ชาย หญิง
การที่สัตว์บุคคลทั้งหลายโดยทั่วไปต่างกันเป็นหญิงและชายนั้นเพราะ ภาวรูป ๒ คือ
อิตถีภาวรูป เป็นรูปที่ซึมซาบอยู่ทั่วกาย ทำให้ปรากฏเป็นทรวดทรง สัณฐานอาการ กิริยา ท่าทางของเพศหญิง ปุริสภาวรูป เป็นรูปที่ซึมซาบอยู่ทั่วกาย ทำให้ปรากฏเป็นทรวดทรง สัณฐาน
อาการ กิริยา ท่าทางของเพศชาย ในแต่ละบุคคลจะมีภาวรูปหนึ่งภาวรูปใด คืออิตถีภาวรูปหรือปุริสภาวรูปเท่านั้น และบางบุคคลก็ไม่มีภาวรูปเลย เช่น พรหมบุคคลในพรหมโลก และผู้ที่เป็นกะเทย เช่นนั้นถ้าพิจารณาว่า รูปทั้งสองทำให้รูปที่เกิดร่วมด้วยแสดงถึงลักษณะเป็นชายหรือหญิง แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นชาย หญิง กะเทย ปกติแล้วก็จะมีกายภาพไม่ชายก็หญิง แต่กะเทย หรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนอื่นๆ เป็นนามมิใช่ รูป เหตุใดจึงกล่าวว่า
อิตถีภาวรูป เป็นรูปที่ซึมซาบอยู่ทั่วกาย ทำให้ปรากฏเป็นทรวดทรง สัณฐานอาการ กิริยา ท่าทางของเพศหญิง ปุริสภาวรูป เป็นรูปที่ซึมซาบอยู่ทั่วกาย ทำให้ปรากฏเป็นทรวดทรง สัณฐาน อาการ กิริยา ท่าทางของเพศชาย ซึ่งรวมกิริยาท่าทางด้วย คำว่ากิริยาท่าทางมุ่งไปในทางกายภาพใช่ หรือไม่ มิได้รวมถึงจิตใจใช่หรือไม่
อิตถีภาวรูปเป็นรูปละเอียดไม่สามารถรู้ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ทาง ทวารใจ เท่านั้น แต่นิมิตเครื่องหมาย กิริยา อาการ ท่าทาง เป็นต้นนั้น เป็นการอธิบายให้เห็นถึง ความเป็นหญิง ความเป็นชายอย่างหยาบๆ แต่ไม่ใช่ลักษณะของอิตถีภาวรูปจริงๆ สำหรับพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ผิดแปลกกว่าคนทั่วไปนั้น เป็นเรื่องของจิตใจที่มีการสะสม อกุศลกรรมที่ผิดต่อเพศ จึงทำให้เป็นอย่างที่เห็นๆ กัน
เรียนถามคุณประเชิญ ครับ ว่า ในภูมิมนุษย์หรือ เทวดาชั้นต่ำคือชั้นจาตุมหาราชิกา จะมี ภาวรูปทั้งสอง อยู่ในรูปร่างกายเดียวกันได้หรือไม่ และ มีตัวอย่างในพระไตรปิฎกหรือไม่ครับ
ขอเชิญอ่านคำอธิบายอุภโตพยัญชนก จากอรรถกถาดูนะครับ
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๔๓ ว่าโดยอุภโตพยัญชนกะ ถามว่า บุคคลผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะ มีอินทรีย์เดียวหรือมีสองอินทรีย์ บุคคลผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะ มีอินทรีย์เดียวหรือมีสองอินทรีย์ ตอบว่า มีอินทรีย์เดียว ก็อินทรีย์ของหญิงผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะนั้น มีอินทรีย์เดียว ก็อินทรีย์ของหญิงผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะนั้นแลเป็นอิตถินทรีย์ ของชายผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะเป็นปุริสินทรีย์. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พยัญชนะ (เครื่องหมาย) ที่ ๒ ก็ไม่ปรากฏเพราะตรัสไว้ว่า อินทรีย์แสดงเครื่องหมายเพศ และอินทรีย์ของบุคคลผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะนั้นก็ไม่มี. อุภโตพยัญชนกะนั้นก็ไม่มี. ตอบว่า อินทรีย์ของบุคคลนั้น เป็นเครื่องแสดงเพศหามิได้. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะไม่มีอยู่ทุกเมื่อ. ด้วยว่า เมื่อใดจิตกำหนัดของอิตถีอุภโตพยัญชนกะเกิดในหญิง ก็ในกาลนั้น เครื่องหมายเพศชายย่อมปรากฏ เครื่องหมายเพศหญิงย่อมปิดบังซ่อนเร้น ปุริสอุภโตพยัญชนกะนอกนี้ ก็มีเครื่องหมายเพศหญิง นอกนี้เหมือนกันผิว่า อินทรีย์ของอุภโตพยัญชนกะทั้งสองเหล่านั้น พึงมีเครื่องหมายที่ ๒ ไซร้เครื่องหมายเพศทั้ง ๒ ก็พึงตั้งอยู่แม้ในกาลทุกเมื่อ แต่ว่าหาได้ตั้งอยู่ไม่ เพราะฉะนั้น อินทรีย์นั้นพึงทราบ คำนี้ว่า อินทรีย์นั้นของอุภโตพยัญชนกะนั้นเป็นเหตุแห่งเครื่องหมายเพศหามิได้ แต่ในที่นี้ เหตุคือ จิตสัมปยุตด้วยราคะมีกรรมเป็นสหาย ก็เพราะอินทรีย์ของอุภโตพยัญชนกะนั้นมีเพียงหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้นอิตถีอุภโตพยัญชนกะ แม้ตนเองก็ตั้งครรภ์ได้ ย่อมทำให้บุคคลอื่นตั้งครรภ์ก็ได้ ส่วนปุริสอุภโตพยัญชนกะ ย่อมทำบุคคลอื่นให้ตั้งครรภ์ได้ แต่ตนเองย่อมตั้งครรภ์ไม่ได้ ฉะนี้แล.