เพราะมรรคนั้นสูญจากราคะเป็นต้น
ข้อความดังกล่าวท่านอธิบายขณะแห่งมรรคจิตที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ขณะนั้นสูญจากราคะ โทสะ โมหะ หรือปราศจากราคะ โทสะ โมหะ และพระนิพพานชื่อว่าสูญจากราคะ โทสะ โมหะ เช่นกัน
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 615
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยอยู่โดยความเป็นอนัตตาย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นอนัตตา แต่ธรรมดาว่า การออกจากสังขตธรรมด้วยมรรค (มรรควุฏฐานะ) ย่อมไม่มีโดยเพียงเห็นโดยความเป็นอนัตตาเท่านั้นการเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้างจึงสมควร เพราะฉะนั้น เธอจึงยกขึ้นสู่อนุปัสสนา ๓ อย่าง คือ อนิจจัง ทุกขังและอนัตตาแล้วพิจารณาอยู่ท่องเที่ยวไป ก็วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีของภิกษุนั้น ย่อมเห็นสังขารทั้งหลายแม้อันเป็นไปในภูมิ ๓ โดยความเป็นของสูญ (ว่างเปล่า) ทีเดียว วิปัสสนานี้ชื่อว่า สุญญตา วิปัสสนานั้นดำรงอยู่ในฐานะที่ควรบรรลุ จึงให้ชื่อมรรคของตนว่า สุญญตะ มรรคย่อมได้ชื่อว่า สุญญตะเพราะการบรรลุด้วยประการฉะนี้. แต่เพราะมรรคนั้นสูญจากราคะเป็นต้น ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า สุญญตะ ด้วยคุณของตน. แม้พระนิพพาน ท่านก็เรียกชื่อว่า สุญญตะ เพราะเป็นสภาวะสูญจากราคะเป็นต้น. มรรคย่อมได้ชื่อสุญญตะ โดยอารมณ์เพราะความที่มรรคนั้นทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 366 อนึ่ง ชื่อว่า สุญญตะ เพราะความเป็นของสูญจากราคะเป็นต้นชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีรูปนิมิตเป็นต้น หรือราคะนิมิตเป็นต้น. ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้งของราคะเป็นต้น นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความมีคุณของมรรคนั้น.