[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 1
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เทวทหวรรค
๑. เทวทหสูตร
ว่าด้วยวาทะของพวกนิครนถ์และพระตถาคต
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 1
๑. เทวทหสูตร
ว่าด้วยวาทะของพวกนิครนถ์และพระตถาคต
[๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่สักยนิคม อันมีนามว่า เทวทหะ ในสักกชนบท สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสแล้ว.
[๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน ดังนั้นเพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะ ไม่ทํากรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็จักสิ้นเวทนา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 2
เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นอันไม่มีไปเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพวกนิครนถ์มักมีวาทะอย่างนี้.
[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเข้าไปหาพวกนิครนถ์ผู้มีวาทะอย่างนี้แล้วถามอย่างนี้ว่า ท่านนิครนถ์ จริงหรือที่มีข่าวว่า พวกท่านมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ว่าสุขทุกข์หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน ทั้งนี้เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะ ไม่ทํากรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไปเพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์นั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้วก็ยืนยัน เราจึงถามอย่างนี้ว่า ท่านนิครนถ์ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว.
นิครนถ์เหล่านั้น ตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
เรา. ท่านนิครนถ์ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้ทําบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทําไว้.
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
เรา. ท่านนิครนถ์ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้ทําบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ.
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
เรา. ท่านนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว ทุกข์ทั้งหมดก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 3
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
เรา. ท่านนิครนถ์ พวกท่านทราบการละอกุศลธรรม การบําเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบันละหรือ.
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
[๔] เรา. ท่านนิครนถ์ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า พวกท่านไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทําบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทําไว้ ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทําบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ ไม่ทราบว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว ทุกข์ทั้งหมดก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง ไม่ทราบการละอกุศลธรรม การบําเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านนิครนถ์ไม่สมควรจะพยากรณ์ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน ทั้งนี้ เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะ ไม่ทํากรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักไม่มีไปเอง.
ท่านนิครนถ์ ก็ถ้าพวกท่านพึงทราบว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วแต่ก่อนมิใช่ไม่ได้มีแล้ว พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทําบาปกรรมไว้แต่ก่อน มิใช่ไม่ได้ทําไว้ พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทําบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ พึงทราบว่าทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว ทุกข์ทั้งหมดก็เป็นอันไม่มีไปเอง พึงทราบการละอกุศลธรรม การบําเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านนิครนถ์ ควรจะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 4
พยากรณ์ได้ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าสุข ทุกข์หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อนทั้งนี้ เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะไม่ทํากรรมใหม่ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรมก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ก็จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง.
[๕] ท่านนิครนถ์ เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรที่มียาพิษอาบไว้อย่างหนาแล้ว พึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ เพราะเหตุการเสียดแทงของลูกศร มิตร สหาย ญาติสาโลหิตของเขาพึงให้หมอผ่าตัดรักษาหมอผ่าตัดใช้ศัสตราชําแหละปากแผลของเขา เขาพึงเสวยทุกขเวทนาอันกล้าเจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกเครื่องตรวจค้นหาลูกศร หมอผ่าตัดถอนลูกศรออกเขาพึงเสวยทุกขเวทนาอันกล้าเจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถอนลูกศรออก หมอผ่าตัดใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล เขาพึงเสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล ต่อมา เขามีแผลหาย มีผิวหนังสนิท จึงไม่มีโรค มีความสุข เสรี อยู่ได้ตามลําพัง ไปไหนไปได้จึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกยิงด้วยลูกศรที่มียาพิษอาบไว้อย่างหนา ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุการเสียดแทงของลูกศร มิตร สหายญาติสาโลหิตของเราให้หมอผ่าตัดรักษา หมอผ่าตัดใช้ศัสตราชําแหละปากแผลเรานั้นได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกศัสตราชําแหละปากแผล หมอผ่าตัดใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร เรานั้นได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกเครื่องตรวจค้นหาลูกศร หมอผ่าตัดถอนลูกศรออก เรานั้นได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถอนลูกศรออก หมอผ่าตัดใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล เรานั้นได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 5
เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล เดี๋ยวนี้ เรานั้นมีแผลหายมีผิวหนังสนิท จึงไม่มีโรค มีความสุข เสรี อยู่ได้ตามลําพัง ไปไหนไปได้ฉันใด.
ท่านนิครนถ์ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าพวกท่านพึงทราบว่า เราทั้งหลาย ได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทําบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทําไว้ พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทําบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ พึงทราบว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว ทุกข์ทั้งหมดก็เป็นอันไม่มีไปเอง พึงทราบการละอกุศลธรรม การบําเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบันเมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ ควรจะพยากรณ์ได้ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน ทั้งนี้เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะไม่ทํากรรมใหม่ จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรมเพราะสิ้นกรรม จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนาทุกข์ทั้งปวงจักเป็นอันไม่มีไปเอง.
ท่านนิครนถ์ ก็เพราะเหตุที่พวกท่านไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทําบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทําไว้ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทําบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ ไม่ทราบว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว ทุกข์ทั้งหมดก็เป็นอันไม่มีไปเอง ไม่ทราบการละอกุศลธรรม การบําเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน ฉะนั้น ท่านนิครนถ์จึงไม่สมควรจะพยากรณ์ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 6
ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน ทั้งนี้ เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะ ไม่ทํากรรมใหม่ จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป จักสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์เพราะสิ้นทุกข์ ก็จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง.
[๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ พวกนิครนถ์นั้นได้กล่าวกะเราดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านนิครนถ์นาฏบุตร เป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวงเป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง ยืนยันญาณทัสสนะตลอดทุกส่วนว่า เมื่อเราเดินก็ดียืนก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสสนะได้ปรากฏติดต่อเสมอไป ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพวกนิครนถ์ผู้มีอายุ บาปกรรมที่พวกท่านทําไว้ในก่อนมีอยู่พวกท่านจงสลัดบาปกรรมนั้นเสีย ด้วยปฏิปทาประกอบด้วยการกระทําที่ทําได้ยากอันเผ็ดร้อนนี้ ข้อที่ท่านทั้งหลายเป็นผู้สํารวมกาย สํารวมวาจา สํารวมใจในบัดนี้นั้น เป็นการไม่ทําบาปกรรมต่อไป ทั้งนี้ เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะ ไม่ทํากรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งหมดก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง ก็แหละคํานั้นถูกใจและควรแก่พวกข้าพเจ้า และเพราะเหตุนั้น พวกข้าพเจ้าจึงได้ชื่นชม.
[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกนิครนถ์กล่าวแล้วอย่างนี้ เราได้กล่าวกะพวกนิครนถ์นั้น ดังนี้ว่า ท่านนิครนถ์ ธรรม ๕ ประการนี้แลมีวิบาก ๒ ทางในปัจจุบัน ๕ ประการเป็นไฉน คือความเชื่อ ความชอบใจการฟังตามเขาว่า ความตรึกตามอาการความปักใจดิ่งด้วยทิฏฐิ ท่านนิครนถ์เหล่านี้แล ธรรม ๕ ประการ มีวิบาก ๒ ทางในปัจจุบัน บรรดาธรรม ๕
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 7
ประการนั้น ท่านนิครนถ์ มีความเชื่ออย่างไร ชอบใจอย่างไร ร่ําเรียนมาอย่างไร ได้ยินมาอย่างไร ตรึกตามอาการอย่างไร ปักใจดิ่งด้วยทิฏฐิอย่างไรในศาสดาผู้มีวาทะเป็นส่วนอดีต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะอย่างนี้แลจึงไม่เล็งเห็นการโต้ตอบวาทะอันชอบด้วยเหตุอะไรๆ ในพวกนิครนถ์.
[๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกะพวกนิครนถ์นั้นต่อไปอีกอย่างนี้ว่า ท่านนิครนถ์ พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใดพวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมเสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้นพวกท่านย่อมไม่เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบอันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า.
นิครนถ์รับว่า ท่านพระโคดม สมัยใด พวกข้าพเจ้ามีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมเสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า สมัยใด พวกข้าพเจ้าไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมไม่เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า
[๙] พ. ท่านนิครนถ์ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า สมัยใด พวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมเสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใดพวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้าไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมไม่เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้าเมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านนิครนถ์ ไม่สมควรจะพยากรณ์ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 8
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน ทั้งนี้เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะ ไม่ทํากรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรมเพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็จักสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง.
ท่านนิครนถ์ ถ้าสมัยใด พวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น ทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายาม พึงหยุดได้เอง และสมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้าไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น ทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามพึงหยุดได้เอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพวกนิครนถ์ก็ควรพยากรณ์ได้ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้น ทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน ทั้งนี้เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะ ไม่ทํากรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ก็จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนาทุกข์ทั้งปวงก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง.
ท่านนิครนถ์ ก็เพราะเหตุที่ สมัยใด พวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านจึงเสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านจึงไม่เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า พวกท่านนั้นเสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความเพียรเองทีเดียว ย่อมเชื่อผิดไปเพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้ เพราะความหลงว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 9
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน ทั้งนี้เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ ไม่ทํากรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรมเพราะสิ้นกรรมก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ก็จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนาทุกข์ทั้งปวงก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะแม้อย่างนี้แล จึงไม่เล็งเห็นการโต้ตอบวาทะอันชอบด้วยเหตุอะไรๆ ในพวกนิครนถ์.
[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกะพวกนิครนถ์นั้นต่อไปอีกอย่างนี้ว่า ท่านนิครนถ์ พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้นจงให้ผลในชาติหน้า ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด พวกนิครนถ์นั้นกล่าวว่าท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลในชาติหน้า ขอกรรมนั้นจงให้ผลในปัจจุบัน ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
พ. ท่านนิครนถ์ พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นทุกข์ ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุข ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 10
พ. ท่านนิครนถ์ พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ขอกรรมนั้นจงให้ผลอย่าเพ่อเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น ขอกรรมนั้นจงให้ผลเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
พ. ท่านนิครนถ์ พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้น เป็นไฉน พวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อยด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลน้อยขอกรรมนั้นจงให้ผลมาก ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
พ. ท่านนิครนถ์ พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผล ขอกรรมนั้นจงอย่าให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดไม่ให้ผลขอกรรมนั้นจงให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.
นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 11
[๑๑] พ. ท่านนิครนถ์ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า พวกท่านจะพึงปรารถนาไม่ได้ดังนี้ว่า กรรมใดให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้นจงให้ผลในชาติหน้าด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิดว่ากรรมใดให้ผลในชาติหน้าขอกรรมนั้น จงให้ผลในปัจจุบัน ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นทุกข์ ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุขด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ขอกรรมนั้นจงให้ผลอย่าเพ่อเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิดว่ากรรมใดให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น ขอกรรมนั้นจงให้ผลเสร็จสิ้นด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อยด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงให้ผลมาก ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิดว่ากรรมใดให้ผล ขอกรรมนั้นจงอย่าให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิดเมื่อเป็นเช่นนี้ความพยายามของพวกนิครนถ์ก็ไร้ผล ความเพียรก็ไร้ผล.
ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตาม (๑) ๑๐ ประการอันชอบด้วยเหตุของพวกนิครนถ์ ผู้มีวาทะอย่างนี้น่าตําหนิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้ทํากรรมชั่วไว้ก่อนแน่ ในบัดนี้พวกเขาจึงได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่พระผู้เป็นใหญ่เนรมิตให้ พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้
๑. คือวาทะของพวกครู และอนวาทะของศิษย์ที่ว่าตามกัน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 12
ถูกพระผู้เป็นใหญ่ชั้นเลวเนรมิตมาแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุเคราะห์กรรม พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มีเคราะห์กรรมชั่วแน่ในบัดนี้พวกเขาจึงได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุอภิชาติ พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มีอภิชาติเลวแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุพยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มีความพยายามในปัจจุบันเลวแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตําหนิถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตําหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่พระผู้เป็นใหญ่เนรมิตให้ พวกนิครนถ์ต้องน่าตําหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่พระผู้เป็นใหญ่เนรมิตให้ พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตําหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุเคราะห์กรรม พวกนิครนถ์ต้องน่าตําหนิถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุเคราะห์กรรม พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตําหนิถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุอภิชาติพวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตําหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุอภิชาติพวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตําหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุพยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตําหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุพยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตําหนิดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้ วาทะของอาจารย์และวาทะของศิษย์ ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของพวกนิครนถ์ผู้มีวาทะอย่างนี้น่าตําหนิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพยายามไร้ผล ความเพียรไร้ผลอย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 13
[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ความพยายามจึงจะมีผลความเพียรจึงจะมีผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑ ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑ ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น ๑ เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้ยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่งถึงเรานี้ยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย บําเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้เธอพึงเริ่มตั้งความเพียรในทํานองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์เริ่มตั้งความเพียรย่อมมีวิราคะ เพราะการเริ่มตั้งความเพียรและบําเพ็ญอุเบกขา ในทํานองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บําเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันไม่มีไปเอง เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์วางเฉย บําเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันไม่มีไปเอง.
[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนชายผู้กําหนัด มีจิตปฏิพัทธ์พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิง เขาเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่.พวกภิกษุทูลว่า ต้องเป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร.
ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้นกําหนัด มีจิตปฏิพัทธ์พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนโน้น ฉะนั้น ความโศก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 14
ความรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นได้แก่เขา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อมาชายคนนั้น มีความดําริอย่างนี้ว่า เรากําหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนโน้น ความโศกความรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจจึงเกิดขึ้นแก่เราได้ เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น อย่ากระนั้นเลย เราพึงละความกําหนัด พอใจในหญิงคนโน้นที่เรามีนั้นเสียเถิด เขาจึงละความกําหนัดพอใจในหญิงคนโน้นนั้นเสีย สมัยต่อมาเขาเห็นหญิงคนนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคนโน้น ยืนพูดจากระซิกกระชี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่.
ภิ. ข้อนั้นหามิได้ พระพุทธเจ้าขา.
พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.
ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้น คลายกําหนัดในหญิงคนโน้นแล้ว ฉะนั้น ถึงเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นความโศก ความรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ ก็ไม่เกิดแก่เขา.
[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นแล ภิกษุไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑ ไม่สละความสุขที่เกิดขึ้นโดยธรรม ๑ ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น ๑ เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้ยังมีเหตุแห่งทุกข์เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่ง ถึงเรา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 15
นี้ยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย บําเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้ เธอจึงเริ่มตั้งความเพียร ในทํานองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียรย่อมมีวิราคะ เพราะการเริ่มตั้งความเพียร และบําเพ็ญอุเบกขา ในทํานองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บําเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร แม้อย่างนี้ทุกข์นั้นก็เป็นอันไม่มีไปเอง เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์วางเฉย บําเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันไม่มี่ไปเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล แม้อย่างนี้.
