ไม่ทราบว่าศีลข้อนี้มีความเข้มงวดขนาดไหนครับ ดูเจตนาหรือดูการกระทำ เนื่องจากร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน ผลของ Alcohol ที่มีต่อร่างกายและสภาวะจิตของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนกินเบียร์แก้วเดียวเมาเหมือนคนกินเป็นขวด หากวัตถุประสงค์ของศีลข้อ 5 นั้นเพื่อไม่ให้ขาดสติ หากผมดื่มไป 2-3 แก้ว แต่ยังครองสติอยู่ได้ก็น่าจะ OKแบบกฏหมายจราจร ไม่ได้ห้ามดื่ม แต่กำหนดระดับ Alcohol ไว้ไม่ให้เกินเท่านั้นเท่านี้การถือศีลข้อ 5 จะดูที่เจตนา การศึกษา วุฒิภาวะ สถานะภาพทางสังคม และความสามารถในการครองสติของแต่ละคนมากกว่า ไม่ใช่ว่าแม้เหล้าเข้าปากหยดเดียวก็ผิดศีลแล้ว แบบนี้ก็กินยาแก้ไอ หรือยาบางชนิดที่มี alcohol เป็นส่วนผสมไม่ได้เลย ผิดศีลข้อนี้หมดหรือครับ
ตามหลักพระธรรมวินัยแสดงว่า ถ้ามีเจตนาดื่มของมึนเมาแม้เพียงเล็กน้อย คือหยดเดียวก็ชื่อว่า ผิดศีล คือเรื่องปริมาณ ไม่สำคัญ คือน้อยหรือมากก็ผิดทั้งนั้นส่วนเรื่องของโทษก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งว่าเสพมากมีโทษมาก เป็นต้น แต่สุราที่เขาเจือในอาหาร เจือลงในยารักษาโรค ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ผิดศีลข้อห้าเลยครับ
ลองพิจารณาความเห็นจากกระทู้นี้เพิ่มเติมนะคะ
การทานยาธาตุน้ำแดงหรือยาแก้ไอ และ การขโมยของสงฆ์
เจตนาเป็นสิ่งสำคัญว่าบาปหรือไม่บาป หากเจตนาที่จะดื่มของมึนเมา เจตนาทุจริตไฟจะมากจะน้อย ก็มีคุณสมบัติคือร้อนฉันใด เจตนาที่เป็นบาปทุจริต เจตนาดื่ม แม้จะน้อยหรือมาก จะเมาหรือไม่เมาเจตนาที่คิดจะดื่มและดื่มก็มีแล้วฉันนั้น บาปคือบาป สำคัญที่เจตนาแม้แต่ยารู้ว่ามีแอลกอฮอลแต่เจตนาเพื่อจะทานยารักษา กับเจตนาเพื่อจะดื่มแอลกอฮอล์ในยา เจตนาจึงต่างกัน
สาธุ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ในมุมมองของผม ศาสนาพุทธ เน้นเรื่องการมีสติ ศีลข้อ 5 ที่ว่าห้ามดื่มสุรา ไม่อยู่ที่เจตนาหรือไม่เจตนา เพราะศีลข้อนี้เขียนขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้คนขาดสติ จากผลของ alcohol ในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งแต่ละคนก็มีปฏิกิริยาต่อ alcohol ไม่เหมือนกันบางคนดื่มเบียร์แก้วเดียวเมาเป็นขวด บางคนดื่มไปขวดหนึ่งยังเฉยๆ ผมกิน steak ไม่มีRed Wine ก็เหมือนกินก๋วยเตี๋ยวไม่ใส่เครื่องปรุง มันไม่อร่อย บางคนไม่ได้ดื่มสุราเพราะต้องการเมา แต่เพื่อรสชาติและช่วยย่อย ถ้าคนที่ดื่มในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับร่างกายเขา แล้วไม่ขาดสติ ยังครองสติอยู่ได้ ยังกลับบ้านไปสวดมนต์ไหว้พระได้ ผมว่าไม่ผิดศีลครับ คนเราขาดสติและทำอกุศลกรรมได้โดยที่ไม่ต้องดื่มสุราครับ
เรียน ความเห็นที่ 6 ครับ
