Thai-Hindi 17 June 2023
- เรากำลังพูดเรื่องจิตประเภทต่างๆ ซึ่งมีแน่นอน เพราะว่ากำลังมี เป็นสิ่งที่ควรรู้อย่างยิ่งเพราะกำลังมีและไม่สามารถจะไม่มีได้เลยเพราะมีเหตุที่จะให้เกิดขึ้น
- ทุกอย่างที่เกิดต้องมีเหตุถ้าไม่มีเหตุ เกิดไม่ได้เลย สิ่งที่เกิดแล้วมีเหตุให้ต้องเกิด จิตเกิดแล้วเรายังไม่สามารถที่จะรู้เหตุทุกเหตุที่จะทำให้สภาพธรรมเกิดได้แต่เริ่มเข้าใจความจริงทีละเล็กทีละน้อยได้
- ขณะนี้เป็นธรรมทั้งหมด แต่ไม่รู้ว่าความละเอียดความวิจิตรของแต่ละ ๑ ซึ่งสั้นมากเกิดแล้วดับจะเป็นอะไรประเภทไหน เพราะฉะนั้น เราต้องเริ่มศึกษาธรรมทีละ ๑ เพื่อเข้าใจในความเป็นธรรมนั้นๆ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น
- จิตมีแล้วและทุกคนก็ได้ฟังคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า จิตเกิดแล้วดับสืบต่อกันตลอดเวลา
- จิตไม่มีรูปร่างให้เห็น ไม่สามารถจะกระทบสัมผัสได้ แต่จิตเกิดขึ้นรู้แล้วดับทันทีเร็วสุดที่จะประมาณได้
- การที่จะรู้ว่าจิตมีจริง เกิดขึ้นแล้วดับไป ก็ต่อเมื่อได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ได้ฟังคำของพระองค์รู้ละเอียดขึ้นว่าพระองค์ตรัสรู้สิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้จิตทุกประเภทจึงทรงแสดงความต่างกันของจิตอย่างละเอียดยิ่ง
- มีจิตขณะนี้เกิดขึ้นและดับ เพราะฉะนั้น ทั้งหมดต่างกันเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามที่ทรงแสดงไว้โดยนัยต่างๆ อย่างหนึ่งที่สำคัญพระองค์ตรัสไว้ว่า จิตต่างกันเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภท ๑ไม่มี “เหตุ” คือ ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีอโลภะ ไม่มีอโทสะ ไม่มีอโมหะเกิดร่วมด้วยเลย
- “เหตุ” เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้น จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมีน้อยกว่าจิตที่ประกอบด้วยเหตุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุทั้งหมดมี ๑๘ ดวง
- จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเกิดจากเหตุ เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นผลของเหตุคือ “ผลของกรรม” เกิดแล้วมีแล้วทุกขณะในชีวิตประจำวัน ถ้าจิตเหล่านั้นไม่มีในชีวิตประจำวันเราก็ไม่สามรถที่จะรู้จักจิตได้ เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นผลของอกุศลกรรมมี ๗ ประเภทและจิตที่เป็นผลของกุศลกรรมมี ๘ จิตทั้ง ๑๕ ดวงนี้ไม่ประกอบด้วยเหตุ
- ฟังอย่างนี้คิดอย่างไร หมายความว่าอย่างไร ผลของกรรมที่เป็นอกุศลมี ๗ และผลของกรรมที่เป็นกุศลกรรมทั้ง ๒ ไม่ประกอบด้วยเหตุมี ๘ รวมเป็น “อเหตุกวิบาก” ๑๕ ดวง ฟังอย่างนี้ยังไม่เห็นลึกซึ้งของความต่างกัน