[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมแต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง อย่ากระนั้นเลย เราพึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบากเถิด เธอจึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบาก เมื่อเธอเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบากอยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง สมัยต่อมา เธอไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบาก เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเธอ เป็นอันสําเร็จแล้วฉะนั้น สมัยต่อมา เธอจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบากดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนช่างศร ย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้เพราะเหตุที่ลูกศรเป็นของอันช่างศรย่างลนบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้แล้ว สมัยต่อมา ช่างศรนั้นไม่ต้องย่างลนลูกศรนั้นบนข่าไฟ ๒ อันดัดให้ตรงจนใช้การได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะช่างศรนั้นพึงย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้เพื่อประโยชน์ใด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 16
ประโยชน์นั้นของเขาเป็นอันสําเร็จแล้ว ฉะนั้น สมัยต่อมา ช่างศรจึงไม่ต้องย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบากอกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่งอย่ากระนั้นเลยเราพึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบากเถิด เธอจึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบาก เมื่อเธอเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบากอยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง สมัยต่อมา เธอไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบาก ข้อนั้นเพราะเหตุไรดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบาก เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเธอ เป็นอันสําเร็จแล้ว ฉะนั้น สมัยต่อมา เธอจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลําบากแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพยายามมีผลความเพียรมีผล แม้อย่างนี้.
[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะดําเนินไปดีรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว แสดงธรรมงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีก็ดีบุตรของคฤหบดีคนเกิดภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ย่อมได้ความเชื่อในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 17
เห็นดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่เขาขัดแล้วนี้ไม่ใช่ทําได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว ออกจากเรือนบวชเถิด สมัยต่อมา เขาละโภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง ละเครือญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนไม่มีเรือนบวช เขาบวชแล้วอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลายละปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตวางไม้ วางมีดแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์อยู่ ละอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนเป็นคนสะอาด ไม่ใช่ขโมยอยู่ ละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นเมถุนอันเป็นเรื่องของชาวบ้าน ละมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้กล่าวคําจริงดํารงอยู่ในคําสัตย์ เป็นหลักฐานเชื่อถือได้ไม่พูดลวงโลก ละวาจาส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ได้ยินจากฝ่ายนี้แล้วไม่บอกฝ่ายโน้น เพื่อทําลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่บอกฝ่ายนี้เพื่อทําลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้ เมื่อเขาแตกแยกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกัน หรือเมื่อเขาดีกันอยู่ก็ส่งเสริม ชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคีกันละวาจาหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากวาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาซึ่งไม่มีโทษเสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนาและชอบใจ ละการเจรจาเพ้อเจ้อ เป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ กล่าวถูกกาล กล่าวตามเป็นจริง กล่าวอิงอรรถ กล่าวอิงธรรม กล่าวอิงวินัยเป็นผู้กล่าววาจามีหลักฐาน มีที่อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 18
ตามกาล เธอเป็นผู้เว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผู้ฉันหนเดียว งดการฉันในราตรีเว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาลเป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรําขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เป็นผู้เว้นขาดจากการทัดทรงและตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว เป็นผู้เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เป็นผู้เว้นขาดจากการรับธัญญชาติดิบเป็นผู้เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับหญิงและกุมารี เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส เป็นผู้เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เป็นผู้เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้าและลาเป็นผู้เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เป็นผู้เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและการขาย เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด เป็นผู้เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบตะแลง เป็นผู้เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจํา การตีชิง การปล้นและการกรรโชก เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้องจะไปที่ใดๆ ย่อมถือเอาบริขารไปได้หมด เหมือนนกมีปีก จะบินไปที่ใดๆ ย่อมมีแต่ปีกของตัวเท่านั้นเป็นภาระบินไป.
[๑๗] เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ถือเอาโดยนิมิตและโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สํารวมแล้วพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงําได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสํารวมในจักขุนทรีย์ ได้ยินเสียงด้วยโสต..... ได้ดม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 19
กลิ่นด้วยฆานะ... ได้ลิ้มรสด้วยชิวหา.. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือเอาโดยนิมิตและโดยอนุพยัญชนะย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สํารวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงําได้ย่อมรักษามนินทรีย์ถึงความสํารวมในมนินทรีย์.
[๑๘] เธอประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันไม่เจือทุกข์ในภายใน เป็นผู้ทําความรู้สึกในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลาคู้เข้าและเหยียดออก ในเวลาทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง.
[๑๙] เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ ประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ถ้ำ ป่าช้าป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้วนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดํารงสติมั่น เฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลกได้แล้วมีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์อยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถิ่นมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากถิ่นมิทธะได้ ละอุทธัจจะกุกกุจจะแล้วเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายในอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 20
[๒๐] เธอ ครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นเครื่องทําให้เศร้าหมอง ทําปัญญาให้ถอยกําลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าความพยายามมีผล ความเพียรมีผล.
[๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจารไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล.
[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล.
[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล.
[๒๔] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้างสามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้างแสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 21
ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกําหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกําหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ เธอย่อมระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศเช่นนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าความพยายามมีผลความเพียรมีผล.
[๒๕] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย มองเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้ว่า สัตว์ผู้กําลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบแล้วด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิเชื่อมั่น กรรมด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป จึงได้เข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ส่วนสัตว์ผู้กําลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบแล้วด้วยกายสุจริตวจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ เชื่อมั่นกรรมด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไปจึงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 22
[๒๖] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ รู้ชัดตามเป็นจริงว่าเหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะนี้ปฏิปทาให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วย่อม มีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ความพยายามจึงมีผล ความเพียรจึงมีผล.
[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ วาทะ ๑๐ ประการอันชอบด้วยเหตุของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ ย่อมถึงฐานะควรสรรเสริญ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน ตถาคตต้องเป็นผู้ทํากรรมดีแต่ก่อนแน่ ผลในบัดนี้จึงเสวยสุขเวทนาอันหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุที่พระผู้เป็นใหญ่เนรมิตให้ ตถาคตต้องเป็นผู้ที่พระผู้เป็นใหญ่ชั้นดีเนรมิตแน่ ผลในบัดนี้ จึงเสวยสุขเวทนาอันหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุเคราะห์กรรม ตถาคตต้องเป็นผู้มีเคราะห์กรรมดีแน่ ผลในบัดนี้ จึงเสวยสุขเวทนาอันหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุอภิชาติ ตถาคตต้องเป็นผู้มีอภิชาติดีแน่ผลในบัดนี้ จึงเสวยสุขเวทนาอันหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตต้องเป็นผู้มีความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 23
พยายามในปัจจุบันดีแน่ ผลในบัดนี้ จึงเสวยสุขเวทนาอันหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทําไว้แต่ก่อน ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้ ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุเคราะห์กรรม ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุเคราะห์กรรม ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุอภิชาติ ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุอภิชาติ ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ วาทะ ๑๐ ประการอันชอบด้วยเหตุของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงถึงฐานะควรสรรเสริญ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ เทวหสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 24
ปปัญจสูทนี
อรรถกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
อรรถกถาเทวทหวรรค
อรรถกถาเทวทหสูตรที่ ๑
เทวทหสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในเทวทหสูตรนั้นดังต่อไปนี้. พระราชาทั้งหลายเขาเรียกว่าเทวะ ในบทว่า เทวทหํ นาม นี้. ก็ในนิคมนั้น พวกเจ้าศากยะ มีสระโบกขรณีอันเป็นมงคลน่าเลื่อมใส พรั่งพร้อมด้วยการอารักขา. สระนั้นเขาเรียกว่าเทวทหะ เพราะเป็นสระของเจ้าทั้งหลาย. อาศัยสระเทวทหะนั้น แม้นิคมนั้นก็เรียกว่าเทวทหะเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยนิคมนั้นประทับอยู่ในลุมพินีวัน. บทว่า ทั้งหมดนั้นเพราะเหตุที่ทําไว้ในปางก่อนความว่า เพราะกรรมที่ทําไว้ในปางก่อนเป็นปัจจัย. ด้วยคํานี้ทรงแสดงว่าพวกนิครนถ์ก็ปฏิเสธการเสวยกรรม และการเสวยการกระทํา ย่อมรับการเสวยวิบากอย่างเดียวเท่านั้น. ด้วยคําว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้ ดังนี้ ทรงกําหนดแสดงพระดํารัสที่ตรัสไม่ได้กําหนดไว้ แต่ก่อนบทว่า เราทั้งหลายได้มีแล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพวกนิครนถ์เหล่านั้นไม่รู้เลย ทรงประสงค์จะตรัสบอกคําสอนอันเป็นโทษล้วนๆ จึงตรัสคํานี้. เพราะชนเหล่าใดไม่รู้ว่าเราทั้งหลายได้มีมาแล้ว ชนเหล่านั้นจะรู้ว่าทํากรรมไว้แล้ว หรือไม่ได้ทําไว้แล้วได้อย่างไร. แม้ในคําถามที่สูงๆ ขึ้นไป ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 25
บทว่า เอวํ สนฺเต ในจูฬทุกขักขันธสูตร ความว่า เมื่อคําของนิครนถ์ผู้ใหญ่ เป็นสัจจริงมีอยู่. แต่ในที่นี้ความว่า เมื่อพวกท่านไม่รู้ฐานะมีประมาณเท่านี้มีอยู่. บทว่า น กลฺลํ แปลว่า ไม่ควร.
