ปรารภ คืออะไร ปรารถความเพียรคืออะไร
โดย : WS202398 วันที่ : 22-06-2550
ปรารถ คือ เริ่มต้น ริเริ่ม ปรารถความเพียร คือ ขณะที่เพียร ชื่อว่าปรารถความเพียร หมายถึง ความขยัน ไม่เกียจคร้านในการเจริญกุศล ไม่เห็นแก่นอน คำอธิบายวิริยะหรือความเพียรจากพระไตรปิฎก ดังนี้
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 358
[๒๘] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะอินทรีย์คือ วิริยะ วิริยพละ สัมมา.วายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ในสมัยนั้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 47
ข้อความบางตอนจากอปัณณกสูตร
ก็ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอนอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เวลากลางวัน ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ๔ ด้วยการจงกรม ๕ ด้วยการนั่ง เวลากลางคืน ตอนยามต้น ก็ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตอนยามกลาง สำเร็จสีหไสยา โดยข้างเบื้องขวาซ้อนเท้าให้เหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ทำอุฏฐานสัญญา ไว้ในใจ ตอนยามปลาย กลับลุกขึ้นชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอน
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ปรารภ คืออะไร ปรารภความเพียรคืออะไร
ความเพียร หรือวิริยเจตสิก (ต้องเข้าใจอภิธรรมจะทำให้เข้าใจพระสูตรถูกต้อง) วิริยเจตสิก เกิดกับจิตเกือบทุกดวง เป็นปกิณณกเจตสิก ดังนั้น เพียรทุกอย่างดี ถ้าไม่มีปัญญาครับ เพียรที่เป็นไปในอกุศล เพียงปฏิบัติโดยไม่เข้าใจหนทางเพียรปฏิบัติผิด ควรเพียรไหม ชื่อว่าปรารภความเพียรโดยนัยที่พระพุทธเจ้าแสดงหรือเปล่า ไม่แน่นอนครับ เพราะขณะนั้นเป็นอกุศลและไม่มีปัญญา ขณะที่อ่านธรรมในเว็ปอยู่ มีความเพียรไหม มีครับ วิริยเจตสิกเกิดกับจิตเกือบทุกดวง ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจ มีความเพียรไหม มีครับ แต่เพียรด้วยความเป็นอกุศลเพราะไม่เข้าใจ ขณะอ่านแล้วเข้าใจ มีความเพียรไหม มีครับ เป็นไปในความเห็นถูกเป็นวิริยเจตสิกที่เกิดกับกุศลครับ ประการที่สำคัญที่สุดที่ต้องย้ำคือ ทุกอย่างเป็นธรรม วิริยะหรือความเพียร เป็นธรรม หรือเป็นเรา เป็นธรรม เมื่อเป็นธรรม ถามว่า มีตัวตนที่จะไปทำความเพียรอะไรหรือเปล่า ไม่มีครับแต่เป็นหน้าที่ของธรรมนั้นเองที่ทำความเพียร จึงไม่ต้องไปพยายามว่า ต้องปรารภความเพียรนะ พยายามเพียรด้วยความป็นตัวตน ทั้งๆ ที่วิริยเจตสิกก็เกิดกับจิตเกือบทุกดวงอยู่แล้ว ก็เพียรอยู่แล้ว แม้ขณะที่สติปัฏฐานเกิดก็มีวิริยเจตสิกเกิดด้วย ก็มีการปรารภความเพียร แล้วที่ระลึกลักษณะของสภาพธัมมะว่าไม่ใช่เรา โดยไม่ต้องไปมีตัวตนอีกทีที่จะเพียรครับ
สรุปก็คือ วิริยเจตสิกความเพียร ตามที่มูลนิธิยกมาในพระสูตร และอภิธรรมนั้นมีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล ถ้าการปรารภความเพียรจึงเป็นการอบรมวิปัสสนา (สติปัฏฐาน) ซึ่งก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยและต้องมีความเข้าใจถูก (มีปัญญา) ไม่ใช่จะเพียรอย่างเดียวครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ
เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
ปรารภความเพียรมีทั้งอกุศลและกุศล [วัชชิยสูตร]
ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ก็ชื่อว่าปรารถความเพียร ปรารถความเพียร เริ่มต้นด้วยความไม่ประมาทในการฟังธรรม ไม่ประมาทในการเจริญกุศล เพราะคิดว่าเรายังมีชีวิตอยู่อีกนาน แต่ความจริงไม่นานก็ต้องจากโลกนี้ไป พระพุทธเจ้าสอนให้ระลึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก
ขออนุโมทนาครับ อัศจรรย์นัก ในคำอธิบายที่แจ่งแจ้ง
ขออนุโมทนา ครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