วรรคที่ ๑๐ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์
โดย บ้านธัมมะ  17 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42098

[เล่มที่ 81] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒

พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔

กถาวัตถุ ภาคที่ ๒

ทุติยปัณณาสก์

วรรคที่ ๑๐

นิโรธกถาและอรรถกถา 1375/234

รูปัง มัคโคติกถาและอรรถกถา 1379/238

ปัญจวิญญาณสมังคิมัคคภาวนากถาและอรรถกถา 1387/243

ปัญจวิญญาณากุสลาปีติกถาและอรรถกถา 1392/251

ปัญจวิญญาณา สาโภคาติกถาและอรรถกถา 1396/255

ทวีหิสีเลหิสมันนาคโตติกถาและอรรถกถา 1400/257

สีลังอเจตสิกันติกถาและอรรถกถา 1407/264

สีลัง น จิตตานุปริวัตตีติกถาและอรรถกถา 1418/270

สมาทานเหตุกถาและอรรถกถา 1424/274

วิญญัตติสีลันติกถาและอรรถกถา 1428/277

อวิญญัตติทุสลีลยันติกถาและอรรถกถา 1430/279


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 81]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 234

วรรคที่ ๑๐

นิโรธกถา

[๑๓๗๕] สกวาที เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุบัติยังไม่ทันดับ ขันธ์ ๕ ที่เป็นกิริยาก็เกิดขึ้นได้ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ ๑๐ ขันธ์ ๑๐ มาพบกันได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ ๑๐ ขันธ์ ๑๐ มาพบกันได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๗๖] ส. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุปบัติยังไม่ทันดับ ขันธ์ ๕ ที่ เป็นกิริยาก็เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ ๙ ขันธ์ ๙ มาพบกันได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ ๙ ขันธ์ ๙ มาพบกันได้ หรือ?


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 235

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๗๗] ส. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุบัติยังไม่ทันดับ ญาณอัน เป็นกิริยาก็เกิด ขึ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ ๖ ขันธ์ ๖ มาพบกันได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ ๖ ขันธ์ ๖ มาพบกันได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๗๘] ส. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุบัติ ดับไปแล้ว มรรคก็ เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ตายแล้ว ยังมรรคให้เกิดได้ บุคคลผู้ทำกาละ แล้ว ยังมรรคให้เกิดได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ นิโรธกถา จบ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 236

อรรถกถานิโรธกถา

ว่าด้วย ความดับ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความดับ. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใด ดุจ ลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ขันธ์ ๕ คือ นามขันธ์ ๔ อันถึงซึ่งการ นับว่าเป็นกิริยา หรือเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับภังคขณะ คือ ขณะแห่งการดับ ของภวังคจิตอันถึง ซึ่งการนับว่า ขันธ์ที่แสวงหาการเกิด เพราะว่า เมื่อขันธ์เหล่านั้นยังไม่เกิด ครั้นเมื่อภวังคจิตดับแล้ว ความขาดตอนของสันตติพึงมี ดังนี้ คำถาม ของสกวาทีว่าเมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุบัติ เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในบททั้งหลายแม้ทั้ง ๔ ว่า อุปปตฺเตสิเย แปลว่า เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุปบัติ นั้น เป็นสัตตมีเอกพจน์ลงในอรรถ แห่งสัตตมีพหูพจน์ ก็ในคำนี้ ท่านอธิบายว่า เมื่อขันธ์ ๕ อันแสวงหาซึ่ง การเกิดยังไม่ทันดับ. คำว่า ขันธ์ ๑๐ ท่านสกวาทีกล่าวด้วยสามารถ แห่งขันธ์ ๕ ที่แสวงหาการเกิด และขันธ์ ๕ ที่เป็นกิริยา หมายถึงขันธ์ ของพระอรหันต์ที่ไม่ต้องแสวงหาการเกิด.

ในปัญหาแรกนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยหมายเอาว่า ขันธ์ เหล่านั้น ชื่อว่ามี ๕ เท่านั้น ด้วยสามารถแห่งลักษณะของขันธ์ และด้วย สามารถแห่งกิริยา. ในปัญหาที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรอง หมายเอาความ ต่างกันแห่งขันธ์ ๕ ด้วยสามารถแห่งขันธ์ที่เกิดก่อนและเกิดทีหลัง และ ด้วยสามารถแห่งขันธ์ที่แสวงหาการเกิดและขันธ์ที่เป็นกิริยา คือขันธ์ ที่ไม่แสวงหาการเกิด. ถูกสกวาทีถามว่า เป็นความประชุมแห่งผัสสะ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 237

๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ก็ตอบปฏิเสธเพราะความไม่มีข้ออ้างในพระสูตร. คำว่า ขันธ์ ๔ ที่เป็นกิริยา ความว่า สกวาทีถือเอานามขันธ์ ๔ ที่เป็น กุศล หรือเป็นอกุศลโดยเว้นจากรู

ป. คำว่า ญาณอันเป็นกิริยา ได้แก่ ญาณที่ไม่มีอารมณ์ของพระอรหันต์ในขณะที่ท่านถึงพร้อมด้วยจักขุ- วิญญาณจิตที่ปรวาทีรับรองแล้ว. คำถามว่า มีขันธ์ ๕ ที่แสวงหา อุปบัติดับไปแล้ว มรรคก็เกิดขึ้นได้หรือ เป็นของปรวาที คำตอบรับรอง เป็นของสกวาที เพราะเมื่อขันธ์ ๕ อันแสวงหาการเกิดยังไม่ดับแล้ว มรรคก็ไม่เกิดขึ้น. คำถามโดยเลศนัยของปรวาทีว่า ผู้ตายแล้วยังมรรค ให้เกิดได้ ... หรือ สกวาทีตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ก็เพราะว่า จำเดิมแต่ปฏิสนธิจนถึงจุติจิตสัตว์ชื่อว่ามีชีวิตอยู่นั่นแหละ ดังนี้.