บทว่า คาฬฺหูปเลปเนน แปลว่า ที่อาบยาพิษไว้มาก คือ อาบด้วยยาพิษบ่อยๆ แต่ไม่ใช่เหมือนทาด้วยแป้งเปียก. บทว่า เอสนิยา ได้แก่ ชิ้นเครื่องมือทําแผลของศัลยแพทย์ จนชิ้นที่สุดหัว. บทว่า เอเสยฺยความว่า พึงพิจารณาว่า (แผล) ลึกหรือตื้น. บทว่า อคทงฺคารํ ได้แก่ผงสมอ หรือมะขามป้อมเผาไฟ. บทว่า โอทเหยฺย แปลว่า พึงใส่เข้าไป.คําว่า อโรโค เป็นต้น ตรัสไว้แล้วในมาคัณฑิยสูตรนั่นแล. ในคําว่า เอวเมว โข นี้ เปรียบเทียบข้ออุปมา ดังนี้ เหมือนอย่างว่า เวลาที่นิครนถ์เหล่านี้รู้ว่า เราได้มีแล้วในปางก่อนหรือหาไม่ เราได้ทําบาปกรรมไว้หรือไม่ได้ทํา หรือเราทําบาปเห็นปานนี้ไว้แล้ว ก็เหมือนเวลาที่เวทนาในเวลาที่ลูกศรแทง ปรากฏแก่คนที่ลูกศรแทงฉะนั้น เวลาที่รู้ว่า ทุกข์มีประมาณเท่านี้ของเรา ไม่มีแล้ว เมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้ไม่มีแล้ว ทุกข์ทั้งหมดก็จักชื่อว่าตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ ก็เหมือนเวลาที่เวทนาปรากฏในกาล ๔ ครั้ง มีกาลชําแหละปากแผลเป็นต้น ฉะนั้น. เวลาที่จะรู้การละอกุศลธรรม ทํากุศลธรรมให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน ก็เหมือนเวลาที่รู้ความผาสุกในเวลาต่อมาภายหลัง ฉะนั้น.ในเรื่องนี้ ทรงแสดงข้อความ ๓ ข้อ ด้วยอุปมาข้อเดียว (และ) แสดงข้อความเรื่องเดียวด้วยอุปมา ๔ ข้อ ด้วยประการฉะนี้.
ก็พวกนิครนถ์เหล่านั้น ไม่รู้ความ แม้แต่ข้อเดียว จากข้อความที่กล่าวนั้น. เชื่อเรื่องนั้นทั้งหมดด้วยเพียงคําของนิครนถ์ผู้ใหญ่อย่างเดียวเหมือนคนไม่ถูกลูกศรเลย เพราะลูกศรพลาดไป ก็สําคัญว่า เราถูกศรแทง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 26
โดยเพียงคําของข้าศึกที่พูดว่า ท่านถูกลูกศรแทงแล้ว ประสบทุกข์อยู่ฉะนั้นถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มด้วยการเปรียบเทียบด้วยลูกศรอย่างนี้ ก็ไม่อาจโต้ตอบ ใส่วาทะเข้าในสมองของนิครนถ์ผู้ใหญ่กล่าวคําว่า ท่านนิครนถ์ ดังนี้เป็นต้น เหมือนสุนัขที่อ่อนแอลุกขึ้นไล่เนื้อให้วิ่งไปตรงหน้าเจ้าของ แล้วตนเองก็หมดแรงไล่ฉะนั้น
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงข่มนิครนถ์ศิษย์เหล่านั้นพร้อมทั้งอาจารย์ จึงตรัสว่า ธรรม ๕ ประการนี้แล ดังนี้เป็นต้น.บทว่า ตตรายสฺมนตานํ ได้แก่ธรรม ๕ ประการ เหล่านั้น ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. ด้วยคําว่า กา อตีตํ เส สตฺถริ สทฺธา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า จะเชื่อถืออะไรในศาสดาผู้มีวาทะอันเป็นส่วนอดีต. คือความเชื่อถือในนิครนถ์ผู้ใหญ่ของพวกท่าน ผู้ซึ่งเชื่อวาทะอันเป็นส่วนอดีตนั้น เป็นไฉน. มีประโยชน์ ไม่มีประโยชน์ มีผล ไม่มีผล อย่างไร แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สหธมฺมิกํ แปลว่า มีเหตุ คือมีการณ์. บทว่า วาทปฺปฏิหารํ ได้แก่ วาทะที่สะท้อนมา (โต้ตอบ) ด้วยพระดํารัสเพียงเท่านี้ ทรงแสดงวาทะที่ตัดความเชื่อของนิครนถ์เหล่านั้นว่าพวกท่านจงเอาความเชื่อออกไปให้หมด ความเชื่อนี้อ่อน.
บทว่า อวิชฺชา อฺาณา ได้แก่ เพราะอวิชชา เพราะไม่รู้.บทว่า สมฺโมหา แปลว่า เพราะงมงาย. บทว่า วิปจฺเจถ ได้แก่เชื่อโดยวิปริต. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ถือเอาคลาดเคลื่อน.