ความเห็นของท่านไม่ตรงกับพระธรรมคำสอนครับ เพราะตามหลักคำสอนคือถ้ามีเจตนาดื่มเพียงหยดก็ผิดศีลครับโปรดพิจารณาตามหลักฐานในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ไม่ควรคิดเอาเอง
พระพุทธศาสนา เป็น ศาสนาที่สอนเรื่อง "ความจริง" เพราะความจริง ก็คือ ความจริงไม่ว่าใครจะรู้หรือไม่ ความจริงก็ต้องเป็นความจริง ตลอดกาล
พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนให้ใครเชื่อตามโดยไม่เข้าใจ "เหตุ และ ผล" ไม่ได้สอนให้เชื่อตาม โดยไม่พิจารณาตามอย่างละเอียดรอบคอบจนเป็นปัญญา (ความเข้าใจ) ของตนเอง ที่สามารถรู้ตามได้ด้วยปัญญาของตนเอง พระองค์ ไม่ได้บังคับใคร ให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ โดยไม่ เข้าใจ "เหตุ และ ผล" เพราะเป็นไปไม่ได้
แม้พระองค์เอง ก็ทรง "เคารพธรรม" ที่พระองค์ตรัสรู้เพราะ "ธรรม" คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง และต้องเป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย ไม่มีใคร อยู่เหนือ "กฏแห่งธรรม" และถ้าหาก พระพุทธเจ้า สามารถบันดาลให้ทุกคนเป็นคนดี มีคุณธรรมสูงสุด คือ พ้นทุกข์ บรรลุเป็นพระอรหันต์กันได้ทุกคนทุกคนที่ได้ฟังพระธรรม ก็คงเป็นพระอรหันต์ไปหมดแล้วซึ่งเป็นไปไม่ได้
พระธรรมยาก ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าคงไม่ต้องสั่งสมบารมี ถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์แต่ถึงจะยาก เพราะหลังจากตรัสรู้แล้ว พระองค์ไม่ทรงน้อมใจที่จะแสดงธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ แต่ทรงทราบ ว่า มีผู้ที่สามารถเข้าใจได้พระองค์ จึงทรงเทศนาสั่งสอนสาวกถึง ๔๕ พรรษา ด้วยพระมหากรุณาคุณตลอดพระชนม์ชีพ หลังจากทีทรงตรัสรู้
แม้ในครั้งพุทธกาล (กาลสมบัติ) เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่และ ทรงเทศนาสั่งสอนสาวก โดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะผู้ที่บรรลุธรรม แม้มากกว่าสมัยนี้ (กาลวิบัติ) แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน ที่ได้ยินได้ฟังพระธรรม จะบรรลุธรรม ได้ทั้งหมดที่บรรลุก็มี ที่ไม่บรรลุก็มี ที่ไม่เห็นด้วยก็มี ที่ริษยาก็มี ฯลฯผู้บรรลุธรรมในสมัยนั้น แม้มากกว่าสมัยนี้แต่ถ้าเทียบทั้งชมพูทวีปก็ไม่มากเลย
พระพุทธเจ้า ทรงสอนให้เข้าใจ สภาพธรรมตามความเป็นจริงทรงสอนให้เข้าใจธรรม ตามความเป็นจริง ว่า ธรรมนี้เป็นคุณ ธรรมนี้เป็นโทษโดยความเป็นเหตุ เป็นปัจจัย โดยทรงแสดง เหตุ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดผลและทรงแสดงผล ว่า มาจากเหตุปัจจัยใด (ซึ่งความจริงบางอย่างก็เกินวิสัยที่บุคคลอื่นจะรู้ได้เช่นพระองค์)