อรรถกถานิโรธกถา จบ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 238

รูปังมัคโคติกถา

[๑๓๗๙] สกวาที รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูปนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของรูปนั้นมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจของรูปนั้นไม่มี มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของรูปนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความ พร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค.

[๑๓๘๐] ส. สัมมาวาจา เป็นมรรคหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 239

ส. หากว่า สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ นึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัมมาวาจา เป็นมรรค.

[๑๓๘๑] ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรคหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้น ไม่มี มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัมมาอาชีวะเป็นมรรค.

[๑๓๘๒] ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้นมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้น มีอยู่หรือ?


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 240

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และ สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ สัมมาอาชีวะนั้นมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ

[๑๓๘๓] ส. สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็น ธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้น มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็น ธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้น มีอยู่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และ สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ สัมมาอาชีวะนั้น มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๘๔] ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 241

ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้นไม่มี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรม ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้นไม่มี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๘๕] ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และ สัมมาอาชีวะนั้นเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ สัมมาอาชีวะนั้นไม่มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมไม่มี อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้นไม่มี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๘๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียง ด้วยมรรค เป็นมรรค หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 242

มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความพร้อม เพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค.

รูปังมัคโคติกถา จบ

อรรถกถารูปังมัคโคติกถา

ว่าด้วย รูปเป็นมรรค

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่อง รูปเป็นมรรค. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีลัทธิ ดุจลัทธิของนิกายมหิสาสกะ นิกายสมิติยะ และนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลาย ว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นรูป ดังนี้ คำถามของ สกวาที รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค โดยหมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าว คำว่า รูปนั้นเป็นธรรมมีอารมณ์ เป็นต้น เพื่อจะท้วงปรวาทีนั้นด้วย คำว่า ถ้าว่า สัมมาวาจา เป็นต้น เป็นรูป ไม่เป็นวิรตีตามลัทธิของท่าน ไซร้ มรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นสภาพที่มีอารมณ์เป็นต้น ฉันใด รูป แม้นั้นก็พึงเป็นฉันนั้น ดังนี้. ในปัญหานั้น พึงทราบคำปฏิเสธ และคำ ตอบรับรองโดยสมควรด้วยสามารถแห่งลัทธิของปรวาที. คำที่เหลือใน ที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถารูปังมัคโคติกถา จบ


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 243

ปัญจวิญญาณสมังคิมัคคภาวนากถา

[๑๓๘๗] สกวาที บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕ ยังมรรคให้เกิดได้ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ คือที่อาศัย มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้มีความพร้อม เพรียงด้วยวิญญาณ ๕ ยังมรรคให้เกิดได้.

[๑๓๘๘] ส. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่ ่เกิดขึ้นก่อนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายในเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกเป็น อารมณ์ มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นวัตถุ มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นอารมณ์ มีวัตถุต่างๆ มีอารมณ์ต่างๆ ไม่เสวยโคจรวิสัยแก่กันและกัน เกิดขึ้น โดยไม่มีการสนใจไม่ได้ เกิดขึ้นโดยไม่มีการทำไว้ในใจไม่ได้ เกิดขึ้น โดยไม่เจือด้วยสัมปฏิจฉันนจิตเป็นต้นไม่ได้ เกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกัน ไม่ได้ เกิดขึ้นในลำดับอันชิดแห่งกันและกันก็ไม่ได้ มิใช่หรือ? ฯลฯ วิญญาณ ไม่มีความผูกใจ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ ก็ต้องไม่กล่าว ว่าบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕ ยังมรรคให้เกิดขึ้นได้.

[๑๓๘๙] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕ ยังมรรค


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 244

ให้เกิดได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิดจักขุ วิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยจักษุและความเป็นของว่างเปล่า จึงเกิด จักขุวิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า เพราะอาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิด จักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ไม่มี

ส. คำว่า เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งหลาย จึงเกิดจักขุ วิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งหลาย จึง เกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า เพราะ อาศัยจักษุและความว่างเปล่าจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น.

[๑๓๙๐] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ยัง


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 245

มรรคให้เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ยัง มรรคให้เกิดได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ปรารภเวทนา ปรารภ สัญญา ปรารภเจตนา ปรารภจิต ปรารภจักษุ ฯลฯ ปรารภกาย ปรารภ เสียง ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ ยัง มรรคให้เกิดได้ และมโนวิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ยัง มรรคให้เกิดได้ และจักขุวิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ ยัง มรรคให้เกิดได้ และมโนวิญญาณปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้นหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ยัง มรรคให้เกิดได้ และจักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้น หรือ?