บทว่า ทิฏธฺมมเวทนียํ ความว่า ให้วิบากในอัตภาพนี้ทีเดียว.บทว่า อุปกฺกเมน แปลว่า ด้วยความพยายาม. บทว่า ปธาเนน แปลว่าด้วยความเพียร. บทว่า สมฺปรายเวทนียํ ความว่า ให้วิบากในอัตภาพที่ ๒หรือที่ ๓. บทว่า สุขเวทนียํ ความว่ากุศลกรรมที่ให้วิบากอันเป็นอิฏฐารมณ์.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 27
ที่ตรงกันข้าม (อกุศลกรรม) ให้ผลเป็นทุกข์. บทว่า ปริปกฺกเวทนียํความว่า ให้ผลในอัตภาพที่สุกงอมแล้ว คือสําเร็จแล้ว. บทว่า ปริปกฺกเวทนียํนี้ เป็นชื่อของกรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน. บทว่า อปริปกฺกเวทนียํ ได้แก่ให้ผลในอัตภาพที่ยังไม่สุกงอม. บทว่า อปริปกฺกเวทนียํ นี้เป็นชื่อของกรรมที่ให้ผลในภายหน้า. แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ใจความที่แปลกกันในเรื่องนี้ มีดังต่อไปนี้
กรรมใดที่ทําไว้ในตอนปฐมวัย ให้วิบากในปฐมวัย มัชฌิมวัยหรือปัจฉิมวัย ที่กระทําไว้ในตอนมัชฌิมวัยให้วิบากในมัชฌิมวัยหรือปัจฉิมวัย ที่ทําไว้ในตอนปัจฉิมวัย ให้วิบากในปัจฉิมวัยนั้นเลย กรรมนั้นชื่อว่าให้ผลในปัจจุบัน ส่วนกรรมใดที่ให้วิบากภายใน ๗ วัน กรรมนั้นชื่อว่า ให้ผลเสร็จแล้ว กรรมที่ให้ผลเสร็จแล้วนั้น เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล. ในเรื่องกรรมที่ให้ผลภายใน ๗ วัน นั้นมีเรื่องราวดังต่อไปนี้ :-
ทิฏฐิธรรมเวทนียกรรม
ได้ยินว่าคนเข็ญใจ ชื่อ ปุณณะ อาศัยท่านสุมนเศรษฐีอยู่ในเมืองราชคฤห์. วันหนึ่งเขาโฆษณาการเล่นนักขัตฤกษ์ในเมือง ท่านเศรษฐีจึงกล่าวกะนายปุณณะนั้นว่า ถ้าวันนี้เจ้าจะไถนา จะได้โค ๒ ตัวกับไถ (ใหม่) ๑ คัน เจ้าจะเล่นนักขัตฤกษ์ หรือจะไถนา. นักขัตฤกษ์จะมีประโยชน์อะไรแก่ผม ผมจักไถนา. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงเลือกเอาโคตัวที่ต้องการเอาไปไถนา.เขาไปไถนา ในวันนั้น พระสารีบุตรเถระออกจากนิโรธสมาบัติรําพึงว่าเราจะสงเคราะห์ใคร เห็นนายปุณณะ จึงถือบาตรจีวรไปยังที่ที่เขาไถนา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 28
นายปุณณะวางไถถวายไม้ชําระฟัน แล้วถวายน้ำบ้วนปากแก่พระเถระพระเถรปฏิบัติสรีระแล้ว นั่งในที่ไม่ไกลเขาซึ่งกําลังทํางาน คอยการนําภัตตาหารมา. ทันทีนั้นท่านเห็นภรรยาของเขากําลังนําอาหารมา จึงได้แสดงตน (ให้เห็น) ในระหว่างทางทันที.
นางจึงเอาอาหารที่นํามาให้สามี ใส่ลงในบาตรของพระเถระแล้วกลับไปปรุงอาหารใหม่ ต่อเวลาสายจึงได้ไปถึง. นายปุณณะไถนาคราวแรกแล้วนั่งลง. ฝ่ายภรรยาถืออาหารมาแล้วกล่าวว่า นายจา ฉันนําอาหารมาให้ท่านแต่เช้าตรู่ แต่ในระหว่างทางฉันเห็นพระสารีบุตร จึงถวายอาหารนั้นแก่ท่าน แล้วไปหุงต้มอาหารชุดใหม่มา จึงสาย โกรธไหมนาย. นายปุณณะพูดว่า แม่มหาจําเริญ เธอทําดีแล้ว ตอนเช้าตรู่ ฉันก็ได้ถวายไม้ชําระฟันและน้ำบ้วนปากแก่พระเถระ. แม้บิณฑบาต พระเถระนี้ก็ได้ฉัน เพราะการถวายทานของเรา วันนี้เรามีส่วนแห่งสมณธรรมที่พระเถระบําเพ็ญแล้ว ดังนี้ได้ทําจิตให้เลื่อมใส. สถานที่ที่เขาไถครั้งแรก ก็กลายเป็นทองคํา เขาบริโภคแล้วแลดูสถานที่ที่ไถไว้เห็นโชติช่วงจึงลุกขึ้นเอาไม้เท้าเคาะดูรู้ว่าเป็นทองคําสีสุกปลั่ง คิดว่าเรายังไม่ได้ทูลพระราชาให้ทรงทราบแล้ว ไม่อาจจะใช้สอยจึงไปกราบทูลพระราชา พระราชารับสั่งให้เอาเกวียนบรรทุกทองคําทั้งหมดนั้นมากองที่พระลานหลวง แล้วตรัสถามว่า ในพระนครนี้ใครมีทองประมาณเท่านี้บ้าง. และเมื่ออํามาตย์กราบทูลว่า ของใครๆ ไม่มี จึงประทานตําแหน่งเศรษฐีแก่นายปุณณะนั้น. เขาจึงมีชื่อว่า ปุณณะเศรษฐี.
อีกเรื่องหนึ่ง ในพระนครราชคฤห์นั้นนั่นแหละ มีคนเข็ญใจคนหนึ่งชื่อว่ากาฬวฬิยะ ภรรยาของเขาหุงข้าวยาคูกับผักดอง. พระมหากัสสปเถระออกจากนิโรธสมาบัติแล้วรําพึงว่า เราจะทําการสงเคราะห์ใคร เห็นภรรยา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 29
ของนายกาฬวฬิยะ จึงได้ไปยืนที่ประตูบ้าน นางรับบาตรใส่ข้าวยาคูทั้งหมดลงในบาตรนั้นแล้ว ถวายพระเถระ. พระเถระไปยังวิหารแล้วน้อมถวายแด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงรับเอาแค่พอเป็นยาปนมัตต์สําหรับพระองค์.ข้าวยาคูที่เหลือเพียงพอสําหรับพระภิกษุ ๕๐๐ รูป. แม้นายกาฬวฬิยะก็ได้ตําแหน่งจูฬกเศรษฐี. พระมหากัสสปทูลถามวิบากของนายกาฬวฬิยะกะพระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ไป เขาจักได้ฉัตรเศรษฐี.นายกาฬวฬิยะฟังพระดํารัสนั้นแล้วไปบอกภรรยา.
