ผมเคยอ่าน พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 274
แล้วเข้าใจ (เอาเอง) และพอจะสรุป (เอาเอง) ได้ว่า กรรมที่ถึงความหวั่นไหวในกายทวาร
แต่ไม่ถึงกรรมบถมีกรรมที่ถึงความหวั่นไหวในวจีทวาร แต่ไม่ถึงกรรมบถมี และกรรมที่
ถึงความปรากฎเป็นไปในมโนทวาร แต่ไม่ถึงกรรมบถก็มีอกุศลบางอย่างถึงความหวั่นไหว
ทางกายทวารแต่ ไม่เป็นกายกรรม เพราะไม่ถึงกรรมบท (ไม่ครบองค์) แต่เป็นกายทุจริต
อย่างเดียว
อกุศลบางอย่างถึงความหวั่นไหวทางวจีทวารแต่ ไม่เป็นวจีกรรม เพราะไม่ถึงกรรม-
บท (ไม่ครบองค์) แต่เป็นวจีทุจริตอย่างเดียวส่วนในมโนทวาร เมื่อวธกเจตนาเพียงเกิด
ขึ้นเท่านั้น ก็ย่อมเป็นอันทำลายกรรมบถทีเดียว
ขอเรียนถามในเบื้องต้นก่อนสองข้อ ครับ
ความเข้าใจข้างต้น ถูกต้องหรือไม่อย่างไรบ้างครับ
ขอทราบความหมายของคำว่า วธกเจตนา
ขอบคุณครับ
ขออนุโมทนาครับ
โดยปกติแล้ว มโนกรรม มีองค์ แค่ ๒ หรือคะ.?และ ปรภณฺฑํ ๑ อตฺตโน ปริณามญฺจ ๑ แปลว่าอะไรคะ.?
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ตามปกติมโนกรรมมีองค์ ๒ เช่น ข้ออภิชฌา
ปรภณฺฑํ สมบัติของผู้อื่น ๑
อตฺตโน ปริณามญฺจ น้อมมาเพื่อตน ๑