ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
หนังสือ แนะนำมิลินทปัญหา : ปัญญาพระนาคเสน
พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมพาพันธ์ ๒๕๔๓
ผู้จัดพิมพ์และเรียบเรียง วิชชุ เวชชาชีวะ
จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา พ.ศ. ๒๕๔๓
คำนำ
"มิลินทปัญหา" เป็นคัมภีร์ชั้นหลังจากพระไตรปิฎก (ประมาณปีพุทธศักราช ๕๐๐) รจนาขึ้น เพื่อชี้แจงข้อธรรม และ หลักธรรมต่างๆ ให้ชัดเจน แจ่มแจ้งโดยอาศัยเรื่องราวในอดีตที่พระนาคเสน แก้ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์เป็น "เรื่องของธรรมะ" ที่อธิบายข้อธรรม และ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
แม้จะแต่งขึ้นหลังพุทธกาล แต่ก็เป็นที่ยอมรับและยกย่องกันทั่วไปว่า "มิลินทปัญหา" อธิบายพระธรรมวินัยได้อย่างลึกซึ้ง และ กระจ่างชัดเป็นการวินิจฉัย และ นำเสนอพระธรรมวินัยเพื่อให้เกิด "ความเข้าใจสภาพธรรม" โดยการอุปมา ผู้เรียบเรียงได้อ้างอิงมาจาก หนังสือต่างๆ อาทิ เช่น "มิลินทปัญหา" ฉบับแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๕) หนังสือ "มิลินทปัญหา" ฉบับแปลจากภาษามคธ (จัดอยู่ในหมวดขุททกนิกาย พระไตรปิฎกฉบับของพม่า พ.ศ. ๒๕๓๘) ฯลฯ
นอกจากนี้ พระพุทธโฆษาจารย์ผู้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยในลังกา ราวปีพุทธศักราช ๑๐๐๐ และเป็นผู้รจนาอรรถกถา ตลอดจนคัมภีร์มากมายซึ่งใช้เป็นแนวทางในการอธิบายความ ในพระไตรปิฎก เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็ได้อ้างถึง "มิลินทปัญหา" เป็นหลักในการวินิจฉัยความในอรรถกถาของท่าน หลายแห่ง
"มิลินทปัญหา" เป็นเรื่องราวของการสนทนาระหว่างพระเจ้ามิลินท์ และพระนาคเสนโดยพระเจ้ามิลินท์ เป็นผู้เสนอคำถาม และ พระนาคเสน เป็นผู้ตอบซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ในลักษณะ "การอุปมา".พระเจ้ามิลินท์ หรือ พระเจ้าเมนันเดอร์ (Menander) เป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกแห่งเมือง สาคละ (Sangal or Sangal) ปกครองแคว้นแบกเตรีย (Bactria) ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน ราชวงค์ของพระเจ้ามิลินท์ สืบเชื้อสายมาจากแม่ทัพกรีกที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ให้ดูแลดินแดนซึ่งตกเป็นของพระองค์เมื่อครั้งที่พระองค์ยกทัพมาทำสงครามกับแว่นแคว้นบางส่วนของอินเดียในราว ๒๐๐ ปี
หลังพุทธกาล เล่ากันว่า พระเจ้ามิลินท์ เป็นผู้ที่พอพระทัยในการใฝ่หาความรู้และ สนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งไล่เลียง โต้เถียงปัญหากับนักปราชญ์ของลัทธิต่างๆ ทั่วไป ในยุคนั้น ฝ่ายพระนาคเสน มีการเล่าว่า ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ณ กชังคลคาม ริมเขาหิมพานต์ ตั้งแต่เยาว์วัย ท่านได้เล่าเรียนศิลปวิทยา รวมทั้งคัมภีร์สำคัญๆ ของศาสนาพราหมณ์จนจบต่อจากนั้น จึงบังเกิดความเบื่อหน่าย
อยู่มาวันหนึ่ง พระโรหณะเถระ พระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้เดินทางผ่านมายังบ้านของพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของนาคเสนกุมาร เมื่อได้เห็นพระภิกษุ นุ่งห่มแปลกตาจึงได้ซักถาม สนทนากับท่านพระโรหณะเถระในเรื่องต่างๆ จนบังเกิดความเลื่อมใส และขอบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาท่านได้เล่าเรียนพระไตรปิฎก จนแตกฉานครั้นอายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาผู้ซึ่งชาวบ้านโจษขานกันทั่วไปว่า เป็นผู้รอบรู้ในพระธรรมวินัยและ มีปัญญาอันเฉียบคม
ในระหว่างนั้นพระเจ้ามิลินท์ ได้เที่ยวไปท้าถามปัญหา กับบรรดานักปราชญ์ต่างๆ ครั้งหนึ่ง ได้เสด็จไปทรงซักถามปัญหากับท่านพระอายุปาลเถระซึ่งเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อพระอายุปาลเถระ ถวายวิสัชชนาให้ทรงสิ้นสงสัยไม่ได้
บรรดาอำมาตย์จึงกล่าวถึงพระนาคเสนซึ่งกล่าวขานกันว่า เป็นผู้แตกฉานในพระธรรมวินัย..เมื่อได้ยินชื่อ "พระนาคเสน" พระเจ้ามิลินท์ ก็ให้นึกหวั่นพระราชหฤทัย ด้วยในอดีตชาติ เมื่อครั้งพระกัสสปสัมมสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์ชีพครั้งนั้น พระเจ้ามิลินท์ในชาตินี้ บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาในสำนักของพระภิกษุ ผู้ซึ่งเกิดมาเป็นพระนาคเสน ในชาตินี้..วันหนึ่ง พระภิกษุรูปนั้น เรียกให้สามเณร มาขนหยากใย่ที่ตนกวาดรวมไว้แต่สามเณรแกล้งทำไม่ได้ยิน พระภิกษุจึงหยิบไม้กวาดตีสามเณรสามเณรจึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ด้วยบุญของการขนหยากใย่นี้ชาติต่อไป ขอให้ตนมีปัญญาเฉียบแหลมกว่าคนทั้งปวงฝ่ายพระภิกษุ ล่วงรู้ความปรารถนาของสามเณรจึงตั้งอฐิษฐานว่า ด้วยบุญกุศลของการกวาดหยากใย่นี้ขอให้ชาติต่อไป มีปฏิภาณว่องไว สามารถโต้ตอบปัญหาของสามเณรได้..แม้ความสืบเนื่องจากอดีตชาติ จะทำให้พระเจ้ามิลินท์หวั่นพระราชราชหฤทัยแต่ด้วยประสงค์จะไต่ถามข้อธรรม จึงเสด็จไปยังที่อยู่ของพระนาคเสน พร้อมด้วยปวงอำมาตย์ และ ฝูงชน ฯลฯ
ข้าพเจ้าขออนุญาต คัดลอกข้อความบางตอนมาเพื่อประกอบการพิจารณา และทำความเข้าใจ "สภาพธรรมตามความเป็นจริง"เพื่อเป็นการเผยแพร่พระพุทธศาสนา อีกทางหนึ่ง
ขอขอบคุณและอนุโมทนาคุณวรรณี แซ่โง้ว ที่แนะนำให้อ่านหนังสือเล่มนี้
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลยิ่งค่ะ
กราบอนุโมทนาในกุศลทุกประการค่ะ