- ผลของกรรมเป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ผลของกรรมที่เป็นกุศลที่ประกอบด้วยเหตุมี ๘เท่านั้นหรือเปล่า ผลของกุศลกรรมที่เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเป็นอเหตุกกุศลวิบาก ๘ นี่เป็นผลของกุศลกรรมเท่านั้นหรือมีผลมากกว่านี้ (มีแค่นี้) เดี๋ยวนี้ฟังใหม่ กุศลกรรมให้ผลเป็นกุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๘ ดวงเท่านั้นหรือ (มีเท่านี้) ไม่มีอย่างอื่นที่เป็นผลของกุศลกรรมที่ประกอบด้วยเหตุหรือ? เป็นกุศลกรรมให้ผลมากหรือให้ผลน้อยเพราะยากมากที่จะเป็นกุศลกรรม (อาช่าบอกว่าถ้าหมายถึงอเหตุกจิตก็มีแค่ ๘)
- แต่ก็ยังแสดงให้เห็นว่า แม้เป็นอเหตุกจิตผลของกุศลก็ยังมากกว่าผลของอกุศลใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะนั้น จึงมีคำว่าไม่ว่าจะเป็นอกุศลกรรมใดๆ ทั้งสิ้นสามารถให้ผลของอกุศลกรรมนั้นเกิดเป็นอกุศลวิบากอเหตุกะเท่านั้น ๗ ดวงไม่มากกว่านี้เลย
- เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมต้องละเอียดจริงๆ ที่จะไตร่ตรอง ทวนอีกครั้ง “อเหตุกจิต” จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมีเท่าไหร่ (๑๘) เป็นวิบากเท่าไหร่ (๑๕) ยังมีอเหตุกจิตคือจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุอีกเท่าไหร่ (๓) เป็นวิบากหรือเปล่า (ไม่) เป็นกุศลเป็นอกุศลหรือเปล่า (ไม่) เพราะฉะนั้น เป็นอะไรถ้าไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่วิบาก จิตนั้นเป็นอะไร (กิริยา) เก่งมากเลยนะคะที่ไม่ลืม
- เพราะฉะนั้น กิริยาจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมีเท่าไหร่ (๓) นี่เป็นเหตุที่เราจะต้องคิดว่า จิตมีมากกว่านี้ แต่เรากำลังพูดถึงจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเท่านั้น เพราะฉะนั้น กิริยาจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมี ๓ กิริยาจิตที่ประกอบด้วยเหตุก็ต้องมี
- เพราะฉะนั้น วันนี้เราจะเริ่มสนทนาให้เข้าใจกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกะไม่มีเหตุใดๆ เกิดร่วมด้วยเลย กำลังนอนหลับเป็นจิตอะไร (เป็นภวังค์) ภวังค์เป็นจิตอะไร (เป็นวิบาก) เพราะฉะนั้น เกิดแล้ว กรรมให้ผลไม่ใช่ขณะเดียวที่เกิด ยังให้ผลต่อไปที่จะต้องสืบต่อจากขณะแรกเป็นผลของกรรมไปเรื่อยๆ จนกว่าขณะนั้นจะมีการรู้อารมณ์อื่นที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์
- กำลังนอนหลับ รู้อะไรหรือเปล่า (ไม่รู้) มีจิตไหม (มี) จิตนั้นมีอารมณ์อะไร จิตนั้นรู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต เป็นคุณอ่าช่าหรือเปล่ากำลังนอนหลับ (ไม่) แมวหลับจิตอะไร (ภวังค์) เด็กเล็กๆ เพิ่งเกิดนอนหลับจิตเป็นอะไร (ภวังค์) แล้วตื่นไหม (ตื่น) เป็นชีวิตปรกติทุกวันๆ ใช่ไหม หลับแล้วไม่ตื่นได้ไหม (เป็นไปไม่ได้)
