พรหม มีกี่ขันธ์ คะ
ควรทราบว่าพระพรหมแบ่งเป็นประเภทใหญ่เป็น ๓ ประเภท คือ
๑. พระพรหมที่มีทั้งรูปและนาม คือ รูปพรหมภูมิ พรหมเหล่านี้มีขันธ์ ๕ ขันธ์
๒. พระพรหมที่มีรูปอย่างเดียว คือ ในชั้นอสัญญสัตตาพรหมภูมิ มีขันธ์ ๑ ขันธ์
๓. พระพรหมที่มีนามอย่างเดียว คือ อรูปพรหมภูมิ มีขันธ์ ๔ ขันธ์ ไม่มีรูปขันธ์ วัตถุรูป เป็นรูป ไม่ใช่พรหม แต่รูปหลายรูปที่ประชุมรวมกันเกิดในพรหมภูมิเรียกว่าพรหม
เท่าที่ทราบมาพระพรหม ไม่มีเวทนาขันธ์, รูปพรหม มีรูปกายและนามอีก ๓ ขันธ์ และมีเพียง ๑ พักตร์ เคยฟังจากพระปฏิบัติ
การศึกษาพระธรรมควรเทียบเคียงจากพระไตรปิฎกค่ะไม่ควรเชื่อตามพระท่านใดท่านหนึ่งโดยไม่ได้ตรวจดูว่าถูกต้องตามพระไตรปิฎกหรือไม่
ที่ท่านอาจารย์ prachern.s กรุณาอธิบายไว้ชัดเจนมากค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
พรหมที่มีรูปอย่างเดียวคือ ในชั้นอสัญญสัตตาพรหมภูมิ มีขันธ์เดียวคือ รูปขันธ์จึงไม่มีทั้งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์และ วิญญาณขันธ์พรหมนอกจากนี้ต้องมี เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ส่วนพรหมที่ไม่มีรูปขันธ์เลย มีแต่ในอรูปพรหมภูมิ แต่ในมนุสสภูมินี้มีครบทั้ง ๕ ขันธ์ ถ้าเข้าใจตรงนี้ขึ้น จะเป็นประโยชน์กว่าเพราะเป็นความจริงที่ใกล้ตัว พิสูจน์ได้ มีปรากฏให้ศึกษาอยู่ทุกๆ ขณะในชีวิตประจำวันครับ
พรหมบุคคล เป็นคำกลางๆ เพราะเหตุว่า พรหมบุคคล มีทั้งรูปพรหมบุคคล และอรูปพรหมบุคคล เวลากล่าว จึงต้องระบุให้ชัดเจนว่า กำลังกล่าวถึงพรหมบุคคลประเภทใด รูปพรหมบุคคล ยังแบ่งออกเป็นสองประเภท คือรูปพรหมบุคคล ที่มีทั้งรูปธรรมและนามธรรม กล่าวคือ มีขันธ์ครบทั้ง ๕ ขันธ์ และอีกประเภทหนึ่ง คืออสัญญสัตตาพรหมซึ่งเป็นพรหมที่มีรูปธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่มีนามธรรม จึงมีขันธ์เพียงขันธ์เดียวคือ รูปขันธ์ เกิดขึ้นเป็นไปเท่านั้น สำหรับอรูปพรหมบุคคล เป็นพรหมบุคคลที่ไม่มีรูปธรรม มีแต่นามธรรม คือจิต เจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นเจตสิก วิญญาณขันธ์ เป็นจิต)
ส่วนที่กล่าวถึง วัตถุรูป นั้น วัตถุรูป เป็นรูปธรรมซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของจิต กล่าวคือในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมกัน) ต้องอาศัยวัตถุรูปเป็นที่เกิด เช่นจิตเห็น อาศัยจักขุวัตถุ เป็นที่เกิด จิตได้ยิน อาศัยโสตวัตถุ เป็นที่เกิด เป็นต้น ส่วนอรูปพรหมบุคคล จิตเกิดขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุรูปเป็นที่เกิด ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านเรื่องวัตถุรูป เพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ ...
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เวลาที่เราฟังอะไร หรืออ่านอะไร ถ้าไม่ดูไม่ศึกษาให้ตลอด แล้วรีบสรุปความเลย ไม่ตรวจสอบให้รอบคอบโดยตรงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา โอกาสคิดเอาเองตามความเห็นของตนมีมากค่ะ และส่วนใหญ่มักผิด เพราะมักเอาตนเป็นประมาณหรือไปเทียบเคียง ยังไงๆ คุณ SURAPON ก็ลองตรวจสอบสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาแล้ว จากพระไตรปิฎกได้ด้วยตัวเองเช่นกันนะคะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านผู้รู้ทุกท่านในความเกื้อกูลค่ะ