรที่ ๑๐.

ในคำว่า ประกอบด้วยความเกียจคร้าน นี้ ภิกษุเมื่อปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นแล้วนั่งเอาใจใส่กัมมัฏฐานอยู่.

ทีนั้น เธอมีอาการย่อท้อหยั่งลงในจิต เธอรู้ว่า อาการย่อท้อหยั่งลงในจิตเรา ก็เอาภัยในอบายมาข่มจิต ทำให้เกิดความพอใจขึ้นมาอีก แล้วตั้งจิตตั้งใจทำกัมมัฏฐาน.

ทีนั้น เธอเกิดมีอาการย่อท้อหยั่งลงในใจอีก เธอก็ยกเอาภัยในอบายมาข่มจิตอีก ปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำกัมมัฏฐานดังว่ามานี้ ความพอใจของเธอชื่อว่าย่อมประกอบด้วยความเกียจคร้าน เพราะความที่เธอถูกความเกียจคร้านครอบงำ ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน เป็นคำที่ใช้แทน คำว่า ประกอบด้วยความเกียจคร้าน นั้นเอง.

ในคำว่า ประกอบด้วยอุทธัจจะ นี้ ภิกษุเมื่อทำความพอใจให้เกิดขึ้นแล้ว ก็นั่งตั้งใจทำกัมมัฏฐานอยู่.

ทีนั้น จิตเธอตกไปในความฟุ้งซ่าน เธอก็มารำพึงถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ทำใจให้ร่าเริง ให้ยินดี ทำให้ควรแก่การงาน แล้วยังความพอใจให้เกิดขึ้นใหม่อีก แล้วก็


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 165

พิจารณากัมมัฏฐาน.

คราวนี้จิตของเธอก็ตกไปในความฟุ้งซ่านอีก เธอก็มารำพึงถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อีก ทำใจให้ร่าเริง ให้ยินดี ปลูกฝังความพอใจให้เกิดขึ้นใหม่ แล้วก็พิจารณากัมมัฏฐาน เพราะเหตุนี้ ความพอใจของเธอ ก็ย่อมชื่อว่าประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน เพราะถูกความฟุ้งซ่านครอบงำ ด้วยประการฉะนี้.

ในคำว่า ประกอบด้วยถีนมิทธะ นี้ ภิกษุทำความพอใจให้เกิดขึ้นแล้ว ก็นั่งตั้งใจทำกัมมัฏฐานอยู่.

ทีนั้น ความง่วงเหงาหาวนอน ก็เกิดขึ้นแก่เธอ เธอทราบได้ว่า ถีนมิทธะ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็เอาน้ำมาล้างหน้า ดึงใบหูท่องธรรมที่คล่อง (ด้วยเสียงดัง) หรือสนใจความสำคัญว่าแสงสว่างที่ถือเอาไว้ เมื่อตอนกลางวัน บรรเทาถีนมิทธะออกไป แล้วยังความพอใจให้เกิดขึ้นอีก พิจารณากัมมัฏฐานอยู่.

ทีนั้น ถีนมิทธะเกิดขึ้นแก่เธออีก เธอก็บรรเทาถีนมิทธะออกไปอีกตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ทำความพอใจให้เกิดขึ้นใหม่ แล้วพิจารณากัมมัฏฐานอยู่ เพราะเหตุนี้ ความพอใจของเธอจึงชื่อว่า ประกอบด้วยถีนมิทธะ เพราะถูกถีนมิทธะครอบงำ ด้วยประการฉะนี้.

ในคำว่า ฟุ้งซ่าน นี้ ภิกษุเมื่อทำความพอใจให้เกิดขึ้นแล้ว ก็นั่งพิจารณากัมมัฏฐานอยู่.

ทีนั้น จิตของเธอก็ซัดส่ายไปในอารมณ์ คือ กามคุณ เธอรู้ได้ว่า จิตเราซัดส่ายไปข้างนอกแล้ว ก็มาคำนึงถึงอนมตัคคสูตร เทวทูตสูตร เวลามสูตร และอนาคตภยสูตรเป็นต้น เอาพระสูตรมาเป็นเครื่องข่มจิต ทำให้ควรแก่การงาน ปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นมาอีกแล้ว ก็เอาใจใส่กัมมัฏฐานอยู่.

ทีนั้น จิตของเธอก็ซัดส่ายไปอีก เธอก็ข่มจิตด้วยอาชญา คือ พระสูตรทำให้ควรแก่การงาน ปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นมาอีก แล้วก็พิจารณากัมมัฏฐานอยู่ เพราะเหตุนี้ ความพอใจของเธอจึงย่อมชื่อว่า ปรารภกามคุณ ๕ อย่าง


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 166

ในภายนอก แล้วเป็นของซัดส่ายไปตาม ซ่านไปตาม เพราะระคนปนเจือไปด้วยความตรึกไปในกาม ด้วยประการฉะนี้.

ในคำว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น พึงทราบเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ด้วยอำนาจกัมมัฏฐานบ้าง ด้วยอำนาจเทศนาบ้าง.

อย่างไร.

ในเรื่องกัมมัฏฐานก่อน การตั้งมั่นแห่งกัมมัฏฐาน ชื่อว่า เบื้องหน้า อรหัต ชื่อว่า เบื้องหลัง ในเรื่องนั้น ภิกษุใดยึดเอามูลกัมมัฏฐานไว้มั่นแล้ว เกียดกันความย่อหย่อนของจิต ในฐานะทั้ง ๔ อย่าง มีความย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น ไม่ติดขัดในฐานะทั้ง ๔ แม้แต่แห่งเดียว เหมือนเทียมโคพยศใช้งานจนได้ หรือเหมือนดอกไม้ ๔ เหลี่ยมแทรกเข้าไป พิจารณาสังขารทั้งหลายย่อมบรรลุพระอรหัต.

