[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 408
ติกนิบาต
วรรคที่ ๒
๖. สุจริตสูตร
ว่าด้วยสุจริต ๓ อย่าง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 408
๖. สุจริตสูตร
ว่าด้วยสุจริต ๓ อย่าง
[๒๔๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุจริต ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุจริต ๓ อย่างนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุคคลผู้มีปัญญา ละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และไม่กระทำอกุศลกรรมอย่างอื่น อันประกอบด้วยโทษ กระ ทำกุศลเป็นอันมาก เมื่อตายไป ย่อมเข้า ถึงสวรรค์.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบสุจริตสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 409
อรรถกถาสุจริตสูตร
ในสุจริตสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ความประพฤติดี หรือความประพฤติงาม ชื่อว่าสุจริต. ความประพฤติดี ด้วยกาย หรือความประพฤติดีที่เป็นไปแล้วทางกาย ชื่อว่า กายสุจริต. แม้ใน บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ก็แม้ในพระสูตรนี้ มีกล่าวถึง ๒ อย่างเหมือนกัน คือด้วยสามารถ แห่งบัญญัติ และด้วยสามารถแห่งกรรมบถ. การไม่ละเมิดสิกขาบทที่ทรง บัญญัติไว้แล้ว ทางกายทวาร ชื่อว่า เป็นกายสุจริต การไม่ละเมิดสิกขาบทที่ ทรงบัญญัติไว้แล้ว ทางวจีทวาร ชื่อว่าเป็น วจีสุจริต การละละเมิดสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้แล้วทั้ง ๒ ทวาร ชื่อว่า เป็นมโนสุจริต เพราะฉะนั้น บรรดา กถาทั้งสองอย่างนั้น นี้ เป็นบัญญัติกถา ส่วน เจตนาบ้าง วิรัติบ้าง ๓ อย่าง ที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่ากายสุจริต. เจตนา บ้าง วิรัติบ้าง ๔ อย่างที่เกิดขึ้นแต่ผู้งดเว้นไปจากมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่าเป็น วจีสุจริต. ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา ๓ อย่าง คือ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิเป็นมโนสุจริต. นี้แลคือการกล่าวตามกรรมบถ. คำที่เหลือมีนัยดัง กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสุจริตสูตรที่ ๖