ได้ยินแล้วคิด_8
ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ได้ยิน ท่าน อ สุจินต์ แสดงอยู่บ่อยๆ
"จดจ้อง"
ได้ยินแล้วคิด
อย่างไร...
การจดจ้อง เป็นลักษณะของโลภะอย่างหนึ่งที่ต้องรู้ต้องการเห็น ถ้าไม่มีความอยากคงไม่จดจ้องอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ซึ่งต่างจากสติระลึกรู้ สิ่งใดปรากฏ สติก็ระลึกรู้สิ่งนั้น ขณะนี้มีธรรมะปรากฏตลอดเวลา ไม่ต้องไปจดจ้องก็มีปรากฏ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ ๑ โดย panee.r พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา"และเกิดจากเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น การจดจ้องที่สภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่ง เพื่อจะช่วยให้สติเกิด ก็ขัดกับพุทธพจน์ การที่สติจะเกิดก็ต้องมีปัจจัยพร้อมที่สติจะเกิด คือการได้ศึกษาพระธรรมจนเข้าใจถูกต้องอย่างถ่องแท้ จึงจะเป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ ซึ่งการจดจ้องเพื่อให้สติเกิดระวังจะทำให้เข้าใจผิดได้ อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ ๓ โดย wannee.s อาศัยการฟังธรรมให้เข้าใจปัญญาจะทำหน้าที่เอง โดยไม่มีตัวตนที่จะไปจดจ้อง การจดจ้องไม่ช่วยให้สติเกิดเร็วขึ้นหรอก แต่เป็นโลภะที่ต้องการ ขณะนั้นก็เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้าแล้ว ธรรมเครื่องเนิ่นช้า ได้แก่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในการศึกษาพระธรรม สติปัฏฐานป็นทางสายเดียวที่จะถึงนิพพานได้ ผู้ศึกษาพระธรรมจึงมักจดจ้องเพื่อต้องการพิจารณาสภาพธรรมเพื่อให้เกิดสติปัฏฐานโดยลืมว่า ธรรมทั้งหลายป็นอนัตตาไม่สามารบังคับบัญชาได้ มีปัจจัยจะเกิดก็เกิด การจดจ้องต้องการเป็นโลภะ เป็นอกุศลไม่สามารถเกิดกับสติที่จะระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ อนุโมทนาคะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา" ที่ว่าเป็นอนัตตานั้น หมายถึง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง และไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ในชีวิตประจำวัน ชีวิตที่ดำเนินไปย่อมไม่พ้นไปจากสภาพธรรม ไม่พ้นไปจากนามธรรมกับรูปธรรม ไม่ว่าจะได้เห็นได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส กุศลจิตเกิด อกุศลจิตเกิด เป็นต้น ล้วนเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ทั้งนั้น เกิดแล้ว มีแล้ว ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น แต่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ถ้าไม่ได้ฟัง ไม่ได้ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ย่อมไม่สามารถที่จะเข้าใจตามความเป็นจริงได้ ทุกขณะเป็นธรรม ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นได้เลย แต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะให้สติเกิดขึ้น สติก็เกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ได้โดยที่ไม่มีการจดจ้อง ต้องการด้วยความเป็นตัวตน ด้วยความหวังที่จะให้สติเกิดขึ้น
เพราะถ้าหากว่ามีความจดจ้องที่อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด มีการไปบังคับ ย่อมไม่พ้นไปจากความเป็นผู้ถูกอกุศลครอบงำโดยที่ไม่รู้ ยากที่ข้ามพ้นไปได้ ดังนั้น จึงต้องการศัยการฟังพระธรรม บ่อยๆ เนืองๆ อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นเหตุปัจจัยให้สติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ว่าเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอสารภาพ ทุกวันนี้ ที่เนิ่นช้า ก็เพราะว่า นั่ง "จด" และ นั่ง "จ้อง" อยู่ไงคะ จึงไม่เข้าใจสักที
ขออนุโมทนาค่ะ
แฮ่ม!ก่อนโน้น...อินดี้ทำบ้อยบ่อย จดจ้องๆ ๆ เดี๋ยวนี้...เผลอเป็นไม่ได้ ถ้าไม่จด ก็ต้องจ้อง ตอนไหนถ้าไม่จ้อง ก็ต้องจด ทีแรกก็ว่าจะละเหี่ยใจ ...คิดดูอีกที ไม่เป็นไร ค่อยเป็นค่อยไป หลงลืมมั่ง ระลึกได้บ้าง ก็ตามการสะสมน่ะ ถ้าระลึกได้บ้างแบบบ่อยๆ คงคอยจดคอยจ้องน้อยลงไปเรื่อยๆ เอง ฟังอีกๆ อดทนอีกๆ สู้สู้ ค่ะ
จากความคิดเห็นที่ ๑๑ ลองอ่านข้อความข้างล่างดูนะคะ อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ ๑ โดย study
สมถะเป็นชื่อของเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดร่วมกับกุศล ขณะนั้นสงบจากอกุศล วิปัสสนาเป็นชื่อของปัญญาที่รู้ความจริง ขณะที่สติปัฏฐานเกิด กล่าวได้ว่า เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาเพราะเป็นกุศลสงบจากกิเลสและรู้ความจริงที่กำลังปรากฏ อนึ่ง คำว่า สมถภาวนา บางนัยหมายถึง การเจริญความสงบของจิตเป็นฌานขั้นต่างๆ มีอารมณ์ ๔๐ อย่าง มีกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ เป็นต้น และคำว่าวิปัสสนาบางนัยหมายถึง ปัญญาขั้นวิปัสสนาญาณที่เห็นไตรลักษณ์
จดจ้องเมื่อไหร่ เพราะมีตัวตนที่อยากได้แน่นอน นอกจากปัญญาไม่เกิดแล้ว ยังเป็น เครื่องกั้นอีกต่างหาก
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อได้ฟังธรรมที่ท่าน อ สุจินต์แสดง นานทีเดียว จึงพอเข้าใจความหมาย ของคำว่า "ธรรมกำลังปรากฏ" และ "จดจ้อง" และได้ยินท่านแสดงอยู่ครั้งหนึ่งว่าแม้มีเส้นผมปรกหน้าเพียงเส้นเดียว ก็ต้องปัดออกด้วยความรำคาญ ทั้งที่เป็นเพียง "แข็ง" ที่กำลังปรากฏ จึงเป็นที่มาของ ได้ยินแล้วคิด_๙
ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านค่ะ