ส่วนสาวกไม่ว่าจะสมัยไหน จะประพฤติปฏิบัติตามหรือไม่ นั้นขึ้นอยู่กับ "ความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง" เช่น เรื่องของ "ศีล"ทรงแสดงให้เข้าใจ "ธรรมที่เป็นคุณ" และ "ธรรมที่เป็นโทษ" ตามความเป็นจริงเพื่อให้สาวก พิจารณาตาม เท่าที่กำลังปัญญาของแต่ละคนจะเข้าใจได้และ ประพฤติปฏิบัติตาม ตามกำลัง ตามการสะสม ของแต่ละบุคคล
สิ่งที่ยาก ก็ต้องยากจะทำให้ง่ายได้อย่างไร แต่ไม่ได้หมายความว่า จะเข้าใจไม่ได้ถ้าเพียงแต่จะฟัง พิจารณา อย่างละเอียดรอบคอบและ ไม่ดูหมิ่นปัญญาของตนเอง และ บุคคลอื่นเพราะไม่มีทาง ที่ใครจะรู้ ว่า ใครสะสมอะไรมาบ้างในสังสารวัฏฏ์แม้แต่ตัวท่านเอง ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินอะไร ด้วยความคิดของตัวเองก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องถูกต้องเสมอไป
ถ้าฟังแล้ว ไม่เชื่อ ไม่เห็นด้วยก็ไม่มีใครไปห้าม หรือ ไปบังคับท่านได้.!เพราะเป็นไปไม่ได้
สิ่งที่ป็นความจริง ทนต่อการพิสูจน์เสมอ ถ้าพิสูจน์ยังไม่ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่จริง พระพุทธศาสนาเป็น "ศาสนาแห่งความรู้" .. "ความรู้" บนพื้นฐานของความเป็น เหตุ ผล ตามความเป็นจริงไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้เชื่อตามๆ กันไป โดย "ความไม่รู้"
สิ่งที่ยาก ลึกซึ้ง แต่เป็นความจริงผู้ที่เห็นประโยชน์ ย่อม "เพียร" ที่จะ "เข้าใจ" ไม่ใช่พยายามไปเปลี่ยน ให้ง่ายที่จะเข้าใจเพราะนั่น ไม่ใช่ "หนทาง"
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ 774
ติสสสูตร
จริงอย่างนั้น ติสสะ เธอว่าเขาข้างเดียว แต่เธอไม่อดทนต่อถ้อยคำ ข้อที่เธอว่าเขาข้างเดียว ไม่อดทนต่อถ้อยคำนั้น ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตร ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แต่ข้อที่เธอว่าเขาด้วย อดทนต่อถ้อยคำได้ด้วย นั่นแล สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตร ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
วันใดที่ความทุกข์เกิด แล้วหาคำตอบไม่เจอ เปิดอ่านหนังสือธรรมมะ หรือฟังธรรม วันนั้นจะเข้าใจชีวิตนี้ เกิดมาทำไม
ผมเพียงแต่อยากเห็นคำตอบจากทุกท่าน มีผลกระทบต่อจิตของผมอย่างไรเท่านั้นครับไม่ได้สนใจประเด็นที่ถามหรือคำตอบจริงๆ หรอกครับ กำลังศึกษาเรื่องจิตและกิเลสอยู่ครับ ว่าจิตถูกกระทบอย่างไร มีอาการอย่างไร เพื่อดูความเป็นไปของธรรม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขอบคุณสำหรับข้อมูลและ feedback จากทุกท่านครับ
นายแพทย์ท่านหนึ่งท่านเคยเล่าถึงประสบการณ์ในการรักษาคนไข้ของท่านให้ข้าพเจ้าฟัง ว่า บางครั้ง หากท่านทราบ ว่า คนไข้ของท่านไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการป่วย ที่ถูกต้อง ละเอียด และครบถ้วน บางครั้ง หมายถึง คนไข้ไม่พูดความจริงตรงๆ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ท่านจึงคิดว่า การซักถามอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลที่จริงเพื่อทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรค จะได้ให้ยารักษาได้ถูกกับโรคเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก และท่านยังบอกอีกว่า คนไข้บางคน ที่รู้สึกได้ ว่าตัวเองป่วยและต้องการรักษาจริงๆ ก็ยังพอที่จะมีโอกาสบรรเทาอาการป่วยนั้นได้ถ้า เปิดใจ และ ยอมรับประทานยาอย่างมีวินัย และอดทน