ครั้งนั้น พระราชาเสด็จเลียบพระนครได้ทอดพระเนตรเห็นบุรุษนั่งอยู่บนหลาวสําหรับประหารชีวิต นอกพระนคร. บุรุษเห็นพระราชาจึงตะโกนทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์ได้โปรดส่งอาหารที่พระองค์เสวยมาให้ข้าพระองค์เถิดพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่าจะส่งมาให้ ครั้นพวกวิเสทเตรียมพระกระยาหารตอนเย็น จึงระลึกขึ้นได้ ตรัสว่า พวกเจ้าจงหาคนที่สามารถนําอาหารนี้ไป (ให้เขา) . พวกราชบุรุษเอาห่อทรัพย์พันหนึ่งเที่ยว (ป่าวร้องหาผู้สามารถ) ในพระนคร. ครั้งที่ ๓ ภรรยาของนายกาฬวฬิยะได้รับเอา (ห่อทรัพย์พันหนึ่งไป) . พวกราชบุรุษได้กราบทูลเบิกตัวนางแด่พระราชา.นางปลอมตัวเป็นชาย ผูกสอดอาวุธ ๕ ประการ ถือถาดอาหารออกจากพระนครไป. ยักษ์ ชื่อทีฆตาละสิงอยู่ที่ต้นตาลนอกพระนคร เห็นนางเดินไปตามโคนไม้จึงกล่าวว่า หยุด หยุด เจ้าเป็นอาหารของเรา เราไม่ได้เป็นอาหารของท่าน เราเป็นราชทูต. จะไปไหน? ไปสํานักของบุรุษที่นั่งอยู่บนหลาวสําหรับประหารชีวิต. เจ้าสามารถนําข่าวของเราไปสักข่าวหนึ่งได้ไหม?ได้. ยักษ์กล่าวว่า เจ้าพึงบอกดังนี้ว่า นางกาฬีธิดาของเจ้าสุมนเทพ ผู้เป็นภริยาของทีฆตาลยักษ์คลอดบุตรเป็นชาย ที่โคนตาลต้นนี้ มีขุมทรัพย์อยู่๗ ขุมเจ้าจงถือเอาขุมทรัพย์นั้นไป. นางได้ไปป่าวร้องว่า นางกาฬีธิดาของเจ้าสุมนเทพ ผู้เป็นภริยาของทีฆตาลยักษ์ คลอดบุตรเป็นชาย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 30
สุมนเทพนั่งอยู่ในยักขสมาคมได้ยินจึงกล่าวว่า มนุษย์คนหนึ่งนําข่าวอันน่ายินดีของพวกเรามาป่าวร้อง พวกท่านจงไปเรียกเขามา ได้ฟังข่าวนั้นแล้ว เลื่อมใสจึงกล่าวว่าขุมทรัพย์ในปริมณฑลแห่งร่มเงาของต้นไม้นี้แผ่ไปถึงเราให้เจ้า. บุรุษผู้นั่งบนหลาวสําหรับประหารชีวิต บริโภคอาหารแล้ว ถึงเวลา (นางเอาผ้ามา) เช็ดหน้า ก็รู้ว่าเป็นสัมผัสของหญิง จึงกัดมวยผม นางจึงเอาดาบตัดมวยผมของตน แล้วกลับไปยังสํานักของพระราชาทันที. พระราชาตรัสว่า ภาวะที่บุรุษคนนั้นได้บริโภคอาหารแล้ว จะรู้ได้อย่างไร? นางทูลว่ารู้ได้ด้วยเครื่องหมายของมวยผม (ที่ถูกตัดไป) แล้วกราบทูลพระราชาให้ขนทรัพย์นั้นมา. พระราชาตรัสถามว่า ชื่อว่าทรัพย์มีประมาณเท่านี้ของคนอื่นมีไหม ตอบว่า ไม่มีพระเจ้าข้า. พระราชาจึงทรงตั้งสามีของนางให้เป็นธนเศรษฐีในพระนครนั้น. แม้เรื่องของพระนางมัลลิกาเทวีก็ควร (นํามา) กล่าว.เรื่องตามที่เล่ามานี้เริ่มด้วย เรื่องที่เกี่ยวกับกุศลกรรม ก่อน.
ส่วนนันทมาณพ ปฏิบัติผิดต่อพระอุบลวัณณาเถรี. เมื่อเขาลุกขึ้นจากเตียงแล้วออกไป แผ่นดินใหญ่ได้สูบเขาลงสู่มหานรก ณ ที่ตรงนั้นเองแม้นายโคฆาตก์ชื่อ นันทะ ทําการฆ่าโคอยู่ถึง ๕๐ ปี วันหนึ่ง เขาไม่ได้เนื้อในเวลาบริโภคอาหาร จึงตัดลิ้นโคทั้งเป็นตัวหนึ่งให้ปิ้งที่ถ่านไฟแล้ว เริ่มลงมือเคี้ยวกิน. ทีนั้น ลิ้นของเขาขาดตรงโคนตกลงในภาชนะอาหารทันทีเขาร้อง (ดังเสียงโค) ตายไปเกิดในนรก. แม้นันทยักษ์ เหาะไป กับยักษ์ตนอื่น เห็นพระสารีบุตรเถระมีผมที่ปลงไว้ใหม่ๆ นั่งอยู่กลางแจ้ง ในเวลากลางคืน ใคร่จะตีศีรษะ จึงบอกแก่ยักษ์ที่มาด้วยกัน แม้จะถูกยักษ์นั้นห้ามปรามก็ตีจนได้ พลางร้องว่าร้อนๆ แล้วก็จมลงในแผ่นดินตรงที่นั้นเอง เกิดในมหานรก เรื่องดังกล่าวมานี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอกุศลกรรม.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 31
ก็กรรมที่บุคคลกระทําแล้ว ชั้นที่สุดแม้ในเวลาใกล้จะตายให้ผลในภพอื่นได้ ทั้งหมดนั้นชื่อว่า กรรมที่ให้ผลในภพต่อไป. ในเรื่องวิบากของกรรมนั้น วิบากอันใดของฌานที่ไม่เสื่อม วิบากอันนั้นท่านกล่าวว่าวิบากที่เกิดแล้ว ในที่นี้ ท่านไม่ได้วิจารณ์ไว้ว่า กรรมที่เป็นต้นเค้ามูลของวิบากนั้น ไม่ให้ผลในปัจจุบัน ไม่ให้ผลในสัมปรายภพ. ท่านไม่วิจารณ์ไว้ก็จริง แต่ถึงกระนั้นพึงทราบว่า กรรมนั้นให้ผลในสัมปรายภพแน่นอน.วิบากคือผลสมาบัติอันใดในลําดับแห่งการเกิดของปฐมมรรคเป็นต้น วิบากคือผลสมาบัติอันนั้น ท่านกล่าวว่า เป็นคุณความดีอันเกิดขึ้นแล้ว ในที่นี้. ท่านกล่าวไว้อย่างนั้นก็จริง แต่ถึงกระนั้น มรรคกรรม พึงทราบว่าให้ผลเสร็จสิ้นไปแล้ว เพราะมรรคเจตนาเท่านั้น ให้ผลเร็วกว่าเขาทั้งหมด เพราะเป็นผลในลําดับติดต่อกันไปแล.
บทว่า พหุเวทนียํ คือ เข้าถึงสัญญภพ. บทว่า อปฺปเวทนียํคือเข้าถึงอสัญญภพ. บทว่า สเวทนียํ คือกรรมที่มีผล. บทว่าอเวทนียํคือ กรรมที่ไม่มีผล. บทว่า เอวํ สนฺเต ความว่า เมื่อกรรมที่ให้ผลในปัจจุบันเป็นต้นเหล่านี้ ไม่ได้เหตุแห่งความเป็นกรรมที่ให้ผลในสัมปรายภพเป็นต้น ด้วยความพยายามมีอยู่. บทว่า อผโล คือไร้ผล ไร้ประโยชน์ด้วยพระดํารัสเพียงเท่านี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ความพากเพียรในศาสนาที่ไม่เป็นเครื่องนําสัตว์ออกจากทุกข์ไม่มีผล แล้วทรงแสดงถึงวาทะอันเป็นเครื่องตัดความเพียร (ที่ไร้ผล) . บทว่า สหธมฺมิกาวาทานุ-วาทา ได้แก่วาทะของนิครนถ์อาจารย์ วาทะของนิครนถ์ศิษย์ที่มีเหตุกล่าวไว้. บทว่า คารยฺหฏานํ อาคจฺฉนฺติ ได้แก่ มาถึงเหตุที่วิญูชนทั้งหลายจะพึงติเตียน. ปาฐะว่าวาทานุปฺปตฺตา คารยฺหฏานา ดังนี้ก็มี.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 32
ใจความของปาฐะนั้นว่า วาทะ ของเหล่านี้ครนถ์ที่เป็นเหตุเพราะเหตุที่ผู้อื่นกล่าว ทําวาทะที่ตามมาถึงเหือดแห้งไป ย่อมมาถึงฐานะที่น่าตําหนิ มีเป็นผู้ทํากรรมชั่ว เป็นต้น.
