[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 287
๓. โภชาชานียชาดก
ว่าด้วยม้าสินธพอาชาไนย
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 287
๓. โภชาชานียชาดก
ว่าด้วยม้าสินธพอาชาไนย
[๒๓] ดูก่อนนายสารถี ม้าสินธพอาชาไนยถูก ลูกศรแทงแล้ว แม้นอนตะแคงอย่างเดียวก็ยัง ประเสริฐกว่าม้ากระจอก ท่านจงประกอบฉันออกรบอีกเถิด.
จบโภชาชานียชาดกที่ ๓
๓. อรรถกถาโภชาชานียชาดก
พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ละ ความเพียรรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อปิ ปสฺเสน เสมาโน ดังนี้.
ความพิศดารว่า สมัยนั้น พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตทั้งหลายแม้ในกาลก่อน ได้กระ ทำความเพียรแม้ในที่อัน มิใช่ที่อยู่ แม้ได้รับบาดเจ็บก็ไม่ละความเพียร ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีต นิทานมาว่า
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลม้าสินธพชื่อ โภชาชานียะ สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ได้เป็นม้ามงคลของพระเจ้าพาราณสี พระโพธิสัตว์นั้นบริโภคโภชนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 288
ข้าวสาลีมีกลิ่นหอมอันเก็บไว้ ๓ ปี ถึงพร้อมด้วยรสเลิศต่างๆ ในถาดทองอันมี ราคาแสนหนึ่ง ยืนอยู่ในภาคพื้นอันไล้ทาด้วยของหอมมีกำเนิด ๔ ประการเท่านั้น สถานที่ยืนนั้นวงด้วยม่านผ้ากัมพลแดง เบื้องบนดาดเพดานผ้าอันวิจิตรด้วยดาวทอง ห้อยพวงของหอมและพวงดอกไม้ ตามประทีปน้ำหอม ก็ขึ้นชื่อว่าพระราชาทั้งหลายผู้ไม่ปรารถนาราชสมบัติในนครพาราณสี ย่อมไม่มี คราวหนึ่ง พระราชา ๗ พระองค์พากันล้อมนครพาราณสี ทรงส่งหนังสือแก่ พระเจ้าพาราณสีว่า จะให้ราชสมบัติแก่เราทั้งหลายหรือจะรบ. พระเจ้าพาราณสี ให้ประชุมอำมาตย์ทั้งหลายแล้วตรัสบอกข่าวนั้น แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อ ทั้งหลาย บัดนี้ พวกเราจะกระทำอย่างไร? อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เบื้องต้นพระองค์ยังไม่ต้องออกรบก่อน พระองค์จงส่งทหารม้าชื่อ โน้นให้กระทำการรบ เมื่อทหารม้านั้นไม่สามารถข้าพระบาททั้งหลายจักรู้ในภายหลัง. พระราชารับสั่งให้เรียกทหารม้านั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เธอ จักอาจการทำการรบกับพระราชา ๗ องค์หรือไม่. นายทหารม้ากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าข้าพระบาทได้ม้าสินธพชื่อโภชาชานียะไซร้ พระราชา ๗ พระองค์จงยกไว้ ข้าพระบาทจักอาจรบกับพระราชาทั่วทั้งชมพูทวีป. พระราชา ตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ม้าสินธพโภชาชานียะ หรือม้าอื่นก็ช่างเถิด. นายทหารม้านั้นรับพระดำรัสแล้ว ถวายบังคมพระราชาลงจากปราสาท ให้น้ำม้าสินธพโภชาชานียะมา แม้คนก็ผูกสอดเกราะทุกอย่าง เหน็บพระขรรค์ ขึ้นหลังม้าสินธพ ตัวประเสริฐ ออกจากพระนครไปประดุจฟ้าแลบ ทำลายกองพลที่ ๑ จับเป็นพระราชาได้องค์หนึ่ง พามามอบให้แก่พลในนครแล้วกลับไปอีก ทำลาย กองพลที่ ๒ กองพลที่ ๓ ก็เหมือนกัน จับเป็นพระราชาได้ ๕ องค์ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ แล้วทำลายกองพลที่ ๖ ในคราวจับพระราชาองค์ที่ ๖ ม้า สินธพโภชาชานียะได้รับบาดเจ็บ เลือดไหล เวทนากล้าเป็นไป นายทหารม้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 289
