ถามเรื่อง : บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ กับ ไตรสิกขา

 
ajarnkruo
วันที่  28 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4142
อ่าน  5,472

หลักธรรมบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ และไตรสิกขา มีความข้องเกี่ยวกันประการใดหรือไม่

เพราะบุญกิริยาวัตถุก็มี สีลมัยและภาวนามัย ส่วนไตรสิกขา ก็มีอธิศีลสิกขาและอธิปัญญาสิกขา

ขอช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

บุญญกิริยาวัตถุ หมายถึง ที่ตั้งของบุญ ๑๐ ประการ ซึ่งครอบคุมกุศลธรรมทุกประเภท รวมกุศลที่เป็นไปในวัฏฏะและวิวัฏฏะ รวมกุศลภายนอกศาสนาและกุศลที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนไตรสิกขาคือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นกุศลที่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เป็นกุศลที่นำออกจากวัฏฏะโดยส่วนเดียว แต่ก็รวมอยู่ในบุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ โดยย่อ คือ ทาน ศีล ภาวนา

เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

เรื่องทำบุญ ๓ ประการ [ปุญญกิริยาวัตถุสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หมายถึงที่ตั้งแห่งการเจริญกุศลหรือที่ตั้งแห่งการทำความดี

การอุทิศส่วนกุศล การอนุโมทนา การให้วัตถุสิ่งของ (จัดเป็นทาน)

การช่วยเหลือ การอ่อนน้อม การมีตนเสมอ (จัดเป็นศีล)

การฟังธรรม การแสดงธรรม ความเห็นถูก (จัดเป็นภาวนา)

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ศีล ในบุญกิริยาวัตถุ เป็นทั้งศีลธรรมดา และเป็นทั้งอธิศีล ศีลธรรมดากับอธิศีลต่างกันอย่างไร ศีล ๕ ศีล ๑๐ ที่ไม่ได้มีความเข้าใจพระธรรม รักษากันตามประเพณี ไม่เข้าใจหนทางดับกิเลส หรือ ศีล ๕ เมื่อสมัยที่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ เป็นแค่ศีลเท่านั้น ไม่ใช่อธิศีล เพราะอธิศีลต้องเป็นไปเพื่อดับกิเลส เป็นเบื้องต้น เพื่อไปสู่พระนิพพาน ส่วนบุคคลที่รักษาสีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ ด้วยเข้าใจหนทางการดับกิเลส เช่น การเจริญสติปัฏฐานถูกต้อง และเป็นไปเพื่อนิพพาน ดับกิเลส ชื่อว่า อธิศีลสิกขา (อธิแปลว่ายิ่ง) แต่คนที่รักษาศีล ๕ หรือ ๘ หรือ ๑๐ แต่ประพฤติปฏิบัติผิด (ข้อปฏิบัติผิด) ไม่เป็นอธิศีลสิกขาครับ เพราะไม่ทำให้ดับกิเลสได้ เพราะไม่เข้าใจหนทาง ส่วน ปัญญาก็เช่นกัน มีทั้งที่เป็นปัญญาธรรมดาและเป็นอธิปัญญา สำคัญที่เข้าใจหนทาง (สติปัฏฐาน) และเป็นไปเพื่อสิ้นกิเลส ไม่ใช่รักษาศีล ฟังธรรมเพื่อเกิดในภพดี ดี หรือมีรูปสวย นี่ไม่ใช่อธิศีลและอธิปัญญาสิกขา เพราะไม่เป็นไปเพื่อดับกิเลสครับ แต่กุศลที่เป็นศีลหรือปัญญาทั้งหมด ไม่ว่าจะเข้าใจ ไม่เข้าใจหนทาง ก็จัดอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ครับ ลองอ่านพระไตรปิฎกที่จะยกมานะ จะเข้าใจเรื่อง ศีล อธิศีล จิต อธิจิต ปัญญา อธิปัญญา ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรครับ ลองอ่านดูนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ไตรสิกขา ก็คือ อริมรรคมีองค์ ๘ ดังนี้คือ

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สงเคราะห์เข้าในหมวด ศีลขันธ์ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สงเคราะห์เข้าในหมวด สมาธิขันธ์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สงเคราะห์เข้าในหมวด ปัญญาขันธ์ขณะที่สติปัฏฐานเกิด (ประกอบด้วยมรรคมีองค์ ๖) ขณะนั้นเป็นทั้ง อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา เพราะปราศจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ajarnkruo
วันที่ 30 มิ.ย. 2550

ยอมรับครับว่า สิ่งที่พอจำได้จากวิชาพระพุทธศาสนาสมัยยังเรียนมัธยมนั้นลางเลือนจนแทบจะจำไม่ได้ พอดีที่ครูสอนสังคมที่โรงเรียนกำลังสอนเด็กถึงเรื่อง ไตรสิกขา ก็เลยเกิดความสงสัยถึงความคล้ายกันความต่างกัน ของหลักธรรมทั้งสอง เพราะเคยฟังเรื่องบุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ มาจากสามเณรีนันทยาณี ตอนนี้เข้าใจกระจ่างขึ้น แต่ยังคงต้องอ่านศึกษาเพิ่มเติมอีกเรื่อยๆ

ขอบคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Komsan
วันที่ 6 ก.ค. 2550
ขออนุโมทนา ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
olive
วันที่ 23 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 10 มี.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 19 ธ.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