จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ถูกต้องตามหลักธรรมหรือไม่
มักมีผู้เข้าใจว่า "จิต" เป็นผู้ออกคำสั่ง โดยที่มีร่างกายคอยรับใช้ จึงมักมีคำกล่าวว่า ... "จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว" คำกล่าวหรือความเข้าใจนี้ถูกต้องตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาหรือไม่
ยังไม่พบข้อความดังกล่าวในพระไตรปิฎก และอรรถกถา ตามหลักธรรมในพระพุทธ- ศาสนาคือ จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ กาย คือ รูปเป็นสภาพไม่รู้ สรุปคือ จิตสั่ง กายคือรูปไม่ได้ แม้กายจะรับคำสั่งไม่ได้เพราะเป็นสภาพไม่รู้อะไร
ถ้าจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ และรูปเป็นสภาพที่ไม่รู้อะไร ทำไมจึงมีการเคลื่อนไหวได้ทั้งๆ ที่ก็ไม่ได้คิดอะไร
"จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว" ไม่เคยเห็นในพระไตรปิฎก มีแต่ "ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า"
[๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนอกุศล ที่เป็นไป ในฝักฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรม เกิดหลังเทียว ฯ [๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนกุศล ที่เป็นไปใน ฝักฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมเกิด หลังเทียว ฯ
ในสมัยพุทธกาล นิครนถ์นาฏบุตร บัญญัติว่า การกระทำทางกายมีโทษมากกว่า แต่พุทธองค์ตรัสว่า การกระทำทางใจมีโทษมากกว่า
ดูกร ตปัสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม