ศีลข้อมุสา

 
oom
วันที่  13 มี.ค. 2551
หมายเลข  7871
อ่าน  9,369

การผิดศีลข้อมุสา ต้องประกอบด้วยเหตุใดบ้าง จึงจะเรียกว่า ผิดศีล


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ajarnkruo
วันที่ 13 มี.ค. 2551
ความคิดเห็นที่ 1 โดย : ม.ศ.พ.
มุสาวาท คือคำพูดที่ไม่จริง เป็นเท็จ เจตนาหลอกลวงให้ผู้อื่นรู้ในคำไม่จริง

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า ๑๙๒

มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. อตถํ วตฺถุ เรื่องไม่แท้ ๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน ๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อนนั้น ๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นรู้เรื่องนั้น.

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ ---> มุสาวาท มุสาวาท ศีลข้อมุสาวาทา
เหตุที่ทำให้เกิดมุสาวาทนั้น มาจากอกุศลเป็นเหตุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 15 มี.ค. 2551

สำหรับพระภิกษุถ้าพูดมุสา เช่น อวดคุณวิเศษที่ตนไม่มี แล้วบอกว่ามีอาบัติปาราชิกค่ะเป็นโทษหนัก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ ตัวอย่างจากพระไตรปิฏกค่ะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๖๓

ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑.เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒.กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓.ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔.อำพรางความเห็น ๕.อำพรางความถูกใจ ๖.อำพรางความชอบใจ ๗.อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
oom
วันที่ 3 เม.ย. 2551

ถ้าเราต้องพูด เพื่อถนอมน้ำใจคนอื่น และเพื่อรักษาความสามัคคีในหมู่คณะ โดยไม่พูดความจริงทั้งหมด แต่พูดหลีกเลี่ยง ไม่บอกตรงๆ ถือว่าผิดศีลหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 3 เม.ย. 2551

บางสิ่งการไม่บอกความจริงไปทั้งหมด โดยไม่ได้บิดเบือนก็ไม่ผิดครับ เช่น ความจริงบางอย่างไม่เป็นประโยชน์ต่อการประพฤติพรหมจรรย์ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงตรัสแสดง แต่สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชนนั้น การพูดบิดเบือนบ่อยๆ มีโอกาสที่จะน้อมไปสู่การโกหกได้ง่ายมาก ถึงไม่ได้โกหก ส่วนใหญ่จะเป็นการพูดส่อเสียด หยาบคาย หรือเพ้อเจ้อไปเสีย เพราะฉะนั้น ควรระวังคำพูด และอบรมเจริญกุศลธรรมที่จะทำให้วจีสุจริตเจริญขึ้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 4 เม.ย. 2551

คงมีอะไรผิดพลาดตอนย้าย sever ละมังครับ คำที่พูดมาในชื่อของผมนั้น ผมเห็นด้วย แต่ว่าผมไม่ได้พูดนี่นา อยากรู้เล่นๆ ว่า ใครโพสต์ข้อความนี้เอ่ย ถ้าไม่แสดงตัวผมเอาเป็นเครดิตผมเลยนะ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
oom
วันที่ 8 เม.ย. 2551

อนุโลมมุสา คือการไม่แสดงเรื่องเท็จทั้ง ๗ อย่าง แต่พูดเรื่องไม่จริงซึ่งไม่มีเจตนาจะกล่าวเท็จ แต่เจตนาจะให้เขาเจ็บใจหรือแตกร้าวกัน เป็นต้น เรียกว่า อนุโลมมุสา เช่น
-พูดเสียดแทง กระทบกระแทก แดกดัน
-พูดประชด ยกให้เกินความจริง
-พูดด่ากดให้ต่ำกว่าความเป็นจริง
-พูดสับปลับ ด้วยความคะนองวาจา แต่ไม่ตั้งใจให้เข้าใจผิด
-พูดคำหยาบ คำต่ำทราม ไม่จัดเป็นมุสาวาทแต่ศีลด่างพร้อย

คนที่พูดแบบนี้จะได้รับผลกรรมอย่างไรบ้าง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 8 เม.ย. 2551

ถ้าพูดให้เขาแตกแยกกันเป็นการพูดส่อเสียด ถึงจะไม่เป็นมุสา แต่ก็เป็นอกุศลกรรมบถ วจีทุจริตมี ๔ คือพูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ ถ้าการพูดไม่เป็นไปในเรื่องของธรรมะ การพูดนั้นก็เป็นเพ้อเจ้อค่ะ ถ้าล่วงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ก็เป็นเหตุให้ไปอบายภูมิค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
oom
วันที่ 9 เม.ย. 2551

คนที่พูดจาประจบเก่งๆ เพื่อให้คนชอบ แบบนี้ต้องตกอบายภูมิหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
study
วันที่ 9 เม.ย. 2551

คนที่พูดจาประจบเก่งๆ เพื่อให้คนชอบ ถ้าเป็นอกุศลกรรมบถนำเกิดในอบายได้ ถ้าไม่เป็นอกุศลกรรมบถ ไม่นำเกิดในอบายครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