บทว่า สงฺคติภาวเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุแห่งศุภเคราะห์. บทว่าอภิชาติเหตุ ได้แก่ เหตุแห่งอภิชาติ ๖. บทว่า ปาปสงฺคติกา ได้แก่ผู้มีบาปเคราะห์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงว่า ความพยายามของพวกนิครนถ์เป็นการไร้ผลอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงความว่าความพยายามและความเพียรในศาสนาอันเป็นเครื่องนําสัตว์ออกจากทุกข์ มีผล จึงตรัสว่ากถฺจ ภิกฺขเวดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าอนทฺธภูตํ คืออันทุกข์ไม่ครอบงํา. อัตภาพของมนุษย์ท่านเรียกชื่อว่าอันทุกข์ไม่ทับถมอธิบายว่า ทุกข์ย่อมไม่ทับถม คือไม่ครอบงําอัตภาพนั้น. บุคคลประกอบอัตภาพแม้นั้น ในการกระทํากิจที่ทําได้ยากมีประการต่างๆ ชื่อว่า เอาทุกข์ทับถม ส่วนคนเหล่าใดบวชในพระศาสนาแล้ว อยู่ป่าหรืออยู่โคนไม้เป็นต้นก็ตามที คนเหล่านั้นได้ชื่อว่า ไม่เอาทุกข์ทับถม. เพราะว่าความเพียรในพระศาสนาอันเป็นเครื่องนําสัตว์ออกจากทุกข์ ชื่อว่าเป็นสัมมาวายามะ ความพยายามชอบ.
ฝ่ายพระเถระกล่าวว่า บุคคลใดเกิดในตระกูลที่ยิ่งใหญ่ พอมีอายุครบ ๗ ขวบ คนใช้ประดับตกแต่งร่างกายให้นั่งบนตักของบิดา เมื่อพระสงฆ์นั่งฉันภัตตาหารเสร็จแล้วกล่าวอนุโมทนา ครั้นท่านแสดงสมบัติทั้ง ๓ (คือมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ) แล้วประกอบอริยสัจ ๔ เขาบรรลุพระอรหัต. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ถูกบิดามารดาถามว่า จักบวชไหม ลูกกล่าวว่า จักบวช บิดามารดาจึงให้อาบน้ำตบแต่งร่างกายนําไปยังวิหาร นั่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 33
รับตจปัญจกกรรมฐาน เมื่อเขากําลังโกนผม ก็บรรลุพระอรหัต ในขณะที่จรดปลายมีดโกนนั่นแล ก็หรือว่า ยังเป็นผู้บวชใหม่ มีศีรษะทาน้ำมันผสมมโนศิลาวันรุ่งขึ้น ฉันภัตตาหารที่บิดามารดาส่งไปให้นั่งอยู่ในวิหารนั่นแหละบรรลุพระอรหัต ผู้นี้ไม่ชื่อว่า เอาทุกข์ทับถมตน. แต่ผู้นี้เป็นผู้ชื่อว่ามีสักการะอย่างสูง. ผู้ใดเกิดในท้องของนางทาสี ประดับประดาชั้นที่สุดแม้แต่แหวนเงิน ไล้ทาด้วยเพียงท่อนผ้าและข้าวฟ่าง ถูกนําไปโดยพูดว่า จงให้เขาบวช ได้บรรลุพระอรหัตในขณะจรดปลายมีดโกน หรือในวันรุ่งขึ้น แม้ผู้นี้ก็ไม่ชื่อว่า เอาทุกข์ทับถมตนที่ยังไม่ถูกทับถม.
สุขอันเกิดแต่ปัจจัย ๔ ที่เกิดจากสงฆ์ หรือคณะ ชื่อว่า สุขอันชอบธรรม. บทว่า อนธิมุจฺฉิโต ได้แก่ ผู้ไม่หมกมุ่นด้วยความหมกมุ่นคือตัณหา. คือไม่พึงทําความอยากได้ในสุขนั้น ด้วยความหวังว่า เราจะไม่สละสุขอันชอบธรรม. จริงอยู่ ภิกษุกําหนดเอาสลากภัตหรือวัสสาวาสิกภัตอันเกิดจากสงฆ์ว่า นี้เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งแล้วบริโภคอยู่ในระหว่างพวกภิกษุ ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยศีล สมาธิ วิปัสสนา มรรคและผล อุปมาเหมือนดอกบัวเจริญงอกงามอยู่ในระหว่างใบฉะนั้น. บทว่า อิมสฺสได้แก่ เป็นมูลแห่งขันธ์ห้าอันเป็นปัจจุบัน. บทว่า ทุกขฺนิทานสฺส ได้แก่ตัณหา. จริงอยู่ ตัณหานั้นเป็นเหตุแห่งทุกข์คือเบญจขันธ์. บทว่า สงฺขารํปทหโต คือ กระทําความเพียรในการประกอบกิจ. บทว่า วิราโค โหติได้แก่ ย่อมมีการคลายกิเลสด้วยมรรค. ท่านอธิบายว่า เราคลายเหตุแห่งทุกข์นี้ ด้วยการเริ่มตั้งความเพียร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาด้วยบทว่า เอวํ ปชานาติ นี้. ตรัสอาการที่เป็นกลางๆ แห่งความเพียรในการประกอบกิจนั้นด้วยทุติยวาร. ในคําว่า โส ยสฺส หิขฺวาสฺส นี้ มีความย่อดังต่อไปนี้. บุคคลใด ย่อมคลี่คลายเหตุแห่งความทุกข์ด้วยการเริ่มตั้งความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 34
เพียร บุคคลนั้นย่อมเริ่มตั้งความเพียรในเหตุแห่งทุกข์นั้น ย่อมเริ่มตั้งความเพียรด้วยความเพียรในมรรค. ส่วนบุคคลใดเจริญอุเบกขาโดยเป็น อัชฌุ-เบกขา ย่อมคลี่คลายเหตุแห่งทุกข์ได้ บุคคลนั้นย่อมเจริญอุเบกขา ในเหตุแห่งทุกข์นั้น ย่อมเจริญด้วยมรรคภาวนา. บทว่า ตสฺส ได้แก่บุคคลนั้น.บทว่า ปฏิพทฺธจิตโต ได้แก่ มีจิตผูกพันด้วยฉันทราคะ. บทว่าติพฺพจฺฉนฺโท ได้แก่ มีฉันทะหนา. บทว่า ติพฺพาเปกฺโข ได้แก่มีความปรารถนาหนาแน่น. บทว่า สนฺติฏนตึ คือยืนอยู่ด้วยกัน. บทว่าสฺชคฺฆนฺตึ คือ หัวเราะใหญ่. บทว่า สํ หสนฺตึ คือ ทําการยิ้มแย้ม.ในคําว่า เอวเมว โข ภิกขฺเว นี้ จะกล่าวให้แจ่มแจ้งด้วยข้ออุปมาดังต่อไปนี้
เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้หนึ่งมีความกําหนัดต่อหญิงผู้หนึ่ง ให้ของกินเครื่องนุ่งห่ม พวงมาลัย และเครื่องประดับเป็นต้น แล้วอยู่ครองเรือนกัน.นางประพฤตินอกใจเขาคบหาชายอื่น. เขาคิดว่า เราคงไม่ให้ของขวัญอันเหมาะสมแก่นางเป็นแน่ (นางจึงมีชู้) จึงเพิ่มของขวัญให้. นางยิ่งประพฤตินอกใจหนักยิ่งขึ้น. เขาคิดว่า นางนี่แม้เราให้ของขวัญ ก็ยังประพฤตินอกใจอยู่นั่นแหละ. ขืนอยู่ครองเรือนกันก็จะก่อกรรมทําเข็ญให้ เราจะไล่นางไปเสีย ดังนี้จึงด่าเสียจนหนําใจ ท่ามกลางประชุมชน. แล้วปล่อยไปด้วยการกล่าวห้ามว่าอย่าเข้ามาบ้านข้าอีกต่อไป. นางไม่อาจทําความสนิทสนมกับเขาไม่ว่าด้วยอุบายไรๆ จึงเที่ยวไปกับพวกนักฟ้อนรําเป็นต้น. เพราะได้เห็นหญิงนั้น เขาไม่เกิดความเสียใจเลย แต่กลับเกิดความดีใจ. พึงทราบความในข้อเปรียบเทียบนั้น. ความอาลัยในอัตภาพของภิกษุนี้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่ชายเกิดกําหนัดในหญิง. เวลาที่ประคับประคองอัตภาพ พึงเหมือนเวลาที่ชายให้ของกินและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น แล้วอยู่ครองเรือนกัน. ความที่อัตภาพ อันภิกษุรักษา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 35