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 246

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ ยัง มรรคให้เกิดได้ และมโนวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ยัง มรรคให้เกิดได้ และจักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๙๑] ส. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย วิญญาณ ๕ ยังมรรคให้เกิดได้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ไม่ถือนิมิต ไม่ถือโดย อนุพยัญชนะ ฯลฯ ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายแล้ว เป็นผู้ ไม่ถือนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕ ก็ยังมรรคให้เกิดได้ น่ะสิ. ปัญจวิญญาณสมังคิมัคคภาวนากถา จบ


๑. ม.ม. ๑๒/๓๘๗, องฺ. จตุกฺก ๒๑/๓๗.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 247

อรรถกถาปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคกถา

ว่าด้วย ผู้พร้อมเพรียงด้วยปัญจวิญญาณเจริญมรรค

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง ผู้พร้อมเพรียงด้วยปัญจวิญญาณเจริญมรรค. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลาย ว่า การเจริญมรรคมีอยู่แก่ผู้พร้อมเพรียงด้วยปัญจวิญญาณ เพราะ อาศัยพระสูตรว่า ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อมไม่ถือเอาโดยนิมิต เป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ทีนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น เพื่อ ท้วงด้วยคำว่า ถ้าการเจริญมรรคมีแก่ผู้พร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕ นั้นไซร้ มรรคก็พึงมีคติอย่างวิญญาณ ๕ หรือวิญญาณ ๕ ก็พึงมีคติอย่าง มรรค แต่ปัญจวิญญาณเหล่านั้นไม่มีคติเช่นกับมรรค เพราะไม่มีพระนิพพาน เป็นอารมณ์ ทั้งมิใช่โลกุตตระ ถึงมรรคก็ไม่มีคติเช่นกับปัญจวิญญาณ เพราะสงเคราะห์กันโดยลักษณะแห่งปัญจวิญญาณเหล่านั้นไม่ได้ ดังนี้.

ในข้อนั้น พึงทราบอธิบายว่า ถ้าว่ามรรคภาวนาพึงมีแก่ผู้พร้อมเพรียง ด้วยปัญจวิญญาณไซร้ มรรคอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณใด มโนวิญญาณ แม้นั้นก็พึงมีแก่ผู้พร้อมเพรียงด้วยปัญจวิญญาณได้ ครั้นเมื่อความเป็น เช่นนี้มีอยู่ คำอันเป็นลักษณะนี้ใดท่านกล่าวว่า ปัญจวิญญาณมีธรรมที่ เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ เป็นต้น ท่านไม่พึงกล่าวคำนั้นอย่างนี้ ควรจะกล่าว ว่าวิญญาณ ๖ แต่ท่านไม่กล่าวอย่างนั้น กล่าวแต่เพียงคำว่า ปัญจวิญญาณ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ใครๆ ไม่พึงกล่าวว่ามรรคภาวนามีอยู่แก่ผู้พร้อมเพรียง ด้วยปัญจวิญญาณ ดังนี้. สำหรับในข้อนี้มีอธิบายเพียงเท่านี้เท่านั้น เพราะ ฉะนั้น สกวาทีจึงให้ปรวาทีรับรองลักษณะนั้น แล้วกล่าวว่า เพราะเหตุ


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 248

นั้นแล ท่านไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕ ยังมรรคให้เกิดได้ ดังนี้.

อีกนัยหนึ่ง วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ ส่วนมรรค แม้ไม่มีวัตถุก็เกิดได้ วิญญาณ ๕ เหล่านั้นมีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ มรรคมีอารมณ์อันใครไม่พึงกล่าว มีพระนิพพานเป็นอารมณ์อันใครๆ ไม่พึงกล่าวว่าพระนิพพานเกิด ว่าเกิดขึ้น วิญญาณ ๕ มีวัตถุอันเกิดก่อน มรรคแม้ไม่มีวัตถุก็เกิดได้ วิญญาณ ๕ เหล่านั้น มีอารมณ์เกิดก่อน มรรค ไม่มีอารมณ์เกิดก่อน วิญญาณ ๕ เหล่านั้นมีธรรมภายในเป็นวัตถุ มรรค แม้ไม่มีวัตถุก็เกิดได้ วิญญาณ ๕ เหล่านั้นมีธรรมภายนอกเป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งรูปเป็นต้น มรรคมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ วิญญาณ ๕ มีวัตถุธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นวัตถุ เพราะทำวัตถุอันยังไม่แตกดับให้ เป็นที่อาศัยแล้วเป็นไป มรรคแม้ไม่มีวัตถุก็เป็นไปได้ วิญญาณ ๕ เหล่านั้น มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นอารมณ์ เพราะปรารภรูปเป็นต้นอันยังไม่แตกดับ นั่นแหละเป็นไป มรรคมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ วิญญาณ ๕ เหล่านั้นมี วัตถุต่างๆ มรรคไม่มีวัตถุ หรือมีวัตถุหนึ่ง วิญญาณ ๕ เหล่านั้นไม่เสวย อารมณ์ของกันและกัน เพราะเป็นไปในอารมณ์ของตนๆ มีรูปารมณ์ เป็นต้น มรรคย่อมไม่กระทำรูปารมณ์เป็นต้นแม้สักอย่างหนึ่งให้เป็นอารมณ์ วิญญาณ ๕ เหล่านั้นไม่รวมกันเพราะทำกิริยามโนธาตุให้เป็นปุเรจาริก แล้วจึงเกิดทั้งไม่มีมนสิการก็ไม่เกิดขึ้น มรรคไม่มีอาวัชชนะเลย วิญญาณ ๕ เหล่านั้นเกลื่อนกล่นด้วยการรับอารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น มรรคไม่ลามก คือไม่มีความตกต่ำ เลย วิญญาณ ๕ เหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นโดยความสับสน ซึ่งกันและกัน คือหมายความว่าเกิดก่อนบ้าง เกิดทีหลังกันบ้าง ไม่มีระเบียบ


