ปกตูปนิสสยปัจจัย และ อัธยาศัยที่แตกต่าง

 
พุทธรักษา
วันที่  3 ต.ค. 2551
หมายเลข  10058
อ่าน  2,442

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


ข้อความบางตอนจากการถอดเทป การบรรยายธรรมโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ณ ตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕ โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

ท่านผู้ฟัง ปกตูปนิสสยปัจจัยนี้ คือ อยากจะเรียนถามอาจารย์ว่า ผมเคยเห็นบางท่าน มีสัทธาที่สนใจในทางศาสนาแต่ว่าชวนมาหรือให้มาสนใจในกิจกรรมทางปัญญาตรงๆ อย่างที่อาจารย์สอนโดยมากจะไม่ค่อยยอมรับ แต่ชอบอย่างอื่น เช่น ไปสร้างโบสถ์ สร้างพระหรืออะไร ที่เป็นกิจกรรม เช่น การนั่งสมาธิ

ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ เพราะว่า การศึกษาปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป จะเห็นได้ว่า ไม่มี สัตว์ บุคคล ตัวตนเลย แต่ว่ากรรมอื่นๆ เจตนาอื่นๆ ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศลซึ่งสะสมมาก็ยังเป็น "ปกตูปนิสสยปัจจัย" ที่ทำให้แต่ละบุคคลในโลกมนุษย์ มีอัธยาศัยที่แตกต่างกันไป

บางท่าน เป็นผู้สนใจเพียงใน การให้ทาน

บางท่าน ก็สนใจใน การรักษาศีล

บางท่าน ก็สนใจใน การอบรมเจริญความสงบ

บางท่านก็สนใจใน การอบรมเจริญสติปัฏฐาน

ตามกำลัง ซึ่งเป็นปกติของกรรมที่ได้กระทำมาแล้วด้วยดีของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้น จึงไม่มีการกล่าวโทษบุคคลอื่น เพราะว่า "รู้" ว่าไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน เลยไม่ว่าใครจะมี กาย วาจา ใจที่ผิด ที่เป็นอกุศลหรือว่า การกระทำที่เป็นไปเพราะ ความเห็นผิดต่างๆ

ความเห็นผิดต่างๆ ก็ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนแต่เป็นเพราะ มิฉาทิฏฐิซึ่ง เป็นสภาพธรรม คืออกุศลเจตสิก ซึ่งเมื่อบุคคลนั้น ได้สะสมกรรมอย่างนั้นมา สะสม สืบต่อมา เป็นอันมากจากในอดีตก็เป็นปัจจัยให้มีความโน้มเอียงที่จะเห็นผิด พิจารณาผิด เข้าใจผิด ประพฤติปฏิบัติผิดการสะสมกรรมนั้นๆ เป็นอันมากมาในอดีตของบุคคลนั้น กรรมนั้นๆ ก็เป็นปัจจัยที่จะให้สภาพธรรมอย่างนั้นๆ เกิดขึ้น

สภาพธรรมเหล่านั้นเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัยที่ทำให้จิตที่เกิดในปัจจุบันเกิดขึ้นเป็นไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังควรจะคิดถึงจิตและเจตสิกที่จะเกิดต่อไปในอนาคต เมื่อได้ทราบว่า ขณะใดเป็นกุศลจิต ขณะใดเป็นอกุศลจิตเมื่อทุกท่านเห็น เห็นโทษของอกุศล ใคร่ที่จะดับอกุศล

เพราะฉะนั้น มีทางเดียวที่จะดับอกุศลได้ คือโดยการเริ่ม อบรม เจริญ ปัญญา เพื่อที่จะได้เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ที่เป็นเหตุให้กุศลจิตเกิดและผล คือ สามารถที่จะดับกิเลสได้ ในอนาคต

เพราะว่าทุกอย่าง แล้วแต่ "ปัจจัย"เพราะว่า อัธยาศัยของแต่ละคน แตกต่างกัน (มีการสะสมทั้ง กุศล และ อกุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย) ถึงแม้ว่าบุคคลใดจะปฏิสนธิเป็นเศรษฐีซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม (กรรมหนึ่งกรรมใด) ในอดีต แต่อาจจะเป็นผู้ที่มีความตระหนี่มากทั้งนี้เพราะว่ายังมีอกุศลธรรมที่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยเกิดขึ้นแล้วเป็นปัจจัยที่มีกำลัง คือทำให้ความตระหนี่เกิดขึ้นก็ได้ หรือความริษยาก็มีได้ เพราะถึงแม้ว่ากุศลกรรมเป็นปัจจัยที่มีกำลัง คือ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ทำให้กุศลวิบากจิต ทำกิจปฏิสนธิในภูมิมนุษย์แต่ "ความริษยา" (อกุศลเจตสิก) ก็ยังไม่ได้ดับไปเป็นสมุจเฉทถ้ามีความริษยาเกิดขึ้นบ่อยๆ จนกระทั่งเป็นปกติ เป็นสภาพธรรมที่มีกำลัง ก็ย่อมเป็นปัจจัยทำให้อกุศลจิต เกิดพร้อมกับความริษยาในปัจจุบันและต่อๆ ไปในอนาคตด้วย

เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของปัจจัยจริงๆ โดยเฉพาะคือ ปกตูปนิสสยปัจจัยซึ่งเป็นสภาพธรรมที่กว้างขวาง เพราะว่า กุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดกุศลต่อๆ ไปได้หรือกุศลในอดีตที่ได้สะสมมาแล้วด้วยดีจนเป็นปกติก็ทำให้ผู้นั้น เป็นผู้ที่มีอุปนิสสัยในกุศล.

ซึ่งท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่าถ้าบุคคลใดไม่ได้สะสมกุศลจิตมาในอดีตจนกระทั่งมีกำลังเป็นปกติ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ก็ไม่สามารถที่จะชวนบุคคลเหล่านั้น ให้เกิดกุศลจิตในขณะนี้ได้ หรือบุคคลนั้นไม่ได้สะสมกุศลขั้นที่จะสนใจศึกษาพระธรรมมาก่อนบ้างเลยบุคคลนั้นก็ไม่มีความสนใจ ที่จะศึกษา อบรม เจริญปัญญาตามปกตูปนิสสยปัจจัยซึ่งเคยเกิดมาแล้วจนเป็นปกติ ด้วยดี

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่ และสรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 4 ต.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 4 ต.ค. 2551
ขอขอบพระคุณ ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 4 ต.ค. 2551

ปกตูปนิสสยปัจจัยเป็นปัจจัยที่กว้างขวางมากควรแก่การศึกษาให้เกิดความเข้าใจในความเป็นปกติของธรรมะประการต่างๆ ทั้งทางฝ่ายกุศล และ ทางฝ่ายอกุศล ทั้งที่เกิดกับตน และ ทั้งที่เกิดกับผู้อื่นจนกว่าปัญญาจะสามารถเห็นถึงความเป็นปกติของธรรมะที่เกิดว่าเป็นเพราะได้เคยกระทำมา เป็นเพราะได้เคยสะสมมาไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ที่ดีหรือไม่ดีอย่างที่เคยหลงเข้าใจผิดกัน แต่เป็นธรรมะทั้งหมดที่เกิดเป็นปกติอย่างนั้น เพียงเท่านั้นจริงๆ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Komsan
วันที่ 4 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
happyindy
วันที่ 5 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
WS202398
วันที่ 6 ต.ค. 2551

สาธุ

จริงอยู่ถ้าบุคคลหลุดพ้นจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนได้แล้ว อกุศลธรรมภายนอกทั้งหลายหรือกุศล๋ธรรมภายนอกทั้งหลายย่อมมีความหมายเสมอกัน

แต่คนที่ยังเป็นตัวตนอยู่นี่ พร้อมสัญญา ทิฎฐิ ที่คนทั่วไปยึดถือ กระทั่งบัญญัติเป็นกฎหมาย มันก็ยากเหลือเกิน เหมือนอยู่คนละโลก

บททดสอบ เช่นเวลาคนทำผิด ทั้งมีผลต่อตนหรือไม่ก็แล้วแต่ จะสามารถวางใจได้หรือไม่ว่าเป็นสภาพธรรมที่ต้องเป็นเช่นนั้นเอง มิได้มีอัตตาตัวชั่วร้ายบงการ

คำกล่าวของลามะทางธิเบต ที่ว่า ที่อึดอัดกับความชั่วภายนอก เพราะมีความชั่วเช่นว่านั้นอยู่ในตนเช่นกันนี้ เป็นคำกล่าวที่แสบเผ็ดยิ่งนัก

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ปริศนา
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ความหลุดพ้นจากความเป็นสัตว์บุคคล ตัวตน จริงๆ ไม่ใช่การพูดตามๆ กันแต่มาจากการศึกษาพระธรรมวินัยเท่านั้นค่ะและการศึกษานั้นก็มีหลายขั้นคือขั้นปริยัติ และปฏิบัติ ผู้ที่ศึกษาพระธรรมวินัยจบแล้ว มีเพียงพระอรหันต์เท่านั้น.
ถูกต้องค่ะ เป็นคนละโลกกันจริงๆ เพราะโลกของบุคคล ที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัย จะไม่เข้าใจความจริงว่าโลกในวินัย ของพระอริยเจ้าคือโลกที่ปรากฏให้รู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เท่านั้น
รู้อะไร รู้ว่าธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์ เพราะทุกข์ คือความเกิดดับบังคับบัญชาไม่ได้จึงเป็นอนัตตาคือไม่เป็นของใคร เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย.
กฏหมายทางโลก ดิ้นได้ เปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสถานที่ เวลาและความเห็นของกลุ่มบุคคลในเวลานั้นๆ เพื่อความผาสุกของหมู่คณะนั้นๆ เปลี่ยนแปลงได้ ไม่คงที่ ไม่ได้เป็นไปตามหลักสัจจธรรม แต่ตามหลักของความพอใจ

