1. ผมเคยเปิดอ่านดูตอนหนึ่งของพระวินัย พระฉันน้ำปานะได้เมื่อน้ำนั้นสุกด้วยพระอาทิตย์ สุกด้วยพระอาทิตย์มีด้วยเหรอครับ
2. ถ้าพระฉันกาแฟและบอกว่าเมื่อเช้าไม่ได้ฉันอาหารเช้า อันนี้ผมประสบมากะตัวเอง และไม่กล้าจะกล่าวตักเตือนท่าน เพราะท่านบอกว่าไม่ได้ฉันอาหารเช้ามา ตอนนั้นเป็นช่วงบ่ายแก่ๆ และผมก็เห็นท่านกล่าวแบบไม่ได้มีความคิดที่ไม่ดี เพียงแต่มีความหิวและติดกาแฟท่านบอกว่าขอกินสักหน่อย และก็ฉันกาแฟ แต่ไม่ได้ทำบ่อยนะครับ อันนี้ผิดศีลหรือไม่ ถ้าผิดท่านต้องทำอย่างไรต่อ และถ้าท่านไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้นกับท่าน
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
1. ผมเคยเปิดอ่านดูตอนหนึ่งของพระวินัย พระฉันน้ำปานะได้เมื่อน้ำนั้นสุกด้วย พระอาทิตย์สุกด้วยพระอาทิตย์มีด้วยเหรอครับ
ในพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติข้อห้ามในเรื่องของการฉันน้ำปานะว่า ผารุสกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลมะปราง อย่าง อัมพปานะ อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร. สุกด้วยไฟ ไม่ควร.
เป็นการแสดงถึงว่า การทำสุกด้วยไฟไม่สมควรกับพระภิกษุและผิดพระวินัย เพราะเอื้อต่อการที่จะต้องประกอบอาหาร และ มีอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มขึ้น ทำให้เป็นผู้มักมาก ทรงห้ามการทำสุกด้วยไฟ แต่ทำน้ำปานะ สุกด้วยแสงอาทิตย์ควร หมายถึง เอาน้ำปานะ ไปตากแดด แดดที่แรง มีความร้อน ย่อมทำให้สุกได้ครับ การทำให้ร้อน เช่นนี้ ด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ ย่อมควร ไม่ต้องอาบัติ และ เป็นการไม่ต้องมีอุปกรณ์ประกอบกิจการงานมาก ดังเช่นคฤหัสถ์ครับ
2. ถ้าพระฉันกาแฟและบอกว่าเมื่อเช้าไม่ได้ฉันอาหารเช้า อันนี้ผมประสบมากะตัวเอง และไม่กล้าจะกล่าวตักเตือนท่านเพราะท่านบอกว่าไม่ได้ฉันอาหารเช้ามา ตอนนั้นเป็นช่วงบ่ายแก่ๆ และผมก็เห็นท่านกล่าวแบบไม่ได้มีความคิดที่ไม่ดี เพียงแต่มีความหิว และติดกาแฟท่านบอกว่าขอกินสักหน่อยและก็ฉันกาแฟ แต่ไม่ได้ทำบ่อยนะครับ อันนี้ผิดศีลหรือไม่ ถ้าผิดท่านต้องทำอย่างไรต่อ
- ผิดศีล ต้องอาบัติ เพราะกาแฟไม่ใช่น้ำปานะ ฉันหลังเที่ยงไม่ได้ ซึ่งถ้าผิดแล้ว ก็ต้องปลงอาบัติโดยการเห็นโทษนั้น แล้วแสดงคืนกับพระภิกษุรูปอื่น เพื่อความบริสุทธิ์ของศีลครับ และเห็นโทษที่จะไม่ทำต่อไป ก็สามารถแนะนำได้ แต่ก็ต้องเข้าใจว่าหากแนะนำแล้ว ก็แล้วแต่การสะสมมาของแต่ละบุคคล แต่ก็ได้ทำหน้าที่ของมิตร ที่จะชี้แจงในเหตุผลว่าอะไรควร อะไรไม่ควร และ ให้ปลงอาบัติ เป็นต้น เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ
พระสามารถฉันกาแฟ หรือเมล็ดทานตะวันหลังเที่ยงวันได้ไหม
น้ำปานะ
ปลงอาบัติ