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 249

ว่าอันไหนเกิดก่อนหรือเกิดทีหลัง ความเกิดก่อนเกิดทีหลังของมรรคร่วม กับวิญญาณ ๕ เหล่านั้นหามีไม่ เพราะมรรคเกิดในกาลที่วิญญาณ ๕ เหล่านั้นไม่เกิด ในสมัยที่วิปัสสนาญาณแก่กล้า ในอรูปภพอันเป็นถิ่นที่ วิญญาณ ๕ ไม่เกิดก็ดี มรรคก็เกิดได้ วิญญาณ ๕ เหล่านั้นไม่เกิดติดต่อ ซึ่งกันและกัน เพราะมีสัมปฏิจฉันนจิตเป็นต้นคั่นในระหว่าง ความคั่นใน ระหว่างด้วยสัมปฏิจฉันนจิตเป็นต้นของมรรคไม่มีเลย กิจแม้สักว่าการ เสพอารมณ์เพราะการตกไปแห่งวิญญาณ ๕ ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ไม่มี กิจของมรรคมีการเพิกถอนกิเลส ในข้อนี้มีอธิบายเพียงเท่านี้ เพราะ ฉะนั้น สกวาทีจึงให้ปรวาทีรับรองซึ่งความที่มรรคไม่มีคติอย่างวิญญาณ ๕ เหล่านั้น ด้วยอาการเหล่านี้ แล้วจึงกล่าวว่า ก็ต้องไม่พึงกล่าวว่า บุคคล ผู้พร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕ ยังมรรคให้เกิดได้ ดังนี้.

คำว่า ปรารภความว่างเปล่า ความว่า สกวาทีถามว่า โลกุตตรมรรค ย่อมเกิดเพราะปรารภสุญญตนิพพาน โลกียมรรคย่อมเกิดเพราะปรารภ บุญที่เป็นสุทธสังขารเกิดขึ้น ฉันใด จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะปรารภ ฉันนั้นหรือ? ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะพระบาลีว่า จักขุวิญญาณเกิด พระอาศัยจักขุด้วยรูปด้วย. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรองหมายเอา ด้วยคำว่า สิ่งใดไม่มีนิมิตในที่นั้น สิ่งนั้นชื่อว่าความว่างเปล่า เพราะบาลีว่า ไม่ถือเอาโดยนิมิต ในปัญหาอีก ๒ ข้อว่า อาศัยจักขุ เป็นต้น ก็นัยนี้.

ในข้อว่า จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคต นั้น อธิบายว่า การเจริญมรรคมีแก่ผู้พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ และมโนวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นเพราะปรารภธรรมอันเป็นอดีตและอนาคตฉันใด แม้จักขุ วิญญาณก็ฉันนั้นหรือ? ในคำทั้งหลายว่า มโนวิญญาณปรารภผัสสะ


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 250

เป็นต้น ก็นัยนี้. ในข้อว่า เห็นรูปด้วยจักขุแล้วเป็นผู้ไม่ถือนิมิต นี้ อธิบาย ว่า ท่านกล่าวว่าไม่ถือเอานิมิตในขณะแห่งชวนะ ไม่ใช่ไม่ถือเอานิมิตใน ขณะแห่งจักขุวิญญาณ เพราะฉะนั้น คำว่าจักขุวิญญาณนี้หมายเอาสักว่า เป็นโลกีย์ซึ่งมิใช่ข้อพิสูจน์ว่า การเจริญมรรคมีแก่ผู้พร้อมเพรียงด้วย วิญญาณ ๕ ดังนี้แล.

อรรถกถาปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคกถา จบ


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 251

ปัญจวิญญาณกุสลาปีติกถา

[๑๓๙๒] สกวาที วิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ มีธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิญญาณ ๕ เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศลก็มี.

ส. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิด ก่อนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายในเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกเป็นอารมณ์ มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นวัตถุ มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นอารมณ์ มีวัตถุ ต่างๆ มีอารมณ์ต่างๆ ไม่เสวยโคจรวิสัยแก่กันและกัน เกิดขึ้นโดยไม่ มีความสนใจไม่ได้ เกิดขึ้นโดยไม่มีการทำไว้ในใจไม่ได้ เกิดขึ้นโดยไม่มี ีเจือด้วยสัมปฏิฉันนจิตเป็นต้นไม่ได้ เกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกันไม่ได้ เกิดขึ้น ในลำดับอันชิดแห่งกันและกันไม่ได้ มิใช่หรือ? ฯลฯ วิญญาณ ๕ ไม่มี ความผูกใจ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ ก็ต้องไม่กล่าว ว่าวิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ดังนี้.

[๑๓๙๓] ส. จักขุวิญญาณ เป็นกุศล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 252

ส. จักขุวิญญาณ ปรารภความว่างเปล่าเกิดขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขุวิญญาณ ปรารภความว่างเปล่าเกิดขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิดจักขุ วิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิดจักขุ วิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า เพราะอาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิด จักขุวิญญาณ ดงนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งหลาย จึงเกิดจักขุ วิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งหลาย จึง เกิดจักษุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า เพราะ อาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น.

[๑๓๙๔] ส. จักขุวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณ ปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้นได้ หรือ?


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 253

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขุวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภจิต ฯลฯ ปรารภจักษุ ฯลฯ ปรารภกาย ฯลฯ ปรารภเสียง ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี และมโน- วิญญาณ ปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี และจักขุ วิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี และมโน- วิญญาณ ปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณ ปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้นได้ ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี มโนวิญญาณ ปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภจิต ปรารภจัก ฯลฯ ปรารภกาย ปรารภ เสียง ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นได้ หรือ?


