เข้าใจ หรือ จำ

 
choonj
วันที่  3 ต.ค. 2551
หมายเลข  10052
อ่าน  1,406

ผมมีเพื่อนคนหนี่งและจากการพูดจากันก็รู้ว่าเขาเป็นคนจำเก่ง เมื่อฟังอาจารย์ถาม เขาจะตอบได้หมดเลยแม้นคำถามยากๆ ก็ยังตอบได้ แต่บางวันคำถามง่ายๆ ป.๑ ยังตอบไม่ได้ คือลืมจำ เราเมี่อศีกษาธรรมะอยู่ด้วยกันก็ไม่พ้นจากการที่จะต้องจำ และ เข้าใจ จึงขอชวนท่านแสดงประสพการณ์ของท่านในการศึกษาว่า ท่านจำหรือ เข้าใจ อย่างไร? และ ขณะนี้ขณะใดต้องจำ ขณะใดต้องเข้าใจ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 3 ต.ค. 2551

ถ้าจำ ไม่นานก็ลืม แต่ถ้าเข้าใจเป็นปัญญาสะสมต่อไปในภพหน้า อาศัยการฟังธรรม ด้วยความเข้าใจก็ทำให้เกิดสัญญาความจำที่มั่นคงในเรื่องของสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ถ้าขณะที่เราหลงลืมสติ ก็จะเห็นเป็นคนนี้ คนโน้น เป็นสัตว์ เป็นสิ่งของ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 4 ต.ค. 2551

ขณะที่เข้าใจ ขณะนั้นจำแล้ว แต่ขณะที่จำ ไม่เสมอไปว่าจะเข้าใจ สภาพที่จำและสภาพที่ เข้าใจเป็นเจตสิก เป็นอนัตตา ไม่เกิดตามความต้องการ ไม่เกิดด้วยความมีตัวตนไป บังคับได้เราศึกษาพระธรรมเพื่อให้มี "ความเข้าใจความเป็นธรรมะ" ที่เกิดขึ้นแต่ละขณะว่าเป็น ธรรมะที่มีจริงๆ ที่ปรากฏในขณะนี้ เมื่อรู้ว่ามีธรรมะในขณะนี้ก็จะช่วยให้ละคลาย การหา วิธี ที่จะให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ตามความต้องการลง เพราะรู้ว่าธรรมะไม่ได้อยู่ใน กฏเกณฑ์ที่เราจะจัดสรรหรือจงใจให้เกิดได้ (เกิดแล้ว มีแล้ว ดับแล้ว) เมื่อค่อยๆ เข้าใจขึ้น ก็จะมีความจำที่มั่นคงขึ้นว่า ธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุและปัจจัย แต่ที่มายึดธรรมะที่เกิดและดับไปว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนนั้น เพราะสะสมความเห็นผิดและความไม่รู้มามาก แม้ทั้งสองจะเป็นธรรมะ แต่เป็นธรรมะฝ่ายอกุศล ที่ปัญญาเมื่อรู้แล้วเท่านั้นจึงจะละได้ แต่ถ้ายังไม่รู้ ก็ยังไม่ละ อบรมต่อไป เพื่อเข้าใจแล้วละ ทางเดียวเท่านั้น คือ การเจริญสติปัฏฐานครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 4 ต.ค. 2551

ajarnkruo ความคิดเห็นที่ ๒

ขณะที่เข้าใจ ขณะนั้นจำแล้ว แต่ขณะที่จำ ไม่เสมอไปว่าจะเข้าใจ สภาพที่จำและสภาพที่เข้าใจ เป็นเจตสิก เป็นอนัตตา ไม่เกิดตามความต้องการ ไม่เกิดด้วยความมีตัวตนไปบังคับได้

การฟังพระธรรมฟังให้เข้าใจในสิ่งที่ได้ฟัง เป็นความเข้าใจของเราเอง จริงๆ จะไม่มีวันลืม ถ้าศึกษาด้วยการจำโดยไม่เข้าใจนานๆ เข้าก็ลืมซึ่งไม่เกิดประโยชน์ แต่การเข้าใจพระธรรมโดยเฉพาะเข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฎอยู่ขณะนี้ ไม่ใช่การจำแต่การเข้าใจจริงๆ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎอยู่ขณะนี้ นานแค่ไหนก็ไม่ลืม แม้ตายจากโลกนี้ไปแล้ว หากภพชาติหน้าได้เกิดเป็นมนุษย์ได้ฟังพระธรรมอีกก็จะเข้าใจ ไม่ลืมค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Komsan
วันที่ 5 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 5 ต.ค. 2551