โทษของการไม่ปลงอาบัติ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เห็นถึงความละเอียดลึกซึ้งของพระธรรมวินัย ว่าเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสจริงๆ โดยสิ่งที่จะเป็นเครื่องเตือนที่ดี ทำให้มีการน้อมประพฤติในสิ่งที่ถูกต้อง และเว้นจากสิ่งที่ผิด ก็คือ พระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง โดยเฉพาะพระวินัยแต่ละสิกขาบทนั้น พระองค์ทรงบัญญัติด้วยพระองค์เอง พระสาวกท่านอื่นๆ ก็ไม่สามารถบัญญัติพระวินัยได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรจะได้ศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะการศึกษา จะทำให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้มีที่พึ่ง ที่จะไม่กระทำผิด ไม่ย่ำยีพระธรรมวินัย เพราะขณะที่ล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัติก็ย่อมเป็นโทษแก่ผู้นั้น ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม
อาบัติที่ต้องเข้าแล้ว สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยได้ ด้วยการเห็นโทษแล้วกระทำให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ตามระดับขั้นของอาบัติประการนั้นๆ เช่น ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส ก็ต้องอยู่กรรม จึงจะพ้นได้ ถ้าต้องอาบัติปาจิตตีย์ อย่างในกรณีฉันอาหารในเวลาวิกาล ก็ต้องแสดงต่อหน้าพระภิกษุด้วยกัน ว่าจะตั้งใจสำรวมระวัง ไม่ล่วงสิกขาบทนี้อีก จึงจะพ้นได้ และเป็นที่น่าพิจารณาว่า ถ้าไม่เห็นโทษของการล่วงละเมิดสิกขาบทก็จะทำให้ล่วงละเมิดต่อไปยิ่งขึ้น ทำให้เป็นผู้ขาดความละอาย ขาดความเคารพยำเกรงต่อพระธรรม นั่นเป็นความอันตรายอย่างยิ่ง เพราะถ้ามรณภาพลง (ตาย) ในขณะที่ยังมีอาบัติอยู่นั้น ก็เป็นผู้มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเท่านั้น เป็นสิ่งที่จะประมาทไม่ได้เลยจริงๆ เพราะความเป็นบรรพชิตถ้ารักษาไม่ดี ก็มีแต่จะคร่าไปสู่อบายภูมิโดยส่วนเดียว ความเข้าใจพระธรรมเท่านั้น ที่จะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลที่ดี ครับ
...ขอบพระคุณ อ. ผเดิม และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ถ้าจะรักษาพระวินัย ก็ไม่ควรฉันกาแฟหลังเที่ยง เพราะกาแฟไม่ใช่น้ำปานะ ค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
1. การทำปานะให้สุกด้วยไฟ กรณีถ้าพระท่านไม่ได้ทำเองละ น้ำปานะนั้นจะรับเพื่อฉันได้มั้ย หากฉันไม่ได้เช่นเดียวกัน ถามว่า พวกน้ำผลไม้กล่อง UHT ทั้งหลาย ก็คงถวายพระไม่ได้ ด้วยใช่มั้ย?
2. เคยได้ยินว่า พระที่ฉันกาแฟ ท่านถือกาแฟ เป็นยาวชีวิก (คือจัดในหมวดยา) ซึงไม่ใช่ปานะ ไม่ทราบว่า กาแฟ จัดเป็นยาวชีวิกได้หรือไม่ เพราะทางการแพทย์ปัจจุบัน ชาก็ดี กาแฟก็ดี ล้วนมีฤทธฺิ์ทางยา ในการกระตุ้นสมองและระงับการเคลื่อนไหวของลำไส้และอื่นๆ และในสมัยพุทธกาลก็คงไม่มีกาแฟ จึงไม่ได้กล่าวถึงไว้อย่างชัดเจน