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 254

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณ ปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๙๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศล ก็มี หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ เป็นผู้ยึดถือนิมิต ฯลฯ ไม่เป็นผู้ ยึดถือนิมิต ฯลฯ ฟังเสียงด้วยโสต ฯลฯ ถูกต้องด้วยโผฏฐัพพะด้วยกาย เป็นผู้ยึดถือนิมิต ฯลฯ ไม่เป็นผู้ถือนิมิต ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น วิญญาณ ๕ ก็เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศล ก็มี น่ะสิ

ปัญจวิญญาณกุสลาปีติกถา จบ

อรรถกถาปัญจวิญญาณา กุสลาปีติกถา

ว่าด้วย ปัญจวิญญาณเป็นกุศลก็มี

บัดนี้ ชื่อว่า ปัญจวิญญาณเป็นกุศลก็มี และเป็นอกุศลก็มี. เรื่องนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ. อรรถกถาปัญจวิญญาณ กุสลาปีติกถา จบ.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 255

ปัญจวิญญาณา สาโภคาติกถา

[๑๓๙๖] สกวาที วิญญาณ ๕ มีความผูกใจหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ มีธรรมที่ เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิญญาณ ๕ มีความ ผูกใจ.

ส. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิด ก่อนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายในเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกเป็นอารมณ์ มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นวัตถุ มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นอารมณ์ มีวัตถุ ต่างๆ มีอารมณ์ต่างๆ ไม่เสวยโคจรวิสัยแห่งกันและกัน เกิดขึ้นโดยไม่ มีความสนใจไม่ได้ เกิดขึ้นโดยไม่มีการทำไว้ในใจไม่ได้ เกิดขึ้นโดยไม่ เจือด้วยสัมปฏิจฉันนจิตเป็นต้นไม่ได้ เกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังไม่ได้ มิใช่หรือ? วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นในลำดับอันชิดแห่งกันและกันไม่ได้ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นในลำดับอันชิดแห่งกัน และกันไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ.

[๑๓๙๗] ส. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้หรือ?


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 256

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยจักษุ และความว่างเปล่า จึงเกิดจักขุ วิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยจักษุ และความว่างเปล่า จึงเกิดจักษุ วิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า เพราะอาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิด จักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายจึงเกิดจักขุ- วิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายจึง เกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าว เพราะอาศัย จักษุและความว่างเปล่า จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น

[๑๓๙๘] ส. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้นได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 257

ส. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนวิญญาณมีความผูกใจ และมโนวิญญาณปรารภ ความว่างเปล่าเกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ และจักขุวิญญาณปรารภ ความว่างเปล่าเกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนวิญญาณมีความผูกใจ มโนวิญญาณปรารภอดีต และอนาคตเกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ และจักขุวิญญาณปรารภ อดีตและอนาคตเกิดขึ้นได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนวิญญาณ มีความผูกใจ มโนวิญญาณ ปรารภ ผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ จักขุวิญญาณปรารภ ผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นได้ หรือ?


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 258

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๙๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ เป็นผู้ถือนิมิต ฯลฯ เป็นผู้ไม่ถือ นิมิต ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย เป็นผู้ถือนิมิต ฯลฯ เป็นผู้ไม่ถือ นิมิต ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น วิญญาณ ๕ ก็มีความผูกใจ น่ะสิ.

ปัญจวิญญาณา สาโภคาติกถา จบ

อรรถกถาปัญจวิญญาณา สาโภคาติกถา

ว่าด้วย ปัญจวิญญาณมีความผูกใจ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง ปัญจวิญญาณมีความผูกใจ. ในเรื่องนั้น ชื่อว่า ความคิดคำนึงย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งกุศล และอกุศล. ก็ข้อนี้ พระศาสดา ทรงตรัสไว้ว่า ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วถือเอาโดยนิมิต ... ไม่ถือเอาโดย นิมิต ดังนี้เป็นต้น. ชนเหล่าใดถือเอาพระพุทธพจน์นั้นโดยไม่พิจารณา จึงมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ คิดคำนึงได้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้เช่นกับเรื่องก่อนนั่นแล.

อรรถกถาปัญจวิญญาณา สาโภคาติกถา จบ


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 259

ทวีหิ สีเลหิ สมันนาคโตติกถา

[๑๔๐๐] สกวาที บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ ประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยผัสสะ ๒ อย่าง ด้วยเวทนา ๒ อย่าง ด้วยสัญญา ๒ อย่าง ด้วยเจตนา ๒ อย่าง ด้วยจิต ๒ อย่าง ด้วยศรัทธา ๒ อย่าง ด้วยวิริยะ ๒ อย่าง ด้วย สติ ๒ อย่าง ด้วยสมาธิ ๒ อย่าง ด้วยปัญญา ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๑] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยศีลอันเป็นโลกิยะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยผัสสะอันเป็นโลกิยะ ด้วยเวทนาอันเป็นโลกิยะ ด้วยสัญญาอันเป็น โลกิยะ ด้วยเจตนาอันเป็นโลกิยะ ด้วยจิตอันเป็นโลกิยะ ด้วยศรัทธาอัน เป็นโลกิยะ ด้วยวิริยะอันเป็นโลกิยะ ด้วยสติอันเป็นโลกิยะ ด้วยสมาธิ อันเป็นโลกิยะ ด้วยปัญญาอันเป็นโลกิยะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๒] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยศีล ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 260

ด้วยผัสสะทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค ประกอบด้วย ศีลอันเป็นโลกิยะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรคเป็นปุถุชน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๓] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาวาจาอันเป็นโลกิยะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาวาจาอันเป็นโลกิยะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาสังกัปปะอันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาวายามะอันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาสติอันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นโลกิยะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 261

ด้วยสัมมากัมมันตะอันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาอาชีวะอันเป็นโลกิยะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นโลกิยะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๔] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาวาจาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลมีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาทิฏฐิทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาวาจาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาสังกัปปะทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ฯลฯ ด้วยสัมมาวายามะ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ ด้วยสัมมาสติทั้งที่เป็นโลกิยะและ โลกุตตระ ฯลฯ ด้วยสัมมาสมาธิทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมากัมมันตะทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ? ฯลฯ


