เมื่อจิตสงบ จะทำให้หมดกิเลสได้ไหมครับ
ผู้ที่ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้รู้แจ้งความจริงทุกอย่าง ผู้ศึกษาย่อม ค่อยๆ เข้าใจความจริงตามที่ทรงแสดง ขณะที่ฟังพระธรรมโดยเคารพ และเข้าใจความจริง ขณะนั้นจิตเป็นกุศล ขณะจิตที่เป็นกุศล ย่อมสงบจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อปัญญาสะสมมีกำลังเพิ่มขึ้นจนถึงวิปัสสนาญาณตามลำดับ ปัญญาย่อมละกิเลสได้ด้วย ปัญญาขั้นโลกุตรปัญญา สรุปคือ กิเลสจะหมดได้ด้วยปัญญา ขณะที่ปัญญาเกิดขึ้น จิตย่อมสงบจากอกุศล ธรรมทั้งหลาย แต่ถ้าจิตสงบเป็นเพียงสมาธิขั้นฌานต่างๆ ไม่สามารถดับกิเลสได้
ขอเชิญอ่านเพิ่มเติมที่
การละคลายกิเลส
การละคลายกิเลส ต้องเป็นลำดับขั้น
ถ้าแยกความต่างกันของ กุศลจิต และอกุศลจิตในชีวิตประจำวันไม่ได้ ก็จะเข้าใจ ผิดว่า สมาธิ เป็นความสงบ และคิดว่า ขณะที่นั่งสมาธิให้จิตจดจ่ออยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขณะนั้นเป็นกุศล
ขณะนี้ ถ้าจิตไม่เป็นกุศลขั้น ทาน ศีล ภาวนา (สมถะ-วิปัสสนา) จิตต้องเป็น อกุศล ดังนั้น ในชีวิตประจำวันของปุถุชนทุกคน จิตจะเป็นอกุศลมากมายนับไม่ถ้วน จะมีกุศลเกิดบ้าง ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เทียบไม่ได้เลยกับอกุศล กุศลจิตเกิดเพียงไม่กี่ขณะจิต แต่อกุศลจิตเกิดติดต่อกัน แสนล้านโกฏิขณะ ... วิปัสสนาปัญญา (สติปัฏฐาน-อริยมรรค) เท่านั้นที่ละกิเลสได้ สมาธิ และความสงบไม่ สามารถละกิเลสได้
ผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน จึงอบรมเจริญกุศลทุกประการ โดยไม่ทอดทิ้งกุศล ขั้นทาน ศีล และสมถะในชีวิตประจำวัน
เมื่อจิตสงบเป็นกุศล (สงบจากกิเลส) ความสงบและกุศลก็มีหลายระดับ ต้องเป็นสติปัฏฐานเท่านั้นจึงจะดับกิเลสได้ ขอยกพระสูตรจากพระไตรปิกฏ ที่ว่าเมื่อกายและจิตสงบย่อมได้ปัญญา (ดับกิเลสได้)
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 299
ข้อความบางตอนจาก
ปัญญาสูตร
เธอฟังธรรมนี้แล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือความ สงบกายและความสงบจิต ให้ถึงพร้อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
เป็นแค่เสียง..
ถ้าหากว่าพิจารณา ธรรมะที่เกิดขึ้น ทางหู คือการได้ยินเสียง เช่น เสียงเพลง เสียงนกร้อง หมาเห่า เสียงคนด่ากัน หรือเสียงพระเทศน์ และมีความเข้าใจว่าเสียงที่ได้ยินทั้งหมด มีความเสมอกันคือ เสียงที่ได้ยินทั้งหมดนั้นเป็นแค่รูป ที่มากระทบทางหู เท่านั้น
ถูกต้องไหมคะ?
ขอบคุณค่ะ
สมมติบัญญัติ
หนังสือธรรมะ ซีดีธรรมะ เป็นเพียงวัตถุ เป็นสมมติบัญญัติ ไม่ควรยึดถือใช่ไหมคะ?
สมมติบัญญัติ คือ สิ่งที่บัญญัติจากสิ่งที่มีจริง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ แต่สิ่งที่มีจริงๆ คือ สี กลิ่น รส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น หนังสือ ธรรมะ ซีดีธรรมะ เป็นวัตถุที่จารึก บรรจุ คำพูดที่กล่าวถึงสิ่งที่มีจริง คำว่า หนังสือ เป็นสมมติบัญญัติ แต่ตัวหนังสือประกอบด้วยรูปหลายรูป
อนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