เข้าใจว่า ความเข้าใจในพระธรรมเป็นปัญญาอันจักสั่งสมไปในภายหน้าภพหน้า และเข้าใจอีกด้วยว่า ควรเข้าใจ (พระธรรม) จริงๆ เพื่อปัญญาของตนๆ ก่อน เป็นสำคัญ และควรเข้าใจมั่นคงขึ้นด้วยว่า เมื่อไม่เข้าใจจริงๆ (ในธรรมใด) จะอธิบาย (ธรรมนั้น) ให้ผู้อื่นได้เข้าใจนั้น ไม่สมควร การทั้งปวง (ในธรรม) จึงมุ่งที่ความเข้าใจของตนก่อน เป็นสำคัญ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
akrapat
วันที่ 6 ต.ค. 2551

เพียงขั้นการอ่าน การฟัง ดับกิเลสไม่ได้เลย ยังอยู่เต็มทีเดียว ฉะนั้น จึงต้องพิจารณาให้เข้าใจ เพื่อเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติระลึกสังเกต พิจารณารู้สิ่งที่ได้ยินได้ฟังเข้าใจแล้วนั้น จนกว่าจะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นปรากฏและดับไป จึงจะละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนได้ (จากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป หน้า ๕๓ วรรค ๒)

การฟังแล้วคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจในขั้นจินตามยปัญญาสะสม เพื่อเป็นเหตุไกล้ให้เกิดสติปัฏฐานเมื่อสติปัฏฐานเกิดบ่อยๆ ปัญญาที่เป็นภาวนามยปัญญา ค่อยเจริญขึ้นเป็นลำดับ

ถูกผิดประการใดขออโหสิกรรมด้วยนะครับ

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 6 ต.ค. 2551

พระธรรม..เป็นเรื่องละเอียด ลึกซึ้ง บางครั้งยากที่จะเข้าใจ จึงได้พยายามที่จะจำ (เพราะคิดว่าจำไว้ก่อนความเข้าใจจะตามมา) บ่อยครั้งที่จำได้ (ใครถามตอบได้ก็เลยคิดว่าเข้าใจแล้วทั้งที่จริงเข้าใจผิดก็มี) เมื่อสนทนากับผู้รู้จึงทราบว่าเข้าใจผิดแต่กว่าจะเข้าใจถูก.บางครั้งโต้แย้งจนจากได้รับความเมตตาในการตอบสอนเป็นไม่ได้รับความเมตตาอีกก็มี (ทำให้ตนเองเสียประโยชน์)

นี่ก็เป็นโทษของการจำโดยไม่เข้าใจให้ถูกต้อง

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 6 ต.ค. 2551

การศึกษาพระธรรมก็เพื่อเข้าใจความจริงที่มีในชีวิตประจำวัน ซึ่งละเอียดและลึกซึ้ง มาก ถ้าจำโดยไม่เข้าใจก็จะลืมง่ายมากและไม่ใช่ปัญญา แต่ถัาเข้าใจ (เป็นปัญญา) ก็จะจำได้ด้วย และปัญญาก็มีหลายขั้นมาก เช่นการฟังเข้าใจเรื่องราวของความจริง ของเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสและคิดนึก ย่อมไม่ใช่ปัญญาขั้นรู้ตรงลักษณะและขั้นประจักษ์แจ้ง

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ปริศนา
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ชื่อและเรื่องราวบัญญัติเพื่อให้ เข้าใจ "ลักษณะ"แต่ขณะที่ เข้าใจ ถึง "ลักษณะ"ขณะนั้น ไม่ใช่การจำชื่อ และเรื่องราว

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
อิน
วันที่ 7 ต.ค. 2551

เวลาในชีวิตที่แสนสั้น

ควรเป็นไปเพื่อการจำ

หรือ

เพื่อความเข้าใจ

^-^ ขออนุโมทนาในกุศลจิตในความเป็นมิตรของทุกท่านค่ะ ^-^

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เซจาน้อย
วันที่ 8 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