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 262

[๑๔๐๕] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาอาชีวะ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาทิฏฐิทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาอาชีวะทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ ด้วยสัมมาสังกัปปะทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ ด้วยสัมมาสมาธิ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เมื่อศีลอันเป็นโลกิยะดับไปแล้ว มรรคจึงเกิดขึ้นหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลขาด มีศีลทะลุ ยังมรรคให้เกิดได้ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง น่ะสิ. ทวีหิสีเลหิ สมันนาคโตติกถา จบ


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 263

อรรถกถาทวีหิ สีเลหิ สมันนาคโตติกถา

ว่าด้วย ผู้ประกอบด้วยศีล ๒

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง บุคคลผู้ประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีลัทธิดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายนั่นแหละว่า บุคคล ผู้มีศีลย่อมให้โลกุตตรมรรคเกิดด้วยโลกียศีลได้ พระบาลีว่า นรชน ผู้มีศีล ตั้งอยู่เฉพาะแล้วในศีล ดังนี้เป็นต้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น บุคคล นั้นจึงชื่อว่าผู้ประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง คือ ด้วยโลกียศีลที่เกิดก่อน และ โลกุตตรศีลที่ในขณะแห่งมรรค ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า บุคคลผู้มี ความพร้อมเพรียงด้วยมรรค หมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า เป็นผู้ประกอบด้วยผัสสะ ๒ อย่าง เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าบุคคลนั้นประกอบด้วยศีล ๒ คือ โลกียศีล และโลกุตตรศีลในขณะเดียวกันได้ไซร้ เขาผู้นั้นก็พึงเป็นผู้ประกอบด้วย ธรรมอย่างละ ๒ มีผัสสะ ๒ เป็นต้นได้ ดังนี้ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นนัยอันมี อย่างนั้นเป็นรูป จึงตอบปฏิเสธ. ในปัญหาว่า เป็นผู้ประกอบด้วยศีลทั้งที่ เป็นโลกียะ และโลกุตตระ ปรวาทีจึงตอบรับรองหมายเอาโลกียศีลที่ สมาทานแล้วในกาลก่อน และโลกุตตรศีลอันมีสัมมาวาจาเป็นต้น ที่เกิด ขึ้นในขณะแห่งมรรค. คำถามว่า เมื่อศีลอันเป็นโลกิยะดับไปแล้ว เป็น ของปรวาที คำตอบรับรองของสกวาทีหมายเอาความดับ คือ การดับ ในขณะ คือภังคขณะ ปรวาทีนั้น เมื่อกำหนดคำว่าศีลดับนั้นคล้ายกับมี การล่วงศีลอีก จึงถามว่า บุคคลผู้ทุศีล เป็นต้น อนึ่งการตั้งลัทธิของ ปรวาทีนั้นย่อมแสดงซึ่งความที่บุคคลเป็นผู้มีศีลไม่ขาดมาก่อนเท่านั้น ไม่ได้แสดงซึ่งความที่บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง เพราะฉะนั้น ลัทธินั้นจึงตั้งอยู่ไม่ได้แล.

อรรถกถาทวีหิ สีเลหิ สมันนาคโตติกถา จบ


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 264

สีลัง อเจตสิกันติกถา

[๑๔๐๗] สกวาที ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นไป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นกายายตนะ ฯลฯ เป็นรูปายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ไม่เป็นเจตสิกหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๘] ส. ผัสสะเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีลเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 265

ส. ศีลเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๙] ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีลมีผลไม่น่าปรารถนา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลมีผลน่าปรารถนา มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ศีลมีผลน่าปรารถนา ก็ต้องไม่กล่าวว่าศีล ไม่เป็นเจตสิก.

[๑๔๑๐] ส. ศรัทธามีผลน่าปรารถนา และศรัทธาเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีลมีผลน่าปรารถนา และศีลเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา มีผลน่าปรารถนา และ ปัญญา เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีลมีผลน่าปรารถนา และศีลเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๑] ส. ศีลมีผลน่าปรารถนา แต่ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 266

ส. ศรัทธามีผลน่าปรารถนา แต่ศรัทธาเป็นเจตนา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลมีผลน่าปรารถนา แต่ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิริยะ ฯลฯ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญามีผลน่าปรารถนา แต่งปัญญา ไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๒] ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ไม่มีผล ไม่มีวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลมีผล มีวิบาก มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ศีลมีผล มีวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า ศีลไม่เป็น เจตสิก ฯลฯ

[๑๔๑๓] ส. จักขายตนะ ไม่เป็นเจตสิก และไม่มีวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก และไม่มีวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ไม่เป็นเจตสิก และไม่มีวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 267

ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก และไม่มีวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๔] ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก แต่มีวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะ ไม่เป็นเจตสิก แต่มีวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก แต่มีวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ไม่เป็นเจตสิก แต่มีวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๕] ส. สัมมาวาจา ไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ ไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาวาจา ไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 268

ส. สัมมาทิฏฐิไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาอาชีวะไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๖] ส. สัมมาทิฏฐิเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจาเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาทิฏฐิเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจาเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาสมาธิเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 269

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นเจตสิก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เมื่อศีลเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลผู้มีศีลดับไปแล้วนั้น เป็นคนทุศีล หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ศีลก็ไม่เป็นเจตสิกน่ะสิ.

