[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 165
ทุติยปัณณาสก์
โยธาชีววรรคที่ ๓
๒. ทุติยเจโตวิมุตติสูตร
ว่าด้วยธรรมมีวิมุตติเป็นผล
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 165
๒. ทุติยเจโตวิมุตติสูตร
ว่าด้วยธรรมมีวิมุตติเป็นผล
[๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 166
ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ๑ ความสำคัญว่าเป็นทุกข์ในสิ่งไม่เที่ยง ๑ ความสำคัญว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์ ๑ ความสำคัญในการละ ๑ ความสำคัญในความคลายกำหนัด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เมื่อใดภิกษุ เป็นผู้มีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้นภิกษุ นี้เรียกว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ ดังนี้บ้างว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ ดังนี้ บ้างว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ ดังนี้ บ้างว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ ดังนี้ บ้างว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ อย่างนี้ แล
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละชาติสงสาร ที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ อย่างนี้แล. ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ อย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 167
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอดกลอนออกได้ อย่างนี้แล.
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ ด้วยวัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีก ต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ อย่างนี้แล.
จบทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ ๒
อรรถกถาทุติยเจโตวิมุตติสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนิจฺจสฺฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง โดยอาการคือมีแล้ว ก็ไม่มี. บทว่า อนิจฺเจ ทุกฺขสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยอาการคือบีบคั้น. บทว่า ทุกฺเข อนตฺตสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็เป็นอนัตตา โดยอาการคือ ไม่อยู่ในอำนาจ. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง นั่นแล แต่ในพระสูตรแม้ทั้งสองนี้ ก็ตรัสเรียกชื่อว่า วิปัสสนาผล แล.
จบอรรถกถา ทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ ๒