- เพราะฉะนั้น ขณะตื่นรู้อะไร (แล้วแต่จะเป็นเสียงจะเป็นอะไรก็ได้) เพราะฉะนั้นก่อนที่จะได้ยินเสียง กำลังเป็นภวังค์ทำกิจดำรงภพชาติ ไม่ได้ทำกิจเห็น ไม่ได้ทำกิจได้ยิน ถ้าไม่มีเสียงกระทบหู ไม่มีกลิ่นกระทบจมูก จะมีการได้ยิน การได้กลิ่นไหม (ไม่ได้)
- เพราะฉะนั้น ขณะที่เป็นภวังคจิต ใครทำอะไรไม่ได้เลย ต้องทำหน้าที่ภวังค์เกิดเป็นภวังค์ดำรงภพชาติจนกว่าจะมีปัจจัยที่จะทำให้ไม่ดำรงภพชาติแต่รู้อารมณ์อื่น
- กำลังเกิดดับเป็นผลของกรรมทำหน้าที่ของภวังค์ ใครก็เปลี่ยนไม่ได้ แต่เมื่อมีเสียงกระทบหูจะต้องมีจิตรู้ว่าเสียงกระทบหูไม่ใช่ภวังค์
- ถ้าไม่มีอารมณ์อื่นกระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตต้องเป็นภวังค์ต่อไป แต่ชีวิตไม่ได้เป็นอย่างนั้น ชีวิตเป็นอย่างนี้ คือ บางขณะเป็นภวังค์ บางขณะรู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์
- จิตกำลังเป็นภวังค์จะให้เห็นไม่ได้เลย จะให้ได้ยินไม่ได้เลย แต่เมื่อมีเสียงกระทบหูขณะนั้นเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นไม่ได้ทำกิจภวังค์ ถ้าไม่ตื่นจะไม่รู้เลยว่ามีอะไรมากระทบ ต้องไม่ลืมถ้าเป็นภวังค์จะไม่รู้เลยว่ามีอะไรมากระทบ แต่เมื่อมีเสียงกระทบ จิตที่เกิดขึ้นรู้ว่ามีสิ่งที่กระทบหูเป็นจิตที่ไม่ใช่ภวังค์ จิตนั้นเกิดขึ้นรู้ว่ามีเสียงกระทบหู
- จิตเป็นสภาพรู้เมื่อเสียงกระทบหูเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นรู้เสียงที่กระทบหู จิตขณะนั้นไม่ได้ทำกิจภวังค์ จิตนั้นเกิดขึ้นยังไม่เห็นแต่รู้ว่ามีสีกระทบตาหรือว่าถ้าได้ยินก็มีเสียงกระทบหู
- เสียงที่ไม่น่าพอใจกระทบหูได้ไหม (ได้) กลิ่นที่น่าพอใจกระทบจมูกได้ไหม รสที่ไม่น่าพอใจกระทบลิ้นได้ไหม จิตที่เกิดต่อจากภวังค์จิตเมื่อมีสิ่งกระทบ ยังไม่ได้รู้สิ่งนั้น ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยินเพียงแต่รู้ว่ามีสิ่งนั้นกระทบทางนั้น จิตขณะนั้นไม่ได้ทำภวังคกิจแต่ทำ “อาวัชชนกิจ” หมายความว่า รู้ว่าอารมณ์กระทบทางไหน ขณะนั้นจิตไม่ได้รู้อย่างที่รู้คำเดี๋ยวนี้แต่เป็นจิตที่เป็นภาวะที่เกิดรู้สิ่งที่กระทบ
- จิตที่รู้อารมณ์ที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ ทางจึงชื่อว่า “ปัญจทวาราวัชชนจิต” ทำอาวัชชนกิจทางหนึ่งทางใดใน ๕ ทาง
- จิตที่รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดใน ๕ ทางที่ไม่ได้ทำภวังค์กิจแต่ทำอาวัชชนกิจไม่ใช่วิบากจิตไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิตเป็นกิริยาจิต
