ลักษณะของนิพพาน

 
majweerasak
วันที่  7 ก.พ. 2549
หมายเลข  790
อ่าน  10,723

ลักษณะของนิพพาน มีแสดงไว้ว่าอย่างไรบ้างครับ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 8 ก.พ. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 8 ก.พ. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ก.พ. 2549

ปรมัตถธรรมอีกประเภทหนึ่ง คือ นิพพานปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า นิพพาน เพราะออกจากตัณหา คือ วานะ

นิพพานปรมัตถ์เป็นสภาพธรรมที่ดับทุกข์ จิต เจตสิก รูป เป็นทุกข์เพราะไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป การที่จะดับทุกข์ได้นั้นจะต้องดับตัณหา เพราะตัณหาเป็นสมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสมุทัยให้เกิดขันธ์ ซึ่งได้แก่ จิต เจตสิก รูป การที่จะดับตัณหา ได้นั้นก็ด้วยการอบรมเจริญปัญญา จนรู้แจ้งชัดในลักษณะเกิดดับของ จิต เจตสิก รูป แล้วละคลายความยินดี ยึดมั่นเห็นผิดในจิต เจตสิก รูป ได้ด้วยการรู้แจ้ง นิพพาน จึง เป็นธรรมที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม เป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งได้

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ก.พ. 2549

นิพพาน ไม่ใช่ขันธ์ นิพพานเป็นขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์

คำว่า ขันธ์ หมายถึง สภาพธรรมที่จำแนกเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียด ทราม ประณีต ไกล ใกล้ ฉะนั้น ขันธ์จึงได้แก่สังขตธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดดับ จึงเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นต้น ส่วนอสังขตธรรม คือ นิพพานนั้นเป็นธรรมที่ไม่เกิด ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง จะกล่าว ว่าเป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมที่เกิดขึ้น ก็ไม่ได้ จะกล่าวว่าเป็นอดีตก็ไม่ได้ ว่าเป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่าเป็นปัจจุบันก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น วิสังขารธรรม คือ นิพพาน จึงไม่ใช่ขันธ์ เป็นขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ก.พ. 2549

นิพพานปรมัตถ์ ว่าโดยความแตกต่างแห่งอาการ มี ๓ อย่าง คือ สุญญตะ ๑ อนิมิตตะ ๑ อัปปณิหิตะ ๑ พระนิพพาน ชื่อว่า สุญญตะ เพราะเป็นสภาพสูญจากสังขารทั้งปวง ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีนิมิตคือสังขารทั้งปวง ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้งคือสังขาร ทั้งปวง เมื่อบุคคลมนสิการสภาพธรรมโดยเป็นสภาพไม่เที่ยงย่อมหลุดพ้นไป (คือ รู้แจ้งอริยสัจจธรรม) ด้วยอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยสภาพเป็นทุกข์ย่อมหลุดพ้นไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยสภาพเป็นอนัตตาย่อมหลุดพ้นไปด้วยสุญญตวิโมกข์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ก.พ. 2549

นิพพานปรมัตถ์ โดยปริยายแห่งเหตุมี ๒ อย่าง คือ

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑

คำว่าอุปาทินี้ เป็นชื่อของขันธ์ ๕ คือ จิต เจตสิก รูป

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ก.พ. 2549

สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ความสิ้นไปของกิเลสทั้งหมด แต่ยังมีขันธ์เกิดดับสืบต่ออยู่

อนุปาทิเสสนิพพาน คือ การดับขันธ์ทั้งหมด เป็นการปรินิพพานของพระอรหันต์

คำว่าโดยปริยายแห่งเหตุ คือ การอ้างถึงมีขันธ์เหลือและไม่มีขันธ์เหลือ ซึ่งเป็น เหตุในการบัญญตินิพพาน เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ พระองค์ ทรงบรรลุสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ กิเลสและธรรม (ซึ่งได้แก่จิตและเจตสิกอื่นๆ) ที่เกิด ร่วมกับกิเลสนั้นดับหมดสิ้นและไม่เกิดอีกเลย แต่ยังมีขันธ์ คือ จิต เจตสิก (ที่ปราศจาก กิเลส) และรูปเกิดดับสืบต่ออยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็น พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ ลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงพอใจและ ไม่พึงพอใจ ยังเสวยสุขแลทุกข์อยู่เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใด เป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไป แห่งโมหะของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ก.พ. 2549

อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ไม่มีขันธ์เหลือ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงดับขันธปรินิพพานระหว่างไม้สาละคู่ เป็นอนุปาทิเสสนิพพาน ๑ ดับขันธ์หมดสิ้นโดยรอบ ดับสนิทซึ่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง ดับจิต เจตสิก รูป ทั้งหมด ไม่มีการเกิดอีกเลย พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี เป็นพระเสกขบุคคล เพราะยังต้องศึกษาเจริญธรรมยิ่งๆ ขึ้นเพื่อดับกิเลสที่เหลืออยู่ให้หมดไป ส่วนพระอรหันต์เป็นพระอเสกขบุคคล เพราะดับกิเลสทั้งหมดเป็นสมุจเฉทได้แล้ว ไม่ต้องศึกษาเพื่อดับกิเลสอีก ๒

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ก.พ. 2549

เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ว่าด้วยยานไปนิพพาน [อัจฉราสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
study
วันที่ 8 ก.พ. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
study
วันที่ 8 ก.พ. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
อิสระ
วันที่ 15 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
อารายเนี่ย
วันที่ 15 พ.ค. 2550

อนุโมทนาครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ruangsak
วันที่ 16 พ.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