รูป จิต เจตสิก นิพพาน

 
nar
วันที่  7 ก.พ. 2550
หมายเลข  2792
อ่าน  10,881
ขอเรียนถามความเข้าใจต่อไปนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ1 รูป จิต เจตสิก นิพพาน เป็นสิ่งมีจริง มีตัวตน 2 รูป จิต เจตสิก มีสภาวะของ อนิจจัง และทุกขัง3 นิพพาน ไม่มีสภาวะของ อนิจจัง และทุกขัง ขอบคุณมากครับ

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 7 ก.พ. 2550

๑. จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นอนัตตา ไม่มีอัตตา ไม่ใช่อัตตาตัวตน

๒. จิต เจตสิก รูป มีสภาวะไตรลักษณะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

๓. พระนิพพาน เป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดดับ นิจจํ สุขขํ และ เป็นอนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 ก.พ. 2550

1. รูป จิต เจตสิก นิพพาน เป็นสิ่งมีจริง มีตัวตน?

รูป จิต เจตสิก นิพพาน มีจริง แต่สำคัญว่ามีตัวตน เพราะเหตุใด เพราะไม่ประจักษ์สภาพธัมมะที่มีขณะนี้ ว่าเป็น รูป...เจตสิก เห็นว่ามีสัตว์บุคคล เพราะปัญญาไม่ถึงระดับ ที่จะเห็นว่าไม่มีสัตว์บุคคลตัวตน ปุถุชนย่อมเป็นอย่างนี้เป็นธรรม แต่เมื่อผู้มีปัญญาตรัสรู้ ลักษณะธรรมที่มีในขณะนี้ จึงรู้ว่าธัมมะเป็นสิ่งที่มีจริงและไม่มีตัวตนเพราะถ้ามีตัวตน ก็ย่อมบังคับบัญชาให้เป็นดังใจได้ แต่ไม่เป็นอย่างนั้นเลย ดังจะขอยกตัวอย่างในพระไตรปิฎก ที่พวกนอกศาสนามาบอกว่ามีอัตตาตัวตน แต่พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ใช่ตัวตน โดยพระองค์อธิบาย และยกต้วอย่างประกอบด้วยลองอ่านดูครับ เชิญคลิกอ่านที่นี่.......ธรรมทั้งหลายไม่ใช่เรา [จูฬสัจจกสูตร]

2. รูป จิต เจตสิก มีสภาวะของ อนิจจัง และทุกขัง?

สิ่งใดก็ตาม เมื่อเกิดแล้ว ย่อมดับไปเป็นธรรมดา เช่น ขณะที่ได้ยินก็ดับไปสภาพธัมมะอื่นเกิดต่อ รูป จิต เจตสิก เป็นสภาพธัมมะที่มีปัจจัย ปรุงแต่ง จึงเกิด ดังนั้นจึงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ไม่ได้ และเป็นอนัตตาด้วย [เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑- หน้าที่ 172

ชื่อว่า อนิจจา - ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า มีแล้วกลับไม่มี.

ชื่อว่า ทุกขา - เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เบียดเบียน.

คำว่า สพฺเพ ธมฺมา - ธรรมทั้งปวง ท่านกล่าวรวมเอาพระ-

นิพพานเข้าไว้ด้วย. ชื่อว่า อนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ.

3 .นิพพาน ไม่มีสภาวะของ อนิจจัง และทุกขัง?

นิพพานเป็นสภาพธัมมะที่มีจริง ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งจึงไม่มี สภาวะ ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

ธรรมชาติพระนิพพาน [ตติยนิพพานสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 7 ก.พ. 2550

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
natpe
วันที่ 7 ก.พ. 2550

ปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีจริง มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างๆ ไม่มีใครเปลี่ยนแปลง ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ได้ ปรมัตถธรรมมี 4 ประเภท คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานจิตปรมัตถ์ เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในการรู้สิ่งที่ปรากฎ เช่น เห็น ได้ยิน เป็นต้นเจตสิกปรมัตถ์ เป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต รู้สิ่งเดียวกันกับจิต ดับพร้อมกับ จิต และเกิดที่เดียวกันกับจิต เช่น เวทนา สัญญา เป็นต้นรูปปรมัตถ์ เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่สภาพรู้ เช่น สี เสียง กลิ่น เป็นต้นนิพพานปรมัตถ์ เป็นธรรมที่ดับกิเลส ดับทุกข์ นิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