- เพราะฉะนั้น อเหตุกจิตทั้งหมดมีกี่ดวง (มี ๑๘) ขณะนี้เป็นวิบากจิต ๑๕ ดวงและเป็นกิริยาจิตที่เป็นอาวัชชนะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ๑ ดวงเป็นปัญจทวาราวัชชนะ และที่รู้อารมณ์ที่กระทบใจไม่ใช่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กายอีก ๑ “มโนทวาราวัชชนจิต”
- เพราะฉะนั้น เป็นชีวิตประจำวันที่ทำให้เริ่มเข้าใจว่า เป็นธรรมทั้งหมด เป็นกิจการงานของจิตทั้งหมดไม่มีเรา
- วันหนึ่งๆ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไมรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึกเอง คิดนึกเกิดขึ้นได้ไหม (เป็นได้)
- จิตที่เกิดก่อนที่จะรู้อารมณ์ที่คิดเป็นจิตอะไร (นั่นก็เป็นอาวัชชนะ)
อาวัชชนะมี ๒ เป็นอาวัชชนะอะไร (มโนทวาราวัชชนะ) ทำกิจอะไร (รู้อารมณ์ที่กำลังกระทบใจ) ไม่ใช่อย่างนั้นหมายความว่า เป็นจิตที่รู้อารมณ์ทางใจที่กระทบใจ
- เพราะฉะนั้น “แมว” มีอาวัชชนจิตไหม (มี) เป็นจิตชาติอะไร (กิริยา) กิริยาจิตคืออะไร (จิตที่ไม่ใช่เป็นกุศล อกุศล หรือวิบาก)
- เพราะฉะนั้น วิบากจิตทำอาวัชชนกิจได้ไหม (ไม่ได้) ขณะนี้คนเห็น นกเห็น แมวเห็น จิตที่เกิดเป็นอาวัชชนจิตต่างกันหรือเหมือนกัน (เหมือนกันหมดเป็นกิริยาจิต)
- ถ้าไม่มีรูปร่างจะรู้ไหมว่า เป็นคน เป็นแมว หรือเป็นนก (ถ้าไม่มีรูปก็ไม่รู้) ต่างกันตรงไหนแม้ไม่มีรูปต่างกันตรงไหน (ถ้าตรงเห็นก็ไม่สามารถแยกได้ว่า แมวเห็นหรือคนเห็น) เพราะฉะนั้น มีอะไรที่ต่างกัน (ถ้าไม่คิดก็ไม่ทราบ)
- ไม่ได้คิด ถามว่า มีการเกิด มีเป็นภวังค์ มีปัญจทวาราวัชชนะ และมีเห็นเป็นต้น ต่างกันตรงไหนระหว่างคนกับนกกับจระเข้กับงู (ต่างกันตรงภวังค์ เป็นผลของกุศลกรรม ๑ เป็นผลของอกุศลกรรม ๑ ของแมวก่อนอาวัชชนะเป็นภวังค์เป็นผลของอกุศลกรรม ถ้าเป็นคนก็เป็นผลของกุศลกรรม)
- ถูกต้อง แต่ต้องละเอียดกว่านี้อีก เพราะฉะนั้น กุศลมีมากไหม (ต่างกัน) เพราะฉะนั้น กุศลกรรมอย่างอ่อนที่สุดสามารถทำให้เกิดได้ไหม (ได้) ทำให้จิตที่ปฏิสนธิของกุศลอย่างอ่อนที่สุดเป็นจิตที่เป็นอะไรที่เป็นอเหตุกะเกิดขึ้นทำกิจปฏิสนธิ (ถ้าเป็นมนุษย์ปฏิสนธิภวังค์จุติต้องมีเหตุ)
- ต้องมีเหตุแน่นอนแต่เหตุต่างกันหรือเปล่า (ต่างกัน) เพราะฉะนั้น เราถามค่อยๆ ถามให้ค่อยๆ คิดเขาจะคิดออกด้วยตัวของเขาเอง คนเราเกิดมาต่างกันไหม ต่างกันอย่างไรบ้าง
- ไม่ใช่เรียนสำหรับจำแต่ให้เรียนให้เข้าใจความจริงซึ่งเป็นความจริงที่รู้ได้ตลอดเวลา (เข้าใจว่าเป็นมนุษย์เป็นผลของกุศลกรรมแต่ต่างกันตรงที่เห็นคือบางคนเกิดมารวย เกิดมาจน บางคนมีปัญญา บางคนพิการ บางคนเป็นพระราชา บางคนเป็นยาจก)
- มีเหตุที่จะให้เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า (มี) เพราะฉะนั้นคนสวยกับคนไม่สวยปฏิสนธิจิตเป็นอะไร (เหตุต่างกัน) เพราะฉะนั้นฟังคำถาม คนสวยกับคนไม่สวยเกิดต่างกันจิตอะไรทำให้ทั้ง ๒ คนนี้เกิด (ปฏิสนธิที่เป็นกุศลวิบาก) เป็นอเหตุกสันตีรณะได้ไหม (อาจจะเป็นไปได้)