อยู่นั่นแหละ เกิดอาพาธด้วยโรคดีกําเริบเป็นต้น พึงเห็นเหมือนเวลาที่หญิงนั้นประพฤตินอกใจ. เวลาที่กําหนดไว้ว่า โรคเมื่อไม่ได้ยาจึงเป็นอย่างนี้ จึงกอบยา พึงเห็นเหมือนชายกําหนดได้ว่า (หญิงนี้) ไม่ได้ของขวัญ อันคู่ควรแก่ตน จึงประพฤตินอกใจ จึงเพิ่มของขวัญให้. ความที่เมื่อโรคอย่างหนึ่งมีดีกําเริบเป็นต้น ที่ภิกษุประกอบยารักษาอยู่กลับมีอาพาธด้วยโรคอย่างอื่นกําเริบขึ้น พึงเห็นเหมือนเมื่อชายเพิ่มของขวัญให้หญิงนั้น ก็ยังประพฤตินอกใจอีก. การถึงความหมดอาลัยในอัตภาพนั้นว่า เดี๋ยวนี้ เราไม่ได้เป็นทาส ไม่ได้เป็นกรรมกรของเจ้า เราเที่ยวบํารุงเจ้าถ่ายเดียว ในสังสารอันหาเบื้องต้นมิได้ เราไม่ต้องการอะไรจากเจ้า เจ้าจงขาดสูญไป หรือแตกทําลายไปก็ตามดังนี้ แล้วกระทําความเพียรให้มั่น ถอนกิเลสด้วยมรรค พึงเห็นเหมือนการที่ชายด่าหญิงเสียจนหนําใจในท่ามกลางประชุมชน แล้วฉุดคร่าออกจากเรือน เพราะเห็นหญิงนั้นเที่ยวฟ้อนรํากับพวกนักฟ้อนรําเป็นต้น ความเสียใจย่อมไม่เกิดแก่ชายนั้น มีแต่ความดีใจอย่างเดียวเกิดขึ้นฉันใด ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุพระอรหัตแล้ว ความเสียใจย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะได้เห็นอัตภาพมีความป่วยไข้ด้วยโรคดีกําเริบเป็นต้น เกิดความดีใจอย่างเดียวว่าเราจักพ้นจากทุกข์ อันเกิดแต่การฆ่า การจองจํา และการบริหารขันธ์. ก็อุปมานี้พึงทราบว่า ยกมาเพื่อทําเนื้อความนี้ให้ชัดแจ้งว่า ชายย่อมละความกําหนัดด้วยอํานาจความพอใจต่อหญิง เพราะรู้ว่าความเสียใจย่อมเกิดแก่ผู้มีจิตปฏิพัทธ์ เมือไม่มีจิตปฏิพัทธ์ ความเสียใจนั้น ก็ไม่มี ดังนี้ ฉันใด ภิกษุนี้รู้ว่า เมื่อเราเริ่มตั้งความเพียรหรืออบรมอุเบกขาอยู่ ย่อมละเหตุแห่งทุกข์ได้ ไม่ใช่ละได้โดยประการอื่น ดังนี้ แล้วทําการเริ่มตั้งความเพียร และอบรมอุเบกขาทั้งสองอย่างนั้นให้สมบูรณ์ ย่อมละเหตุแห่งทุกข์ (คือตัณหา) ได้ ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 36
บทว่า ยถาสุขํ โข เม วิหรโต ความว่า อยู่ตามความสุขที่เราต้องการจะอยู่. บทว่า ปทหนฺตสฺส ได้แก่ส่งไป. ก็ในคําว่า ยถาสุขํโข เม วิหรโต นี้ ภิกษุใดมีการปฏิบัติสะดวก (แต่) ไม่เป็นที่สบาย ภิกษุนั้น ครองจีวรเนื้อละเอียด อยู่ในเสนาสนะอันน่าเลื่อมใส จิตย่อมฟุ้งซ่าน.ภิกษุใด มีการปฏิบัติลําบาก (แต่) เป็นที่สบาย. ภิกษุนั้นครองจีวรเนื้อหยาบทั้งขาดทั้งวิ่นอยู่ป่าช้าและโคนไม้เป็นต้น จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทรงหมายเอาภิกษุนั้น จึงตรัสคํานี้. ในคําว่า เอวเมวโข นี้ เทียบเคียงข้ออุปมาดังต่อไปนี้. ท่านผู้ประกอบความเพียรซึ่งกลัวต่อชาติ ชรา และมรณะ พึงเห็นเหมือนช่างศร จิตอันคดโกง พึงเห็นเหมือนลูกศรอันคดโค้งและงอ ความเพียรทางกายและทางจิต พึงเห็นเหมือนดุ้นฟืนสองดุ้น. ศรัทธา พึงเห็นเหมือนยางน้ำข้าว ของช่างศรผู้ดัดลูกศรให้ตรง โลกุตรมรรค พึงเห็นเหมือนท่อนไม้สําหรับดัด. การที่ภิกษุเอาศรัทธาชโลมจิตที่คดโกงและงอแล้วย่าง ด้วยความเพียรทางกายและทางจิต ทําให้ตรงด้วยโลกุตรมรรค พึงเห็นเหมือนช่างศรเอายางน้ำข้าวชโลมลูกศรที่คดโค้งงอแล้วย่างในฟืน แล้วดัดให้ตรงด้วยไม้สําหรับดัด. การเสวยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ ของภิกษุผู้ประกอบความเพียรนี้ แทงหมู่กิเลสด้วยจิตทําให้ตรงอย่างนั้น มีกําลังชั้นเยี่ยมด้วยนิโรธ (อยู่) ในเสนาสนะอันน่าเลื่อมใส พึงเห็นเหมือนช่างศรนั่นแลยิงข้าศึกด้วยลูกศรที่ดัดให้ตรงอย่างนั้น แล้วได้เสวยสมบัติในที่นี้ เพื่อจะตรัสข้อปฏิบัติสําหรับภิกษุผู้ปฏิบัติสะดวกและรู้เร็ว กับภิกษุผู้ปฏิบัติลําบากแต่รู้เร็ว ที่ยังไม่ได้ตรัส สําหรับภิกษุสองพวกนอกนี้ พระตถาคตจึงทรงเริ่มเทศนากัณฑ์นี้.เมื่อตรัสข้อปฏิบัติทั้งสองเหล่านี้ (คือ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา และทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา) แม้ข้อปฏิบัตินอกนี้ (คือ ทุกขาปฏิปทาทัน-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 37
ธาภิญญา และสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา) ก็เป็นอันตรัสไว้ด้วย. ส่วน อาคมนียปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่ควรบรรลุ มิได้ตรัสไว้. เพื่อตรัสอาคมนียปฏิปทานั้น จึงทรงเริ่มเทศนากัณฑ์นี้. อีกอย่างหนึ่ง ข้อปฏิบัติแม้เป็น สหาคมนียะ ข้อปฏิบัตติที่ควรบรรลุพร้อมกัน ก็ตรัสไว้แล้วเหมือนกัน. แต่เพื่อทรงแสดงพุทธุปปาทกาล สมัยอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า สมัยหนึ่ง ซึ่งยังไม่ได้ทรงแสดงไว้แล้วทรงแสดงว่าเราจักเปลี่ยนแปลงเทศนาว่าด้วยเนกขัมมะการออกไป (จากกาม) แก่กุลบุตรผู้หนึ่ง ด้วยพระอรหัต ดังนี้ จึงทรงเริ่มเทศนากัณฑ์นี้. คําที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาเทวทหสูตรที่ ๑