พระธรรมเป็นเรื่องของเหตุและผล เป็นสัจจธรรม สัจจธรรมคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามความพอใจ ของใคร
เหตุดีผลต้องดี เหตุไม่ดีผลต้องไม่ดี อัตตาชั่วร้ายไม่มี มีแต่ "สภาพธรรมที่มีเหตุ จึงมี ผล"ความไม่ดี คืออกุศลธรรม เช่น โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น.เช่น ความอยาก ความโกรธ ความเห็นผิดเป็นชอบ เป็นต้น

ไม่มีตัวตน คน สัตว์ ที่อยากหรือ โกรธ หรือ เห็นผิด แต่เพราะเหตุ ปัจจัย ที่ได้สะสมมาแล้ว ด้วยดีซึ่งทราบได้จากการศึกษาพระธรรมวินัยเท่านั้น
ไม่ว่าจะเป็นคำกล่าวของใคร หากขัดแย้งกับพระธรรมวินัย (เทียบเคียงจากพระไตรปิฎก) เป็นสิ่งที่ท่านควรพิจารณาว่า สิ่งที่กล่าวนั้น ขัดแย้งกับพระธรรมวินัย หรือไม่? ถ้าขัดแย้ง.ก็เป็นอันตกไปอุปมาเหมือนกฏหมายลูก จะขัดแย้งต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญมิได้.
การแสดงธรรม เป็นการอธิบายเรื่องราวที่จะทำให้เข้าใจ "ลักษณะ" ของสภาพธรรม.
แม้แต่ ความอึดอัด ก็เป็นสภาพธรรม ที่เข้าใจ "ลักษณะ"ได้ ความชั่วมีจริงมีลักษณะและความหมายกว้างโดยสรุป คือเป็นอกุศลธรรม ซึ่งตรงข้ามกับ กุศลธรรม

คำกล่าว คำเดียวกันไม่จำเป็น ที่ผู้ฟังผู้สะสมอุปนิสัยมาต่างกันจะมีความรู้สึกเหมือนกันเสมอไป เช่น ความรู้สึกของพระอรหันต์ ที่มีต่อสภาพธรรมไม่เหมือนกับปุถุชน แม้เห็นสิ่งเดียวกัน แต่ไม่เป็นเหตุให้เกิดกุศลจิต และอกุศลจิต.

ไม่มี "ตน" ที่รู้สึก มีแต่สังขารขันธ์ที่ปรุงแต่ง เป็นเหตุ เป็นปัจจัยต่อสภาพธรรม เช่น ความไม่ชอบใจจึงไม่มี "ตน" มีแต่สภาพธรรมทำกิจนั้นๆ แล้วดับไปเช่นนี้จึงเรียกว่าไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน แต่เป็นอนัตตาเพราะเป็นไปตามเหตุปัจจัยมากมายหลายชนิดบังคับบัญชาไม่ได้.ทราบได้จากการศึกษาพระธรรมวินัยเท่านั้น.

ที่ข้าพเจ้าอธิบายไปข้างต้น มาจากการศึกษาพระธรรมวินัยเป็นเวลานาน เป็นความเข้าใจขั้นต้น เพื่อเป็นปัจจัยต่อ ขั้นปฏิบัติ

ขั้นปริยัติ คือ การฟัง การอ่าน การพิจารณา

ขั้นปฏิบัติ คือ การเจรฺญสติปัฏฐานที่ถึงเฉพาะ "ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง"

ขั้นปริยัติเป็นสังขารขันธ์ คือ เหตุปัจจัยแก่ขั้นปฏิบัติ ขั้นการปฏิบัติเป็นปัจจัยแก่ ขั้นปฏิเวธ.
เมื่อปริยัติมีกำลัง เป็นปัจจัยแก่ปฏิบัติ การปฏิบัติหรือการพิจารณาถึงเฉพาะ"ลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริง"จนมีกำลัง ตามเหตุปัจจัย และเมื่อเหตุ สมควรแก่ผล

ปัญญาขั้นปฏิเวธ คือ การประจักษ์แจ้งจึงจะเกิดขึ้นได้ ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ที่เข้าไปจัดการแต่ประการใดเลย ทราบได้จาการศึกษาพระธรรมวินัยเท่านั้น

การศึกษาพระธรรมวินัย จึงขาดขั้นปริยัติ และปฏิบัติ ไม่ได้เลยด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นค่ะ



ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เมตตา
วันที่ 7 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
michii
วันที่ 7 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เซจาน้อย
วันที่ 8 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 25 มิ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
pamali
วันที่ 5 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