- ไม่ใช่ “อาจ” ธรรมไม่ใช่อาจแต่ธรรมต้องเป็นไปตามเหตุและผล (ได้)
- เราเรียนทำไม เราเรียนเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป ไม่ใช่รีบเรียนคำเยอะๆ เรียนชื่อมากๆ แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมีตั้งแต่เกิดจนตาย
- คนที่หวังดีต้องการให้คนอื่นได้เข้าใจ เป็นความเข้าใจของเขาเองแม้ว่าจะยากละเอียดลึกซึ้งแต่เป็นความเข้าใจของเขาได้ถ้าเขาไตร่ตรอง
- เกิดเป็นผู้ชาย เกิดเป็นผู้หญิง จิตอะไรเกิด? เกิดเป็นผู้ชายเกิดเป็นผู้หญิงปฏิสนธิจิตเป็นอุเบกขาสันตีรณะหรือ?
- คุณอาช่าเกิดเป็นผู้หญิงปฏิสนธิจิตเป็นอะไร? คุณอาช่าพิการหรือเปล่า ตาบอดหรือเปล่า? (ไม่) หูหนวกหรือเปล่า (ไม่) แขนขาดขาขาดพิการแต่กำเนิดหรือเปล่า (ไม่) เพราะฉะน้้น ปฏิสนธิจิตของคุณอาช่าเป็นอะไร? ทุกคนเกิดมาด้วยอุเบกขาสันตีรณปฏิสนธิจิตหรือ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้า?
- กุศลกรรมให้ผลเป็นอุเบกขาสันตีรณปฏิสนธิเท่านั้นหรือ (อาจจะเป็นโสมนัสสันตีรณะ) คิดเองหมด ไม่ได้เข้าใจที่ได้ฟังเรื่อง “อเหตุกจิต” จิตที่ไม่ประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะหรืออโลภะ อโทสะ และปัญญา
- ทบทวนตั้งแต่ต้นอเหตุกจิตคือจิตอะไร (จิตที่ไม่มีเหตุ) เป็นกุศลได้ไหม เป็นอกุศลได้ไหม ถ้าทุกคนเกิดด้วยสันตีรณกุศลวิบากจะต่างกันไหม ถ้าทุกคนเกิดด้วยอเหตุกสันตีรณกุศลวิบากจิต ทุกคนจะต่างกันไหมหรือจะเหมือนกัน (ยังต่างกันได้) อะไรต่างกัน (เช่นเกิดมาเข้าใจ ไม่เข้าใจต่างกัน) ถ้าไม่มีเหตุต่าง ผลจะต่างไหม (เพราะเหตุต่างกันผลจึงต่างกัน
- เพราะฉะนั้นกุศลที่น้อยมากมีอกุศลมากกับกุศลที่มีกำลังมากผลจะต่างไหม (ต่างกัน) เพราะฉะนั้น ต้องฟังธรรมละเอียดทุกคำ จึงเข้าใจเหตุผลของจิตที่ประกอบด้วยเหตุเป็นอย่างไรและจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเป็นอย่างไร
- ต่อไปนี้ต้องฟังเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่ฟังเพื่อจะตอบถูก เพราะฉะนั้นจิตต่างกันทุกขณะหรือเหมือนกันทุกขณะ (ต่างกัน) เพราะอะไร (เพราะกิจ) เพราะไม่ใช่ขณะเดียวกัน
- เพราะฉะนั้น ขณะโกรธต่างกับขณะไม่โกรธใช่ไหม (ต่างกัน) ถ้าทำความดีมากๆ ผลของความดีมากๆ มีไหม (มี) ผลของกรรมดีมากๆ กับผลของกรรมดีน้อยๆ ต่างกันไหม (ต่างกัน) ขณะที่มีปัญญาเกิดกับขณะที่ไม่มีปัญญาเกิดต่างกันไหม (ต่างกัน)
- ถ้าตลอดชีวิตไม่มีปัญญาเกิดเลยให้ผลทำให้เกิดได้ไหม จิตที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยเป็นจิตที่ทำกุศล เป็นจิตที่ดีงามแต่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยทำให้เกิดผลคือเกิดปฏิสนธิได้ไหม จิตที่เป็นจิตที่ดีแต่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยทำให้ปฏิสนธิเกิดขึ้นได้ไหม (ได้) และจิตที่ดีที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยขณะนั้นให้ผลทำให้ปฏิสนธิเกิดได้ไหม (ได้)