แม้ต้องใช้เวลา และ ไม่คาดหวังมากจนเกินไปว่าต้องหายไวไวหรือ "ต้องเหมือนเดิม" (เหมือนคนที่ไม่ป่วย) แต่ยอมรับความจริง ว่า ได้แค่ไหนก็แค่นั้น....อาการอาจจะดีขึ้น หรือแม้อาการจะไม่ดีขึ้น แต่ก็ไม่ทรุดมากจนเกินไปบางคนก็หาย บางคนก็ไม่หายแต่อย่างน้อย...ไม่ทรมานใจจนเกินไป.เพราะเข้าใจจริงๆ ว่า "ไม่มีทางที่จะเหมือนเดิม เหมือนตอนที่ยังไม่ป่วย"
และสามารถยอมรับความจริงนั้นได้ ด้วย "ความเข้าใจ" แต่ก็มีบางครั้ง แม้รู้ว่าป่วย ยอมรับการรักษา ยอมรับประทานยา แล้วแต่ขาดความอดทน และอยากหายไวไวยิ่งพยายามจะหายมากเท่าไร ก็ยิ่งจะทรมานใจมากเท่านั้น.!และอาการจะหนักขึ้นด้วย แต่ คนป่วย "ที่เชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจ" ว่าตัวเองไม่ป่วยโอกาสที่จะรักษา หรือ บรรเทาอาการของโรคยากมากที่จะหายจากโรคได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.
วิบาก แห่งการดื่มสุราและเมรัย อย่างเบาที่สุด ย่อมยัง ความเป็นบ้า ให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.ขออนุโมทนาค่ะ
ท่านวิทยากรได้ตอบตรงตามพระธรรมวินัยเลยนะคะ ซึ่งก็น่าอนุโมทนาท่าน ส่วนประเด็นที่ว่า จะประพฤติปฎิบัติตามได้บ้างไม่ได้บ้าง มากบ้างน้อยบ้างนั้น ก็ขึ้นอยู่กับอัธยาศัย วินัย และการเห็นประโยชน์ของศีล ในแต่ละบุคคลค่ะ
ไม่ว่าศีลข้อใด ประการแรกสำคัญที่เจตนา มีเจตนาที่เป็นอกุศลเป็นทุจริตหรือไม่ เมื่อมีเจตนาแล้วก็ค่อยมาพิจารณาว่าครบองค์กรรมบถแต่ละข้อหรือไม่ ซึ่งศีลแต่ละข้อก็จะมีองค์กรรมบถแตกต่างกันไป แต่สำคัญที่เจตนาเป็นอันดับแรก ดังนั้นจึงจะขอเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับศีล ข้อ ๕ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับสหายธรรม ทั้งหลาย ศีลข้อ ๕ ตามที่ได้กล่าวมาคือจะต้องพิจารณาเจตนาเป็นสำคัญ มีเจตนาจะ ดื่มสุราหรือไม่ หากมีนั่นเป็นเจตนาที่เป็นอกุศล ทุจริต ส่วนจะดื่มมากหรือน้อยจะเมา หรือไม่เมานั้นเป็นคนละประเด็น ประเด็นคือล่วงศีลอย่างไร ล่วงศีลเพราะมีจิตคิดจะดื่ม นั่นคือมีเจตนาที่จะดื่ม มีความพยายามจะดื่ม และดื่มจนล่วงลำคอ เป็นอันล่วงศีลข้อ ๕ ส่วนจะเมาไม่เมา ไม่ใช่ประเด็นเพราะมีเจตนาที่เป็นทุจริตที่จะดื่มสุราแล้วนั่นเอง ส่วน ถ้าดื่มมากก็โทษมากคือผลของกรรมที่เป็นอกุศลก็มาก ดื่มน้อยก็โทษน้อย ดังข้อความ ในพระไตรปิฎกเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 452
