เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน
"ถ้าไม่มีปรมัตถธรรม.....อะไรๆ ก็ไม่มี" พจนาท่านอาจารย์ กระผมได้ยินหลายครั้ง ขอความอนุเคราะห์อาจารย์กรุณาให้ความกระจ่างด้วยครับ ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็ต้องเข้าใจก่อนว่า ปรมัตถธรรม คืออะไร? คือ สิ่งที่มีจริงๆ ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีจริงนั้นๆ ให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เช่น เห็น มีจริงๆ ใครจะเปลี่ยนแปลงเห็นให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ โกรธ ซึ่งเป็นอกุศลธรรมประการหนึ่ง มีลักษณะขุ่นเคืองไม่พอใจ ใครก็เปลี่ยนแปลงโกรธให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ สี เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เป็นรูปธรรม ใครจะเปลี่ยนแปลง สี ให้เป็นอย่างอื่น ก็ไม่ได้ เป็นต้น
ปรมัตถธรรม มี ๔ คือ จิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) , เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดประกอบกับจิต) , รูป (สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร) และพระนิพพาน (สภาพธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ เป็นสภาพธรรมที่ดับทุกข์ ดับกิเลส)
จากประเด็นที่ว่า ถ้าไม่มีปรมัตถธรรม อะไรๆ ก็ไม่มี ปรมัตถธรรมที่กล่าวถึงนี้ก็ต้องหมายถึงเฉพาะสภาพธรรมที่เกิดดับเท่านั้น อย่างเช่น ถ้ากล่าวถึงบุคคลนั้นบุคคลนี้หรือเป็นสัตว์ประเภทต่างๆ แล้ว ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่เกิดดับ ที่เป็นจิต เจตสิก รูป ก็จะไม่มีสิ่งที่สมมติเรียกกันว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เลย แต่เพราะมีสภาพธรรมเหล่านี้เกิดขึ้น จึงเรียกว่า เป็นคนนั้น คนนี้ หรือ เป็นสัตว์ต่างๆ จะเรียกอย่างนั้นได้ ก็เพราะมีสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่เกิดขึ้นเป็นไป หรือถ้ากล่าวถึงวัตถุสิ่งของต่างๆ แล้ว ถ้าไม่มีรูปธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปแล้ว ก็จะไม่มีการเรียกว่าเป็นถ้วย จาน ชาม เป็นต้น
ทั้งหมดนั้นก็จะต้องเข้าใจว่าก็ต้องมีสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ซึ่งไม่พ้นไปจาก จิต เจตสิก รูป ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ความเป็นจริงของสภาพธรรม ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น แต่ละคน แต่ละชีวิต ก็เป็นแต่ละหนึ่ง ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมเลย ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา มีแต่ธรรมเท่านั้น เมื่อเป็นธรรมที่มีจริงแต่ละอย่างๆ จะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือเป็นใครได้อย่างไร เพราะเป็นธรรม ธรรมที่เป็นสภาพรู้ธาตุรู้นั้น มี ๒ ประะภท คือ จิตและเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ เมื่อจิตเกิดขึ้น (พร้อมด้วยเจตสิก) ก็ย่อมรู้อารมณ์ตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ โดยที่จิตเท่านั้นที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ส่วนเจตสิกก็เกิดร่วมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต ทำกิจหน้าที่ของตนๆ แล้วก็ดับไป ชีวิตประจำวัน จิต (และเจตสิก) จึงรู้ได้ทั้งปรมัตถ์ และ บัญญัติ ซึ่งเมื่อศึกษาไปตามลำดับก็จะเข้าใจได้ว่า ปรมัตถ์ คือ สิ่งที่มีจริงๆ เช่น สี เสียง เสียง กลิ่น รส กุศล อกุศล เป็นต้น ส่วนบัญญัติ ไม่มีมีจริง จิตรู้บัญญัติได้โดยคิดถึง ชื่อ สัณฐาน เรื่องราวของปรมัตถ์ เพราะมีปรมัตถ์ บัญญัติจึงมีได้ โดยทั่วไปการรู้บัญญัติย่อมอาศัย สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นต้น ปรากฏวิถีแรกๆ จากนั้นจึงมีบัญญัติเป็นอารมณ์ ครับ
บัญญัติ คือ ขณะที่เป็นเรื่องราว ขณะนั้น ไม่ได้มีปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป เป็นอารมณ์ ก็ทำให้ปิดบังความจริงในขณะนั้น เช่น ขณะนี้เห็นเป็นสัตว์ บุคคล ขณะนั้นเป็นบัญญัติเรื่องราว ซึ่งขณะนั้น ก็มี บัญญัติเป็นอารมณ์ ขณะนั้นจึงปิดบังความจริงไม่ให้รู้ ตัวปรมัตถ์ในขณะนั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ก่อนที่จะเห็นเป็นสัตว์บุคคล ก็มีสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นอารมณ์ก่อน คือ สี แต่เพราะปัญญาไม่เกิด และเกิดดับอย่างรวดเร็วของวิถีจิต ทางใจก็คิดนึกต่อเป็นบัญญัติเรื่องราว ก็ปิดบังไม่ให้รู้ปรมัตถ์ในขณะนั้น ครับ แต่เมื่อใด สติปัฏฐานเกิด รู้ความจริงในขณะที่ปรมัตเป็นอารมณ์ คือ ขณะที่สีกำลังปรากฏ ขณะนั้น สติปัฏฐานก็เปิดความจริง ให้บัญญัติไม่ปิดบังปรมัตถ์ในขณะนั้นครับ ขออนุโมทนา
สาธุ อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่าน นะคะ
ด้วยความเคารพและขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
จากใหญ่ราชบุรี – ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ธรรมะคือทุกสิ่งทีมีจริงไม่ใช่ของใคร ไม่ว่าจะรู้อะไรธาตุรู้คือจิต ทางตาเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ
ถ้าปัญญาไม่เกิด ก็ยังติดข้องเป็นเรารู้ เป็นเราเห็น ค่ะ