- จิตที่ดีงามแต่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยทำให้เกิดปฏิสนธิ จิตที่ดีงามมีปัญญาเกิดร่วมด้วยทำให้ปฏิสนธิเกิดขึ้นต่างกันอย่างไร (ต่างกัน) ต่างกันแสดงให้เห็นว่า ปฏิสนธิต่างๆ กันไปตามเหตุใช่ไหม (ต่างกัน)
- เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิไม่ได้มีแต่เฉพาะอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากใช่ไหม (เป็นอย่างนั้น) ต่อไปนี้จะคิดว่า ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ฉลาดหรือไม่ฉลาดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ปฏิสนธิด้วยสันตีรณอุเบกขา ไม่มีความคิดอย่างนี้อีกแล้วใช่ไหม (ใช่) นี่แสดงว่า เริ่มรู้จักธรรม เริ่มเข้าใจความละเอียดของธรรมเริ่มมั่นคงในเหตุผล
- ต้องละเอียดกว่านี้มาก ต้องเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะสามารถละความเห็นว่าเป็นเราเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ ต้องตรงต่อความเป็นจริงด้วยความละเอียด ไม่คิดเองแต่ต้องตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ นี่เป็นเหตุที่ทุกคนที่ไม่เคารพพระธรรมเข้าใจธรรมผิดเพราะคิดเอง
- เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตมีมากกว่าอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากและอกุศลวิบากตามเหตุใช่ไหม แต่ต้องมั่นคงว่าอะไรเป็นความต่างของอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากและกุศลวิบากที่ทำให้เกิด
- ผลของอกุศลกรรมทั้งหมดทำให้ไม่สามารถที่จะเกิดเป็นคนที่มีปัญญา เป็นเทวดา ฯลฯ ได้เลย สามารถจะเกิดเพียงตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้น สันตีรณกุศลวิบาก เป็นผลของกุศล แต่เป็นผลของกุศลที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ เพราะฉะนั้น จะทำให้เหมือนคนที่เป็นผลของกุศลที่มีกำลังไม่ได้
- เพราะฉะนั้น ผลของอกุศลกรรมที่ทำให้เป็นอกุศลวิบากที่เกิดมีกี่ดวง (ทั้งหมดรวมกันมี ๗) ถามว่าที่ทำปฏิสนธฺจิตมีกี่ดวง (๑) เพราะฉะนั้น คนปฏิสนธิจิตด้วยอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากได้ไหม (เป็นไปไม่ได้) ปฏิสนธิของงู นก ปลา เป็นกุศลวิบากได้ไหม (ไม่ได้)
- ต้องอย่าลืมกุศลมีหลายระดับ อย่างอ่อนที่สุดจนถึงกุศลที่มีกำลังประกอบด้วยปัญญาสูงสุดต่างกัน
- ผลของกรรมที่มีกำลังที่ประกอบปัญญาสามารถรู้ความจริงสามารถรู้ธรรม ผลของกรรมนั้นจะเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตของชาติต่อไปเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากได้ไหม (ขอทวนใหม่)