องค์กรรมบถของศีลข้อ ๕
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีองก์ประกอบ ๔ อย่างคือ มชฺชภาโว (ความเป็นของเมา) ๑ ปาตุกมฺยตาจิตฺต (จิตคิดจะดื่ม) ๑ ตชฺโชวายาโม (ความพยายามอันเกิดแต่จิตนั้น) ๑ อชฺโฌหรณ (กลืนให้ล่วงลงในลำคอ) ๑
ก็ภาวะที่สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานนั้น มีโทษโดยส่วนเดียวเพราะเขาดื่มด้วยจิตเป็นอกุศลอย่างเดียว
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 452
การดื่มน้ำเมาเพียงเล็กน้อยก็มีโทษน้อย การดื่มน้ำเมาเพียงครั้งอาฬหกะ มากกว่าน้ำเมาเล็กน้อยนั้น มีโทษมาก. เมื่อดื่มน้ำเมามากแล้วยังสามารถให้กายเคลื่อนไหวไปทำกรรมมีการปล้นชาวบ้านเป็นต้น มีโทษมากทีเดียว
เจ้าของกระทู้ถามไปถามมาก็เพื่อจะทดสอบกิเลสของตัวเอง แต่ที่แน่ๆ กระทู้นี้และกระทู้ การใช้ภาษา สองกระทู้รวมกัน มีผู้เข้าเกือบ ๔๕๐ ครั้ง มากกว่ากระทู้อืนหลายเท่าน่าจะตั้งให้เป็นแชมป์ Twitter ที่กำลังฮิตอยู่ขณะนี้ เราผู้ศึกษาก็หาหัวข้อการสนทนาอยู่แล้วก็ไม่ว่ากัน แต่ก็พอจะรู้จักการกินที่มีรสชาติคือ ตัดสเต็กใส่ปาก ตามด้วยเหล้าองุ่น แล้วเคี้ยวๆ ผสมกันในปาก ให้จิตลิ้มรส แล้วก็
บอกว่าอร่อยดี ก็พอจะรู้ว่าตามอำนาจของโลภะ เป็นอกุศล วันก่อนผมไปทานอาหาร เขาแถม wine มาหนี่งแก้ว ของฟรีและก็ดีซะด้วย ไม่เอาก็น่าเสียดาย และก็เคยทานมาก่อนแต่หยุดไปนานแล้ว เลยคิดเข้าข้างตัวเองว่าคงมีวิบากที่จะได้ลิ้มรส wine ในใจก็คิดอีกว่าน่าจะทดลองนะว่าทำไมท่านถึงห้ามไว้ ทานเสร็จก็รู้ว่ายังมีสติอยู่เหมือนเดิม ไม่เห็นจะมีอะไร แต่วันรุ่งขึ้น คนใช้บอกว่าผมลืมปิด
ประตูบ้านไปหนึงชั้น จึงพอที่จะเข้าใจว่าถ้าจะเปรียบคนทานเหล้ากับไม่ทาน ถึงทานแล้วจะไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลียนแปลงย่อมมี สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา ห้ามดื่มสุรา ท่านห้ามเพราะจะนำมาซื่งความประมาท
อะไรที่จะนำมาซื่งความประมาท เข้าใจว่าอยู่ในศีลข้อนี้ เช่นการเล่นการพนัน ฯลฯ ดื่มแล้วก็สามารถผิดศีลอีก ๔ ข้ออย่างง่ายๆ ครับ
ประเด็นนี้โดนดิฉันโดยตรง คือมีเรียนและประกอบอาชีพด้านการเกษตร และปัจจุบันรับผิดชอบดูแลไร่องุ่นและดำเนินการทำไวน์ในต่างประเทศ เพราะเดิมมีเหตุมีปัจจัยที่ต้องมาประกอบอาชีพนี้ ซึ่งการดำเนินชีวิตที่นี่เหมือนกับว่าการดื่มไวน์พร้อมการรับประทานอาหารเหมือนการดื่มน้ำ และอาชีพนี้เหมือนอาชีพการเกษตรอย่างอื่นในประเทศนี้
เคยคิดหาเหตุผลให้ต้วเองเช่นคุณ voraphong แต่เมื่อพิจารณาตนเองแล้วก็มั่นใจว่าตนประกอบมิจฉาชีพทางพุทธศาสนา
ตอนนี้ได้ฟังการอธิบายธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ กำลังได้พิจารณาตนและชีวิต ได้แต่หวังว่าตนจะได้เห็นธรรมและจะมีเหตุมีปัจจัยที่จะมีสัมมาอาชีพอื่นค่ะ
ขออนุโมทนาครับ