ทาน 8 ประการ?
ขอกราบบูชาคุณพระรัตนตรัย
ขอรบกวนถามว่า ทาน ๘ ประการ ที่กล่าวกันมีอะไรบ้างคะ
ด้วยความขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ผู้ที่ศึกษาพระธรรมและพิจารณาตาม จะเห็นว่าธรรมะคือ ความเป็นจริงในชีวิตประจำวันนั่นเอง ซึ่งพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ จำแนกไว้ ให้ผู้ที่มีอัธยาศัยต่างๆ กัน ได้ศึกษา เห็นประโยชน์ และประพฤติปฏิบัติตาม
ขออนุโมทนา
การให้ทานที่ดีที่สุด คือการให้เพื่อปรุงแต่งจิต หมายความว่า เป็นเครื่องประดับ เป็นเครื่องแวดล้อม อันประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา ฯลฯ
การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
(สับ - พะ - ทา - นัง - ทำ - มะ - ทา - นัง - ชิ - นา - ติ)
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมงามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด เปรียบเหมือนบุคคลผู้หงายของที่คว่ำอยู่ - เปิดของที่ปิดอยู่ - บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดเพื่อ ผู้มีจักษุจะพึงเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระรัตนตรัย ว่าเป็นสรณะตลอดชีวิต
แม้เพียง ทานที่เป็นทรัพย์นอกกาย ยังให้ผลนับไม่ได้ ก็ชวนให้นึกถึง "ธรรมทาน" ซึ่งชนะการให้ทั้งปวง (เพราะเป็นไปเพื่อความไม่เกิด) แล้วก็คิดต่อไปถึง ท่านอาจารย์สุจินต์ ที่ให้ธรรมทาน มาตั้งแต่ท่าน อายุ ๒๖ จนบัดนี้ อายุ ๘๑ แล้ว ก็ยังให้ ธรรมทานอยู่ แม้ท่านจะป่วยก็ไม่เคยย่อท้อเลย มีใจที่เข้มแข็ง เพื่อธรรมทานจริงๆ ครับ ขอกราบอนุโมทนา กับ ท่านด้วยเศียรเกล้า
รองลงมาก็ขออนุโมทนา กับวิทยากรของ มศพ. ที่ช่วยพระศาสนาในการเผยแพร่กับท่านอาจารย์ ทุกเสาร์ - อาทิตย์ ที่ มศพ. และวันอื่น ที่อื่นด้วยตามกำลัง รวมถึง กรรมการของมศพ. อีก ๘ ท่าน ที่ทำงานให้ มศพ.โดยไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว
ที่จะลืมเสียมิได้ คือ ทีมงาน เวปไซด์ บ้านธัมมะ ทุกท่าน ที่ช่วยกันพัฒนาเวปนี้จนถึงวันนี้และ สมาชิกทุกท่าน ที่เกิดมหากุศลญาณสัมปยุตต์จากการศึกษาพระธรรม ครับ
ทานที่ประกอบด้วยปัญญา.....จึงเป็นบารมี (เป็นไปเพื่อดับสังสารวัฏฏ์)
[เล่มที่ ๔๓] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๓๒๖
ข้อความบางตอนจาก
เรื่องท้าวสักกเทวราช
เพราะว่าชนทั้งหลาย เมื่อจะทำบุญเห็นปานนั้น ต่อฟังธรรมแล้วเท่านั้นจึงทำได้ ไม่ได้ฟังก็หาทำได้ ก็ถ้าว่าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงฟังธรรมไซร้ เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่งบ้าง ภัตประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง เพราะเหตุนี้ ธรรมทานนั่นแหละ จึงประเสริฐ ที่สุดกว่าทานทุกชนิด การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้
สัปปุริสทาน ๘ ประการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการ นี้ ๘ ประการ เป็นไฉน คือ
