ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
วันมาฆบูชา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓)
วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันนี้ คือ เป็นวันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีการประชุมพร้อมกันด้วยองค์ ๔ ประการ ได้แก่
๑. เป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบด้วยมาฆนักษัตร
๒. ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันที่พระวิหารเวฬุวัน (อารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ถวาย) โดยเป็นการมาตามธรรมดาของตนๆ ไม่มีใครนัดหมาย
๓. ภิกษุทั้ง ๑,๒๕๐ รูป ไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสกะ ภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญาหกทั้งนั้น
๔. ภิกษุทั้ง ๑,๒๕๐ รูป มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ (คือได้รับการอุปสมบทจากพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยพระองค์ทรงเปล่งพระวาจาว่า เอหิ ภิกขุ = เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด) และในวันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระภิกษุทั้งหลายมีว่า การไม่ทำบาปทั้งสิ้น การยังกุศลให้ถึงพร้อม การยังจิตของตนให้ผ่องใส เป็นต้น
สำหรับโอวาทปาติโมกข์นั้น เป็นพระโอวาทคาถา ที่พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทรงแสดงเหมือนกัน ไม่มีความแตกต่างกัน
ในวันมาฆบูชานี้เอง ก่อนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายนั้น ท่านพระสารีบุตร ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า ทีฆนขสูตร (มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก (ผู้เป็นหลานของท่านพระสารีบุตร) ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์
ดังนั้น ในวันมาฆบูชานี้ จึงเป็นวันที่ท่านพระสารีบุตรได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ด้วย และอีกประการหนึ่ง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (ก่อนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในวันเพ็ญเดือน ๖) เป็นวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงอายุสังขารใกล้จะปรินิพพาน ตามข้อความที่ว่า “จากนี้ล่วงไปสามเดือน ตถาคตจักปรินิพพาน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ ” และ ตามข้อความที่ว่า “โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์เดือนมาฆะ (เดือน ๓) พระองค์ทรงประชุมพระสาวก และ ทรงปลงอายุสังขาร ”
ดังนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่พุทธศาสนิกชนจะได้น้อมระลึกถึงพระมหากรุณาคุณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อสัตว์โลกทั้งปวง พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติตามในคำสอนที่พระองค์ทรงแสดง เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ด้วยการเป็นผู้ไม่กระทำบาป กล่าวคือ อกุศลทุกประเภท ถึงแม้จะเล็กๆ น้อยๆ ที่ควรเว้นได้ ก็ควรที่จะเว้น ไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ เพราะในขณะที่จิตเป็นกุศลนั้น ก็ได้ชื่อว่ายังจิตของตนให้ผ่องใสแล้วชั่วขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น พร้อมทั้งจะต้องเป็นผู้มีความอดทนต่อทุกสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งจะต้องไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่นให้เดือดร้อนทั้งด้วยกายและวาจา เป็นต้น และประการสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยนั้น ก็คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา สะสมปัญญาไปตามลำดับ จนกว่าจะมีปัญญาคม เจริญขึ้น กล้าขึ้น ถึงขั้นที่จะดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้ในที่สุด ครับ.
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ
วันมาฆบูชามีความหมายและความสำคัญอย่างไร
วันมาฆบูชา [ทีฆนขสูตร]
เกร็ดความรู้ในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 2 วันมาฆบูชา !
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาครับ
ทรงเปรียบสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น แต่ที่ทรงแสดงกับสาวกมีน้อยเท่ากับใบไม้บนฝ่ามือ เพราะที่ไม่ได้แสดงนั้นไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ เป็นหนทางนำไปสู่การดับทุกข์ทั้งหลายค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
พระปัญญาเปรียบเหมือน ใบไม้มากมายในป่าใหญ่ พระธรรมที่ทรงแสดงเพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้ เปรียบแค่ใบไม้สองสามใบในกำมือ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ...
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
"ความประกอบโดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต ๑" ขอกัลยาณมิตรช่วยขยายความให้ด้วยครับ
ขอบคุณครับ
'u'
เรียน ความเห็นที่ 11
โอวาทปาฏิโมกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเพื่อให้เจริญ เพื่อให้ศึกษาในสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะฉะนั้นความประกอบโดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต หมายถึง พึงเป็นผู้ศึกษา เพียรที่จะเจริญ อธิจิตคือ ความสงบของจิตสูงสุดคือสมาบัติ ๘ นั่นเองครับ เพราะฉะนั้น ในโอวาทปาฏิโมกข์จึงตรัสครบทั้งการเจริญ สิกขา ๓ ศีล สมาธิ ปัญญา
โดยสมาธิ คือ อธิจิตที่เป็นไปในการเจริญความสงบของจิต ซึ่งสูงสุดจนถึงสมาบัติ ๘ เป็นต้นครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 334
บทว่า อธิจิตฺเต ความว่า ในจิตอันยิ่ง กล่าวคือ จิตที่สหรคตด้วยสมาบัติ ๘. การกระทำความเพียร ชื่อว่า อาโยโค.
บทว่า เอต ความว่า นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
ตรัสสมาบัติ ๘ ด้วยอธิจิต. ด้วยประการนี้ สิกขาแม้ทั้ง ๓ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสแล้วด้วยพระคาถานี้ทีเดียว ฉะนี้แล.
[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 362
คำว่า พึงศึกษาความว่า สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้อยู่ ก็พึงศึกษา ฯลฯ พึงศึกษา คือพึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาในกาลทุกเมื่อ
ขอบคุณครับ..
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขอบคุณและขออนุโมทนาทุกๆ ท่านที่เขียนข้อความค่ะ
ขอกราบนอบน้อมพระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ..
กราบท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
และขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ อย่างของท่านอาจารย์ฯ และทุกๆ ท่านค่ะ ...
ขอบพระคุณ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
สาธุ
มีบทสวดโอวาทปาติโมกข์แปลไหมคะอยากจะฟังค่ะ และการเวียนเทียนนี้ทำไมถึงเวียนคะ
เรียน ความเห็นที่ 19 ครับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 55
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
[๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงสวดพระปาติโมกข์ในที่ประชุมพระภิกษุสงฆ์ดังนี้
ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง ผู้ทำร้ายผู้อื่น ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็น สมณะเลย. การไม่ทำบาปทั้งสิ้น การยังกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การไม่กล่าวร้าย ๑
การไม่ทำร้าย ๑
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑
ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑
ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑
การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑
หกอย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ส่วนเรื่องการเวียนเทียน เชิญคลิกที่นี่ครับ
ถามเรื่องการเวียนเทียน
การเวียนเทียนในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