พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 203
พระเถระบางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า นายนิรยบาล ไม่มี กรรมเท่านั้นย่อมก่อเหตุเหมือนหุ่นยนต์. กรรมนั้นถูกปฏิเสธไว้ในอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า เออนายนิรยบาลในนรกมีและผู้ก่อเหตุก็มี. เหมือนอย่างว่า ในมนุษย์โลกนี้ผู้ลงโทษด้วยกรรมกรณ์ ฉันใด นายนิรยบาลก็มีอยู่ในนรก ฉันนั้น. บทว่า ยมสฺส รญฺโญ ได้แก่พระราชาเวมานิกเปรต ชื่อว่า พญายมในเวลาหนึ่งเสวยต้นกัลปพฤษทิพย์ อุทยานทิพย์ นักฟ้อนรำทิพย์ สมบัติทิพย์ในวิมานทิพย์ ในเวลาหนึ่งเป็นพระราชาผู้ทรงธรรมเสวยผลกรรม แต่ไม่ใช่เวลาเดียวกัน. ส่วนที่ประตูทั้ง ๔ มีคนอยู่ ๔ คน. บทว่า นาทฺทสํ ความว่าท่านหมายเอาเทวทูตคนใดคนหนึ่งที่ถูกเขาส่งไปไว้ในสำนักของตน จึงกล่าวอย่างนี้ ครั้งนั้นพญายมรู้ว่า ผู้นี้ไม่กำหนดเนื้อความแห่งภาษิต ประสงค์จะให้เขากำหนด จึงกล่าวคำว่า อมฺโภ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒- หน้าที่ 508 บทว่า ตเมนํ นิรยปาลา นี้ พระเถระบางพวกกล่าวว่า พวกนายนิรยบาลไม่มีให้ทำกรรมกรณ์ ดุจรูปยนต์เท่านั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พวกนายนิรยบาลมีในนรก. ในอภิธรรมรับรอง ไว้โดยนัยมีอาทิว่า เออ ผู้ลงกรรมกรณ์มีอยู่. พวกนิรยบาลในนรกมีเหมือน ในมนุษยโลก ที่มีพวกลงโทษ.