สีลัง อเจตสิกันติกถา จบ

อรรถกถาสีลัง อเจตสิกันติกถา

ว่าด้วย ศีลไม่เป็นเจตสิก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง ศีลไม่เป็นเจตสิก. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า เมื่อศีลเกิดขึ้นแม้ดับไปแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่ามีการสั่งสมศีลอันมีสมาทานเป็นเหตุ เขาชื่อว่าเป็นผู้มีศีล เหตุใด เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ศีลจึงมิใช่เจตสิก ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึง ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องของคำว่าทานมิใช่เจตสิกนั่นแหละ แม้ ปรวาทีให้ลัทธิตั้งไว้แล้วก็ไม่สามารตั้งไว้ได้เลย เพราะถือเอาพระสูตร โดยมิได้พิจารณา ดังนี้แล.

อรรถกถาสีลัง อเจตสิกันติกถา จบ


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 270

สีลัง น จิตตานุปริวัตตีติกถา

[๑๔๑๘] สกวาที ศีลไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น โผฏฐัพพายตนะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะ ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๙] ส. ผัสสะ เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีลเกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ศรัทธา สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 271

ส. ศีล เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๐] ส. สัมมาวาจา ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาวาจาไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ไม่เกิดคล้อยตาม จิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาอาชีวะ ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๑] ส. สัมมาทิฏฐิ เกิดคล้อยตามจิต หรือ?


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 272

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจา เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาทิฏฐิ เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๒] ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจา เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาสมาธิ เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ศีลไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เมื่อศีลเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลผู้มีศีลดับแล้วนั้นเป็น คนทุศีล หรือ?


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 273

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ศีล ก็ไม่เกิดคล้อยตามจิต น่ะสิ สีลัง น จิตตานุปริวัตตีติกถา จบ

อรรถกถา สีลัง น จิตตานุปริวัตตีติกถา

ว่าด้วย ศีลไม่คล้อยตามจิต

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องศีลไม่คล้อยตามจิต. ในเรื่องนั้น คำว่า ศีลไม่เกิด คล้อยตามจิต นี้ เป็นคำต่างกันระหว่างภาษาเท่านั้น. คำที่เหลือเช่นกับ เรื่องก่อนนั่นแหละ.

อรรถกถา สีลัง น จิตตานุปริวัตตีติกถา จบ


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 274

สมาทานเหตุกกถา

[๑๔๒๔] สกวาที ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๕] ส. ศีลมีสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เจริญได้ดุจเถาวัลย์ เจริญได้ดุจเถาย่างทราย เจริญ ได้ดุจต้นไม้ เจริญได้ดุจหญ้า เจริญได้ดุจแพหญ้าปล้อง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๖] ส. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อบุคคลสมาทานศีลแล้ว ตรึกกามวิตกอยู่ ตรึก พยาบาทวิตกอยู่ ตรึกวิหิงสาวิตกอยู่ ศีลก็เจริญได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต ๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 275

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่ เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลว และประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการ เป็นไฉน ท้องฟ้าและแผ่นดิน นี้ ประการแรก ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ฯลฯ เพราะเหตุฉะนั้น ธรรมของ สัตบุรุษจึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศล และ อกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึก กัน มาพบกันได้

[๑๔๒๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ชนเหล่าใด ปลูก สร้างสวน ปลูกสร้างป่า ฯลฯ ชนเหล่านั้น ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วย ศีล ย่อมจะปลูกไปสู่สวรรค์ ดังนี้๒ เป็นสูตรมีจริงอยู่ มิใช่หรือ ?


๑. องฺ. จตุกฺก ๒๑/๔๗. ๒. สํ. สคา. ๑๕/๑๔๖.


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 276

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ ก็เจริญได้ น่ะสิ

สมาทานเหตุกกถา จบ

อรรถกถาสมาทานเหตุกกถา

ว่าด้วย ศีลมีการสมาทานเป็นเหตุ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องศีลมีการสมาทานเป็นเหตุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายนั่นแหละว่า ศีลมี การสมาทานเป็นเหตุย่อมเจริญ เพราะอาศัยพระบาลีว่า บุญย่อมเจริญ ทุกเมื่อ เพราะถือเอาอรรถโดยไม่พิจารณาในเรื่องการสร้างอาราม ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที หมายเอาการสั่งสมศีลที่ไม่ประกอบด้วยจิต. คำที่เหลือเช่นกับเรื่องก่อน นั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถา สมาทานเหตุกกถา จบ


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 277

วิญญัตติสีลันติกถา

[๑๔๒๘] สกวาที วิญญัตติเป็นศีล หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากปาณาติบาต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากอทินนาทาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากมุสาวาท หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การกราบไหว้เป็นศีล การลุกรับเป็นศีล การทำ อัญชลีเป็นศีล สามีจิกรรมเป็นศีล การให้อาสนะเป็นศีล การให้ที่นอน เป็นศีล การให้น้ำล้างเท้าเป็นศีล การให้รองเท้าเป็นศีล การนวดหลังใน เวลาอาบน้ำเป็นศีล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากปาณาติบาต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน หรือ?


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 278

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า วิญญัตติเป็นศีล หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เป็นความทุศีล หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น วิญญัตติก็เป็นศีลน่ะสิ.