ให้ของสะอาด ๑
ให้ของประณีต ๑
ให้ตามกาล ๑
ให้ของสมควร ๑
เลือกให้ ๑
ให้เนืองนิตย์ ๑
เมื่อให้จิตผ่องใส ๑
ให้แล้วดีใจ ๑
การที่กุศลประการต่างๆ (ที่ยังไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย) จะเกิดขึ้นได้นั้นก็เพราะขณะนั้นไม่มี โลภะ ไม่มีโทสะ จึงเกิดขึ้นได้ อย่างในกรณีให้ทาน ถ้ายังมีโลภะอยู่ก็ยากที่จะสละวัตถุสิ่งของอันเป็นของตนให้เป็นทานได้ หรือในขณะที่กำลังโกรธกำลังขุ่นเคืองใจ ก็ยากที่จะสละวัตถุสิ่งของให้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น กุศลประเภทนี้จึงมีเพียงเหตุ ๒ เกิดร่วมด้วยเท่านั้น คือ อโลภเหตุกับอโทสเหตุ ส่วนกุศลที่ประกอบด้วยปัญญานั้น ต้องมีโสภณเจตสิกซึ่งเป็น เหตุ ๓ ประการเกิดร่วมด้วยกับจิตในขณะนั้น คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุและอโมหเหตุ สำหรับอโมหเหตุนั้นคือ ปัญญา เป็นความเข้าใจถูก เห็นถูก
การที่ได้เจริญกุศลใดๆ ก็ตามที่ประกอบด้วยปัญญา ย่อมเป็นกุศลที่ประเสริฐ แต่การเจริญกุศลนั้นไม่มีเฉพาะเพียงทานเท่านั้น ยังมีกุศลประการอื่นๆ อีก "ทาน ให้เมื่อมีเมื่อยังไม่มีก็ไม่ต้องเดือดร้อน"
ขออนุโมทนาครับ
เห็นภาพที่คุณตุลานำมาลงแล้ว เป็นเครื่องเตือนให้ไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ และเพิ่มพูนความเข้าใจ ความมั่นคงในเรื่องกรรมและผลของกรรมยิ่งขึ้นได้ เป็นอย่างดี
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ควรเห็นประโยชน์ของการเจริญกุศลทุกประการ อบรมบารมี ๑๐ แม้ทานบารมี ทานประกอบด้วยเหตุ ๓ ก็ได้คือ ประกอบด้วยปัญญา เช่น ให้ทานเพราะเชื่อกรรมและผลของกรรม เป็นต้น ก่อนให้ก็พิจารณาว่า ให้เพราะทรัพย์มีความไม่เที่ยงหรือชีวิตมีความไม่เที่ยงจึงให้ หรือเชื่อกรรมและผลของกรรม ให้เป็นปุพพเจตนา เจตนาก่อนให้ที่ประกอบด้วยปัญญา ขณะให้หรือหลังให้ก็โดยนัยเดียวกัน เป็นกุศลขั้นทานที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย อบรมเจริญกุศลทุกประการ ถ้าสละวัตถุไม่ได้ การสละกิเลสและความเป็นตัวเราย่อมยากยิ่งกว่านั้น ทานจึงเป็นบารมีข้อแรก ขอแสดงข้อความในพระไตรปิฎกที่แสดงถึงทานที่ประกอบด้วยปัญญาก็มีครับ ลองอ่านดูนะ
เรื่อง ทานที่ประกอบด้วยปัญญา มี ๓ เหตุคือ อโลภะ อโทสะและอโมหเจตสิก
เชิญคลิกอ่านที่นี่...
ทานที่ปรุงแต่งจิต ประกอบด้วยปัญญา เป็นทานอันเลิศ
[เล่มที่ 3] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ ๑๔๕
ข้อความบางตอนจาก ..
อรรถกถาทานสูตร
บทว่า พฺรหฺมกายิกาน เทวาน สหพฺยต ความว่า เขาไม่อาจเกิดขึ้นในภูมินั้นได้ด้วยทาน ก็เพราะเหตุที่ทานนั้น เป็นเครื่องประดับจิตอันประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา ฉะนั้น เขาจึงทำฌานและอริยมรรคให้บังเกิด ด้วยจิตอันประดับด้วยทานนั้นแล้ว ย่อมเกิดขึ้นในภูมินั้นด้วยฌาน
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์