นั้นรู้ว่าม้าสินธพนั้นได้รับบาดเจ็บ จึงให้ม้าสินธพโภชาชานียะนอนที่ประตูพระราชวัง เริ่มทำเกราะให้หลวมเพื่อจะผูกเกราะม้าตัวอื่น พระโพธิสัตว์ทั้งที่นอนทางข้างที่ที่ความผาสุกมาก ลืมตาขึ้นเห็นนายทหารม้า (ทำอย่างนั้น) จึง คิดว่า นายทหารมานี้จะหุ้มเกราะม้าตัวอื่น และม้าตัวนี้จักไม่สามารถทำลาย กองพลที่ ๗ จับพระราชาองค์ที่ ๗ ได้ และกรรมที่เราทำไว้แล้วจักพินาศหมด แม้นายทหารม้าซึ่งไม่มีผู้เปรียบก็จักพินาศ แม้พระราชาก็จักตกอยู่ในเงื้อมมือของพระราชาอื่น เว้นเราเสียม้าอื่นชื่อว่าสามารถเพื่อทำลายกองพลที่ ๗ แล้ว จับพระราชาองค์ที่ ๗ ได้ย่อมไม่มี ทั้งๆ ที่นอนอยู่นั่นแล ให้เรียกนายทหารม้ามาแล้วกล่าวว่า ดูก่อนนายทหารม้าผู้สหาย เว้นเราเสีย ชื่อว่าม้าอื่นผู้สามารถ เพื่อทำลายกองพลที่ ๗ แล้วจับพระราชาองค์ที่ ๗ ได้ย่อมไม่มี เราจักไม่ทำกรรมที่เรากระทำแล้ว ให้เสียหาย ท่านจงให้เราแลลุกขึ้นแล้วผูกเกราะเถิดครั้น กล่าวแล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า
ม้าสินธพอาชาไนยถูกลูกศรแทงแล้ว แม้นอนตะแคงอยู่ข้างเดียว ก็ยังประเสริฐกว่าม้ากระจอก ดูก่อนนายสารถี ท่านจงประกอบฉันออกรบเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ ปสฺเสน เสมาโน ได้แก่ แม้นอนโดยข้างๆ เดียว. บทว่า สลฺเลภิ สลฺลลีกโต ความว่า เป็นผู้แม้ถูก ศรทั้งหลายแล้ว. บทว่า เสยฺโยว วฬวา โภชฺโฌ ความว่า ม้ากระจอกซึ่งไม่ได้เกิดในตระกูลม้าม้าสินธพ ชื่อว่า วฬวะ ม้าโภชาชานียสินธพ ชื่อว่า โภชฌะ ดังนั้น ม้าโภชาชานียสินธพนั่นแหละ แม้ถูกลูกศรแทงแล้ว ก็ยังประเสริฐคือเลิศ อุดม กว่าม้ากระจอกนั่น. ด้วยบทว่า ยุญฺช มญฺเว สารถี นี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เพราะเหตุที่เราแล แม้จะไปด้วยอาการอย่างนี้ก็ยังประเสริฐกว่า ฉะนั้น ท่านจงประกอบเราเถิด อย่าประกอบม้าตัวอื่นเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 290
นายทหารม้าพยุงพระโพธิสัตว์ให้ลุกขึ้นพันแผลแล้วผูกสอดเรียบร้อย นั่งบนหลังของพระโพธิสัตว์นั้น ทำลายกองพลที่ ๗ จับเป็นพระราชาองค์ที่ ๗ แล้วมอบให้แก่พลของพระราชา คนทั้งหลายนำแม้พระโพธิสัตว์มายังประตูพระราชวัง พระราชาเสด็จออกเพื่อทอดพระเนตรพระโพธิสัตว์นั้น พระมหาสัตว์ทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าทรงฆ่าพระราชาทั้ง ๗ เลย จงให้กระทำสบถแล้วปล่อยไป พระองค์จงประทานยศที่จะพึงประทานแก่ข้าพระบาทและนายทหารม้า ให้เฉพาะแก่นายทหารม้าเท่านั้น การจับพระราชา ๗ องค์ได้แล้ว ทำทหารผู้กระทำการรบ ให้พินาศ ย่อมไม่ควร แม้พระองค์ก็จง ทรงบำเพ็ญทาน รักษาศีล ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม เมื่อพระโพธิสัตว์ให้โอวาทแก่พระราชาอย่างนี้แล้ว คนทั้งหลายจึงถอดเกราะของพระโพธิสัตว์ออก เมื่อเกราะสักว่าถูกถอดออกเท่านั้น พระโพธิสัตว์นั้นดับไปแล้ว. พระราชาทรง ให้ทำฌาปนกิจสรีระของพระโพธิสัตว์นั้น ได้ประทานยศใหญ่แก่นายทหารม้า ทรงให้พระราชาทั้ง ๗ พระองค์ ทรงกระทำสบถเพื่อไม่ประทุษร้ายพระองค์อีก แล้วทรงส่งไปยังที่ของตน ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ ในเวลาสุดสิ้นพระชนมายุ ได้เสด็จไปตามยถากรรม.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อนได้กระทำความเพียรแม้ในที่อันมิใช่บ่อเกิดอย่างนี้ แม้ได้รับบาดเจ็บเห็นปานนี้ ก็ไม่ละความเพียร ส่วนเธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ เพราะเหตุไร จึงละความเพียรเสีย แล้วทรงประกาศสัจจะทั้ง ๔ ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียรตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล ฝ่ายพระศาสดาครั้น ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระ ราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ นายทหารม้าในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนโภชาชานิยสินธพในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.
จบโภชาชานียชาดกที่ ๓