๑. เคยได้ฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ เกี่ยวกับความหมายของคำ ๒ คำนี้ ท่านให้ความกระจ่างว่า "นา-ม" ตามศัพท์แปลว่า น้อมไป ส่วน "อา-ร-ม-ณ" แปลว่า ยึดเหนี่ยว จึงทำให้เข้าใจชัดขึ้นว่า จิตซึ่งเป็นนามก็จะน้อมไปเข้าไปหาอารมณ์เอง ซึ่งมีลักษณะที่ยึดเหนี่ยวจิตเอง เช่นกัน จึงเข้าใจคำว่า "การน้อมระลึก" ของสติ ว่าไม่ใช่เป็นการไปทำ แต่จะเป็นไปเองตามนัยดังกล่าวนี้ เรียนถามว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องไหมคะ? ถ้าอย่างไรช่วยแก้ไขให้ความกระจ่างด้วยค่ะ
๒. ตามนัยข้างบน กรุณาให้ความหมายที่ตรงของคำว่า "รู-ป" เห-ตุ และ ปัจ-จ-ย" ด้วย
ขอบพระคุณมากค่ะ
๑. นามธรรมเป็นสภาพน้อมไป คือรู้อารมณ์ สติเป็นนามธรรมกระทำกิจคือระลึกรู้ เกิดเพราะมีปัจจัยไม่ใช่ไปทำสติ
๒. คำว่า "รู-ป" หรือ "รูป" เพราะอรรถว่าย่อยสลายแตกดับ ไม่รู้อารมณ์มีปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ คำว่า "เห-ตุ" หรือ "เหตุ" เพราะอรรถว่า มีผลเกิดขึ้น คือเป็นไปด้วยเหตุนั้น (กรณะ) คำว่า "ปัจ-จ-ย" หรือ "ปัจจัย" เพราะอรรถว่า ผลย่อมอาศัยธรรมนั้นเกิดและเป็นไป (ขุททกนิกายมหานิเทส)
ขออนุโมทนาครับ