เด็ก ๆ กับการศึกษาพระธรรม
ลูกศิษย์ที่โรงเรียนได้มีโอกาสเรียนธรรมศึกษา สอบได้นักธรรมกันเป็นแถวๆ คิดดูก็น่ายินดี แต่ที่สอบได้นักธรรมกันนั้น เท่าที่สัมผัสกับความประพฤติของเขาเหล่านั้น รู้สึกว่ายังไม่มีความเกรงกลัวอกุศลกันเลย เหมือนจะเท่าเดิม สมควรจะให้ความรู้ เกี่ยวกับสภาพธรรมแก่เด็กระดับมัธยม หรือยัง? ข้าพเจ้าแบกโลกอีกแล้วใช่ไหมเนี่ย
สมควรให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพธรรมแก่ผู้รับฟังทุกวัยครับ เราไม่รู้ว่าเขาสะสมอะไรมาบ้าง แต่สิ่งที่ถูกต้องเราควรพูด มิฉะนั้นเขาจะไม่มีโอกาสได้ฟัง
การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง เราสามารถแนะนำให้เด็กให้เห็นโทษของการล่วงศีล 5 ให้เห็นโทษของอกุศล ที่เป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ ให้เห็นคุณของการรักษาศีล 5 เช่น การฆ่าสัตว์ก็ทำให้อายุสั้น ที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์เพราะผลของกุศล ฯลฯ
เด็กๆ ประถมที่โรงเรียนก็สอบธรรมะทางก้าวหน้ากันเป็นแถว เรื่องมงคล ๓๘ ประการ แล้วก็เหมือนกันกับเด็กมัธยม เขาไม่ค่อยกลัวบาปอกุศล ท่องจำได้มากเพื่อสอบจริงๆ ไม่ใช่เพื่อเข้าใจ กลายเป็นธรรมะเพื่อประกาศนียบัตร ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเรื่องการสอบทำนองนี้หรอกค่ะ (และ ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้ขอให้ไปช่วยเกี่ยวข้อง)
ถามว่า สมควรจะให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพธรรมแก่เด็กระดับมัธยม หรือยัง?
ตอบว่า คิดว่าได้ค่ะ เท่าที่พอเป็นไปได้ นี่ตัวเองก็ค่อยๆ แทรกทีละนิดละหน่อย ตามแต่โอกาสที่มีอยู่เหมือนกัน
เด็กประถมในสายชั้นที่สอนอยู่ เห็นเขาสวดสรรเสริญ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ราวกับนกกระจอกมาหลายหน วันไหนได้โอกาสในการเป็นผู้ดูแลช่วงสวดมนต์ ก็จะถามเขาว่าเข้าใจสิ่งที่สวดไหม รู้ไหมว่าทำไมจึงมีคุณ เด็กก็ตอบไปเรื่อยเปื่อย โดนใช้ให้สวดก็สวด ค่อยๆ พูดไป อธิบายไปเล็กๆ น้อยๆ ทีละเรื่อง ถึงจะมีโอกาสพูดน้อย นานๆ ที และถึงแม้ว่าการฟังของเขา จะเป็นแบบเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาก็ช่าง ดีกว่าที่เขาจะไม่มีโอกาสได้ฟังเรื่องเหล่านี้บ้างเลย
ขออนุโมทนาคุณป้า
(วันนี้คิดว่าตัวเองชอบแบกโลกอีกแล้วหรือเปล่าคะ)
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษา และมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง การที่จะเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหนนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการสั่งสมมาของแต่ละบุคคล จึงต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน คือเริ่มฟัง เริ่มศึกษา ค่อยๆ สั่งสมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว หากมีโอกาสก็ควรที่จะให้ความเข้าใจแก่บุคคลอื่นด้วย ตามกำลังปัญญาของตนเองเท่าที่จะเป็นไปได้ ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
prachern.s ความคิดเห็นที่ ๑
"...แต่สิ่งที่ถูกต้องเราควรพูด มิฉะนั้นเขาจะไม่มีโอกาสได้ฟัง..."
และ pornpaon
ความคิดเห็นที่ ๓
"...ค่อยๆ พูดไป อธิบายไปเล็กๆ น้อยๆ ทีละเรื่อง ถึงจะมีโอกาสพูดน้อย นานๆ ทีและถึงแม้ว่าการฟังของเขา จะเป็นแบบเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาก็ช่าง ดีกว่าที่เขาจะไม่มีโอกาสได้ฟังเรื่องเหล่านี้บ้างเลย..." และไม่ลืมที่ว่า
khampan.a
ความคิดเห็นที่ ๔
"...จึงต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน คือ เริ่มฟัง เริ่มศึกษา ค่อยๆ สั่งสมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว หากมีโอกาส ก็ควรที่จะให้ความเข้าใจแก่บุคคลอื่นด้วย ตามกำลังปัญญาของตนเองเท่าที่จะเป็นไปได้ ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ครับ..."
ขออนุโมทนาท่านกัลญาณมิตรทุกท่านครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
บางครั้งการให้ธรรมะแก่เด็กก็ควรจะเริ่มต้นจากการให้เขาเข้าใจได้ว่าอะไรเป็น ความดี อะไรเป็นความชั่ว การทำความดีให้ผลเป็นความสุข การทำความชั่ว จะให้ผลเป็นความทุกข์ ถ้าให้ธรรมะยากไปเขาอาจไม่เข้าใจได้ เห็นด้วยกับ คุณwannee.s แนะนำให้เด็กเห็นโทษของการล่วงศีล๕ และแนะนำให้กระทำ ความดีเช่น รู้จักการเป็นผู้ให้ การอ่อนน้อมถ่อมตน การช่วยเหลือการงานผู้อื่น การฟังธรรม เป็นต้น ค่อยๆ สอดแทรกธรรมะแก่เขาตามโอกาสอันควร
สมควร คือการกระทำกุศลทุกประการ ไม่สมควร คือการกระทำอกุศลทุกประการให้ธรรมทานแก่ผู้ที่มีศรัทธาใคร่จะฟัง เป็นสิ่งที่สมควรครับส่วนผู้ที่ฟังแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจ อาจจะเป็นปัจจัยต่อไปในภายหน้าแก่เขาได้ ๗ ขวบขึ้นไปถ้าสะสมมาดีก็ฟังได้ เข้าใจได้และอาจจะบรรลุได้ เมื่อเหตุสมควรแก่ผล ครับ