วิญญัตติสีลันติกถา จบ

อรรถกถาวิญญัตติ สีลันติกถา

ว่าด้วย วิญญัตติเป็นศีล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องวิญญัตติเป็นศีล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็น ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะ และสมิติยะทั้งหลายว่า วิญญัตติ คือการ เคลื่อนไหวกายและวาจา ว่าเป็นศีล เพราะถือเอาเนื้อความพระสูตรว่า กายวิญญัตติเป็นกายกรรม วจีวิญญัตติเป็นวจีกรรม ดังนี้ คำถามของสกวาที ว่า วิญญัตติ เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงปรวาทีนั้นด้วยอรรถว่า เจตนาเป็นเครื่องเว้น ชื่อว่า ศีล รูปธรรมไม่ใช่ศีล เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวคำว่า ปาณา ติปาตา เวรมณี เป็นต้น. คำว่า การกราบไหว้เป็นศีล เป็นต้น ท่านกล่าว เพื่อจะยกแสดงคำเปรียบเทียบว่า วิญญัติเป็นรูปฉันใด คำว่าศีลเป็นบัญญัติ ฉันนั้นหามิได้ ก็แลวิญญัตตินั้นมิใช่เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นเหตุใด เพราะ เหตุนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ปาณาติปาตา เวรมณี ดังนี้ อีก. ก็ลัทธิของปรวาทีนั้น ชื่อว่าตั้งอยู่มิได้ เพราะตั้งอยู่เฉพาะแล้วด้วยเลศนัย ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถา วิญญัตติสีลันติกถา จบ


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 279

อวิญญัตติ ทุสสีลยันตติกถา

[๑๔๓๐] สกวาที อวิญญัตติเป็นความทุศีล หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นปาณาติบาต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นอทินนาทาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นกาเมสุมิจฉาจาร หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นมุสาวาท หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลสมาทานบาปกรรมแล้วให้ทานอยู่ บุญและบาป ทั้งสองอย่าง เจริญได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุญและบาปทั้งสองอย่างเจริญได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 280

๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่ เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่ เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการ เป็นไฉน ท้องฟ้าและแผ่นดิน นี้ประการแรก ซึ่งไกลกันไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้นธรรมของสัตบุรุษ จึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีจริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและ อกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึก กัน มาพบกันได้

ส. เมื่อบุคคลสมาทานบาปกรรมแล้ว ถวายจีวรอยู่ ถวาย บิณฑบาตอยู่ ถวายเสนาสนะอยู่ ถวายคิลานปัจจยเภสัชชบริขารอยู่ กราบไหว้แก่ผู้ที่ควรกราบไหว้อยู่ ต้อนรับผู้ที่ควรต้อนรับอยู่ กระทำ อัญชลีกรรมแก่ผู้ที่ควรอัญชลีกรรมอยู่ กระทำสามีจิกรรมแก่ที่ควร สามีจิกรรมอยู่ ให้อาสนะแก่ผู้ที่ควรให้อาสนะอยู่ ให้ทางแก่ผู้ที่ควรให้ทาง อยู่ บุญและบาปทั้ง ๒ อย่าง เจริญได้หรือ?


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 281

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. และบาปทั้ง ๒ อย่าง เจริญได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต ๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่ เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกันได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่ เลวและประณีต ที่ดำและขาว อันเป็นข้าศึกกัน มาพบกันได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการ เป็นไฉน ท้องฟ้าและแผ่นดิน นี้ประการแรก ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้นธรรมของสัตบุรุษ จึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและ อกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่ดำและขาว อันเป็นข้าศึก


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 282

กัน มาพบกันได้

[๑๔๓๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่าอวิญญัตติ เป็นความทุศีล หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลเป็นผู้สมาทานบาปธรรมไว้แล้วมิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลเป็นผู้สมาทานบาปกรรมไว้แล้ว ด้วย เหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า อวิญญัตติ เป็นความทุศีล ดังนี้

อวิญญัตติ ทุสสีลยันติกถา จบ

อรรถกถาอวิญญัตติ ทุสสีลยันติกถา

ว่าด้วย อวิญญัตติเป็นความทุศีล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอวิญญัตติ คือการไม่แสดงกายวาจาให้รู้ ว่าเป็น ความทุศีล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะ ทั้งหลายว่า อวิญญัตติเป็นการทุศีล เพราะหมายเอาการสั่งสมสิ่งที่มิใช่ บุญอันไม่ประกอบด้วยจิต และหมายเอาความสมบูรณ์ขององค์ข้อบังคับ ในปาณาติบาตเป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาที หลายชนเหล่านั้น คำ ตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เป็น ปาณาติบาต เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่าอวิญญัตตินั้นพึงเป็นการ ทุศีลอย่างไรอย่างหนึ่งในปาณาติบาตเป็นต้นไซร้ ดังนี้. คำว่า บุคคล สมาทานบาปกรรม อธิบายว่า ทำสมาทานบาปอย่างนี้ว่า เราจักฆ่า


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 283

บุคคลชื่อโน้น เราจักขโมยภัณฑะโน้น เป็นต้น. ถูกสกวาทีถามว่า บุญและบาปทั้ง ๒ อย่างเจริญหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอา ความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปในขณะให้ทาน. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรอง หมายเอาการสั่งสมบาปที่ไม่ประกอบกับจิต. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ โดยนัยที่กล่าวไว้ในเรื่องบุญสำเร็จแต่การบริโภคนั่นแหละ. แม้การตั้ง ลัทธิของปรวาทีนั้น ย่อมสำเร็จในส่วนเบื้องต้น คือ ในการสมาทานบาป แต่ไม่ใช่ความเป็นผู้ทุศีลเพราะอวิญญัตติ ดังนี้แล.

อรรถกถา อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. นิโรธกถา ๒. รูปัง มัคโคติกถา ๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา ๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปีติกถา ๕. ปัญจวิญญาณาสาโภคาติกถา ๖. ทวีหิสีเลหิสมันนาคิตติกถา ๗. สีลัง อเจตสิกกันติกถา ๘. สีลัง นจิตตานุปริวัตติกถา ๙. สมาทานเหตุกถา ๑๐. วิญญัตติสีลันติ- กถา ๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา.

วรรคที่ ๑๐ จบ

ทุติยปัณณาสก์ จบ