ความแตกต่างของการทำทาน
ขอรบกวนนะคะ คือ ดิฉันอยากทราบว่า การทำทานในลักษณะต่างๆ แตกต่างกัน อย่างไร เนื่องจากมีคนมาบอกให้ทำทานโดยการตักบาตร แต่เนื่องจากบริเวณใกล้บ้าน นั้นมีผู้ตักบาตรเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว และเห็นว่าจะมีอาหารคาวหวานเกินแก่การฉันอยู่ ทุกวันดิฉันจึงเห็นว่าควรทำทานอย่างอื่น เช่น ถวายหนังสือ หรือ สิ่งของต่างๆ ที่ทาง พระสงฆ์อาจจะได้นำไปใช้ประโยชน์ แต่ทางผู้ชักชวนกลับบอกว่า ไม่เหมือนกันต้องตัก บาตรเท่านั้น ดิฉันคิดว่าการทำทานโดยอะไรก็ไม่น่าจะแตกต่างกันถ้าจิตเป็นกุศล แต่ จริงๆ แล้วมีความแตกต่างกันหรือไม่คะ กรุณาช่วยให้ความกระจ่างด้วยนะคะ
พระพุทธองค์ทรงแสดงวัตถุสำหรับการให้ทาน หรือไทยธรรมมีหลายอย่าง เช่น แบ่งเป็น ๒ คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑ แบ่งเป็น ๔ คือ อาหารบิณฑบาต ๑ จีวร ๑ ที่อยู่อาศัย ๑ ยารักษาโรค ๑ แบ่งเป็น ๖ คือ ให้รูป ให้เสียง ให้กลิ่น ให้รส ให้ โผฏฐัพพะ ให้ธรรมมารมณ์ จำแนกเป็นวัตถุทาน ๑๐ อย่าง คือ ให้ข้าว ให้น้ำ ให้ผ้า ให้ยาน ให้ของหอม ให้เครื่องประเทืองผิว ให้ที่พัก ให้ยา ให้ประทีป เป็นต้น ทั้งหมด คือ ไทยธรรมของที่เป็นประโยชน์ที่ควรให้แก่ผู้อื่น คือมีสิ่งใดก็ให้สิ่งนั้น หรือ ผู้รับต้อง การสิ่งใดก็ให้สิ่งนั้น หรือมีศรัทธาจะให้สิ่งใดก็ให้สิ่งนั้น ตามควรแก่โอกาส เจตนาให้สิ่ง ของทั้งหมดเป็นกุศลจะแตกต่างที่สภาพจิตของผู้ให้ว่ามีปัญญาเกิดร่วมด้วยหรือไม่ หรือ การให้มีอกุศลเป็นบริวารหรือไม่ ให้แล้วเสียดายหรือไม่ เป็นต้น สรุป คือ ความแตก ต่างอยู่ที่สภาพจิต ส่วนสิ่งของต่างๆ เป็นเพียงวัตถุทานเท่านั้น
สงสัยตรงเครื่องประเทืองผิว คืออะไร พระท่านใช้อะไรเป็นเครื่องบำรุงผิว
การให้ทานจะมีผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้รับเป็นผู้มีคุณธรรมมีศีล อานิสงส์ก็มาก และก็ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ให้ด้วย เช่น ขณะให้ กำลังให้ ภายหลังที่ให้แล้ว ไม่เสีย ดายทานมีหลายอย่าง วัตถุทานให้เขาได้รับประโยชน์ในชาตินี้ อภัยทานให้ความสุขความไม่มีภัย ส่วนธรรมทานเป็นการให้เขามีปัญญาสะสมไปในภพหน้าด้วย เป็นการให้ที่สูงสุด