- กุศลกรรมคือจิตที่ีมีความดีขณะนั้นเกิดร่วมด้วยและมีความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏถูกต้องด้วยรู้อะไรเป็นจิตอะไรเป็นเจตสิก ผลของกรรมนี้จะทำให้ปฏิสนธิเป็นอเหตุกสันตีรณกุศลวิบากได้ไหม (ไม่ได้)
- เพราะฉะนั้น กุศลกรรมที่ดีมาก แต่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยจะทำให้ปฏิสนธิจิตเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากได้ไหม (ไม่ได้)
- จิตที่ประกอบด้วยปัญญา ทำให้เกิดปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาได้ไหม (ไม่ได้)
- ผลของกุศลกรรมคนที่ทำความดีมากๆ แต่ไม่เข้าใจธรรมเลย ไม่รู้ความจริงเลย ไม่สนใจที่จะเข้าใจด้วย กุศลนั้นสามารถทำให้ปฏิสนธิจิตของเขาเป็นผลของกุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญาได้ไหม (ไม่ได้)
- ตอนนี้เริ่มพิจารณาไตร่ตรองด้วยความเข้าใจที่ต้องเป็นเหตุเป็นผลเมื่อเข้าใจแล้วจะไม่ลืมเลย เพราะฉะนั้นเราเริ่มเข้าใจสิ่งที่มีจริงตามลำดับ
- ไม่รู้เลยว่า ทำไมเกิดเป็นนก ทำไมเกิดเป็นคน ทำไมเกิดเป็นปลา แต่เมื่อเข้าใจธรรมแล้วก็รู้ว่า มีเหตุที่จะให้เป็นไปอย่างนั้นเพราะฉะนั้นเรารู้ว่าเกิดแล้วก็กระทำกรรมต่างๆ กันก็จะให้ผลต่างๆ กัน
- รู้ว่า ขณะนี้กำลังฟังเพิ่มเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ มีธาตุรู้ซึ้งเป็นจิตและเจตสิกหลากหลายมากตามเหตุตามปัจจัย
- เราเรียนเรื่องจิตที่มีกำลังอ่อนซึ่งให้ผลตามกำลังของจิต ทั้งวันส่วนใหญ่ไม่มีใครรู้ว่าเป็นอกุศลจิตและวิบากจิต
- จากการได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำให้รู้ว่า ทุกวันที่มีชีวิตอยู่เป็นผลของกรรมส่วนหนึ่งและเป็นกรรมที่เป็นอกุศลส่วนหนึ่ง
- เมื่อเหตุต่างกันผลก็ต้องต่างกัน การเห็นเห็นต่างกัน การได้ยินได้ยินต่างกัน ทุกคนอยากเห็นอยากได้ยินสิ่งที่น่าพอใจแต่เลือกไม่ได้ต้องเป็นไปตามเหตุที่ได้กระทำแล้ว
- เหตุที่ไม่ดีเป็นอกุศลเริ่มตั้งแต่เกิดเป็นปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรมไม่ดีทำให้เกิดเป็นมนุษย์ไม่ได้ แต่ต้องเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดในนรก เกิดเป็นเปรต
- ทุกคนมีกรรมที่ได้ทำไว้ต่างๆ กัน เพราะฉะนั้น เกิดแล้วเห็นเป็นผลของกุศลกรรมบ้างอกุศลกรรมบ้างไม่มีใครทำให้เห็นสิ่งที่ดีมากๆ สวยงามเกิดได้นอกจากเป็นผลของกรรมดีที่ได้ทำแล้ว
- ไม่มีใครอยากเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นทุกข์แต่เหตุที่ไม่ดีได้ทำไว้แล้วจึงเป็นเหตุให้เกิดผลที่ไม่ดีต้องเห็นต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องรู้สิ่งที่กระทบกายที่ไม่น่าพอใจ