ภิกษุแม้นี้ ก็ย่อมชื่อว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น.

นี้เป็นเบื้องหน้าและเบื้องหลังด้วยอำนาจกัมมัฏฐาน ส่วนที่ว่าด้วยอำนาจเทศนา ผม ชื่อว่าเบื้องหน้า มันสมอง ชื่อว่าเบื้องหลัง.

ในเรื่องเกี่ยวกับเทศนา (การแสดง) นั้น ภิกษุใดยึดมั่นในผมทั้งหลายแล้ว กำหนดผมเป็นต้น ด้วยอำนาจสีและสัณฐานเป็นต้น ไม่ติดขัดในฐานะทั้ง ๔ อย่าง ยังภาวนาให้ถึงจนถึงมันสมอง.

แม้ภิกษุนี้ ก็ย่อมชื่อว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้นอยู่.

พึงทราบความเป็นเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ด้วยอำนาจเทศนาดังที่ว่ามานี้.

คำว่า เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น นี้เป็นคำที่ใช้แทนกันของนัยก่อนนั่นเอง.

คำว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น นี้พึงทราบด้วยอำนาจสรีระ.

เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้างบนแต่ฝ่าเท้าขึ้นมา ข้างล่างแต่ปลายผมลงไป ดังนี้.

ในกรณีนั้น ภิกษุใดยังภาวนาให้ถึงด้วยอำนาจอาการ ๓๒ ประการ ตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นไปจนถึงปลายผม หรือ


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 167

ด้วยอำนาจกระดูก แต่กระดูกข้อต่ออันปลายสุดของนิ้วเท้าขึ้นไปจนถึงกระโหลกศีรษะ แต่กระดูกกระโหลกศีรษะลงไปจนถึงกระดูกข้อต่ออันปลายสุดของนิ้วเท้า ไม่มีข้องขัดในฐานะทั้ง ๔ แม้แต่แห่งเดียว ภิกษุนี้ ย่อมชื่อว่า เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้นอยู่.

คำว่า ด้วยอาการเหล่าใด คือ ด้วยส่วนเหล่าใด.

คำว่า ด้วยเพศเหล่าใด คือ ด้วยทรวดทรงเหล่าใด.

คำว่า ด้วยนิมิตเหล่าใด คือ ด้วยลักษณะที่ปรากฏเหล่าใด.

คำว่า อาโลกสญฺา สุคฺคหิตา โหติ ความว่า ภิกษุใดนั่งที่ลานแล้วมาเอาใจใส่ต่ออาโลกสัญญา หลับตาลงเป็นบางครั้ง บางครั้งก็ลืมตาขึ้น ขณะที่เธอแม้จะหลับตาอยู่ รูปก็ย่อมปรากฏเป็นอย่างเดียวกันทีเดียว เหมือนเมื่อเธอกำลังลืมตาแลดูอยู่ นั้นชื่อว่า ความสำคัญว่าแสงสว่างย่อมเป็นอันได้เกิดแล้ว.

แม้คำว่า ทิวาสญฺา ก็เป็นชื่อของความสำคัญว่าแสงสว่างนั้นเหมือนกัน.

ก็แต่ว่า ความสำคัญว่าแสงสว่างที่เกิดขึ้นอยู่ในตอนกลางคืน ย่อมชื่อว่าเป็นอันถือเอาดีแล้ว.

แม้คำว่า เป็นอันตั้งมั่นดีแล้ว ก็เป็นชื่อสำหรับใช้แทนบทนั้นเหมือนกัน.

คำว่า อันตั้งมั่นดีแล้ว ได้แก่ ตั้งมั่นได้เป็นอย่างดีคือ เรียกว่าชื่อว่าตั้งไว้โดยดี.

ความสำคัญว่าแสงสว่างนั้น โดยเนื้อความก็คือ ความสำคัญชนิดที่ถือเอาไว้แล้วอย่างดีนั่นเอง.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุใดบรรเทาถีนมิทธะได้ด้วยแสงสว่าง สร้างความพอใจให้เกิดขึ้นแล้ว เอาใจใส่ทำกัมมัฏฐานอยู่ ความสำคัญว่าแสงสว่างแม้ในกลางวันของภิกษุนั้น ก็ชื่อว่า เป็นอันถือเอาไว้ดีแล้ว เป็นอันตั้งขึ้นไว้ดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลางคืนหรือกลางวันก็ตาม ภิกษุใช้แสงสว่างใดบรรเทาถีนมิทธะได้แล้วมาตั้งอกตั้งใจทำกัมมัฏฐานอยู่ ความสำคัญที่เกิดขึ้นในแสงสว่างซึ่งใช้เป็นเครื่องบรรเทา


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 168

ถีนมิทธะนั้น ก็ชื่อว่า เป็นอันถือเอาไว้ดีแล้วโดยแท้.

แม้ในอิทธิบาทมีวิริยะเป็นต้น ก็ทำนองนี้แล.

ในสูตรนี้ ทรงแสดงฤทธิ์สำหรับเป็นบาทอภิญญาทั้ง ๖ ประการ.

จบอรรถกถาวิภังคสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุพพสูตร

๒. มหัปผลสูตร

๓. ฉันทสูตร

๔. โมคคัลลานสูตร

๕. พราหมณสูตร

๖. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร

๘. อภิญญาสูตร

๙. เทสนาสูตร

๑๐. วิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.