- ทุกคนเข้าใจง่ายๆ สั้นๆ ว่าเกิดมาต่างกันเพราะผลของกรรม ได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญก็เป็นผลของกรรมแต่นั่นเป็นสิ่งที่ทุกคนพอจะเข้าใจได้แต่ความจริงละเอียดลึกซึ้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ได้แก่จิตประเภทอะไรขณะไหน
- ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย จะรู้ไหมว่า ขณะไหนเป็นผลของกรรม แต่คิดเองไม่ได้เลย เพราะธรรมละเอียดลึกซึ้งมาก
- ถ้าถามว่า “คิด” เป็นผลของกรรมหรือเปล่าจะตอบว่าอย่างไร (ไม่เป็น) ถูกต้อง เพราะฉะนั้น วันนี้อะไรเป็นผลของกรรม (มีเห็น ได้ยิน ลิ้มรส สัมผัสทางกาย ได้กลิ่นที่เป็นกุศลอกุศลและมีภวังค์)
- จิตที่เกิดก่อนเห็นเป็นผลกรรมหรือเปล่า อย่าลืมจิตที่เกิดก่อนจิตเห็นเป็นผลของกรรมหรือเปล่า (ไม่เป็น) เป็นอะไรเป็นจิตประเภทไหน (เป็นกิริยา) ต้องไม่ลืมเลยดีมากที่นึกได้เพราะได้ฟังตอนต้นก่อนที่เราจะพูดเรื่องอื่น
- เพราะฉะนั้น สำหรับอเหตุกจิตทั้งหมด รู้จักแล้วกี่ดวง (ปัญจวิญญาณ ๑๐ สัมปฏิจฉันนะ ๒สันตีรณะ ๓) สันตีรณะเท่าไหร่ (๓) เพราะฉะนั้นทั้งหมดมีอเหตุกะที่ได้ฟังแล้วได้เข้าใจแล้วทั้งหมดเท่าไหร่ (ทั้งหมด ๑๘) ๑๘ แล้วหรือทั้งหมดที่พูดแล้วแล้วที่ยังไม่ได้พูดมีไหม (๑๗) เพราะฉะนั้นยังเหลืออีก ๑เป็นชาติอะไร (กิริยา)
- เพราะฉะนั้น วันนี้ต้องไม่ลืมว่า มีกิริยาจิตอีกหนึ่งที่เรายังไม่ได้พูดถึงเพราะว่าเราจะต้องพูดถึงด้วยความเข้าใจไม่ใช่บอกชื่อแล้วให้จำ
- เพราะฉะนั้น ถามว่า คุณอาช่า คุณมธุ มีสันตีรณกุศลวิบากหรือเปล่า (ถ้าเห็นอะไรที่สวยมากก็เป็นไปได้) ถูกต้อง แล้ววันนี้มีอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากหรือเปล่า? แล้วทั้งหมดจะมีอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากไหม (ทั้งหมดไม่ได้) ไม่มีเลยใครจะทำให้เกิด ก็ไม่ได้เป็นไปตามเหตุปัจจัยตรงตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า จิตที่เป็นอเหตุกะมี ๑๘ ดวง เป็นกุศลวิบาก อกุศลวิบาก และกิริยา
- เพราะฉะนั้น คราวต่อไปเปลี่ยนกันได้ไหมให้คุณอาช่า คุณอาคิ่ล คุณมานิช ฯลฯ เป็นคนถามดิฉัน ให้ดิฉันตอบ จุดประสงค์เพื่อให้ดิฉันตอบ หมายความว่า คนถามต้องเข้าใจก่อนที่เราจะพูดถึงอเหตุกะดวงสุดท้ายขอให้ทุกคนถามแล้วฟังว่าที่ดิฉันตอบถูกหรือผิดต้องบอกด้วยเพราะอะไร
- สำหรับวันนี้ก็ยินดีในบารมีที่เป็นวิริยะบารมี ต้องมั่นคงในสัจจบารมีเป็นอธิษฐานบารมีต่อไป สวัสดีค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณอัญชิสา (คุณสา) ที่ช่วยเหลือตรวจทาน
ยินดีในกุศลของคุณสุคินและผู้ร่วมสนทนาชาวอินเดียทุกท่าน
กราบขอบพระคุณอาจารย์คำปั่น กราบอนุโมทนาในกุศลทุกประการครับ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