ความเข้าใจเรื่องสัพจิตตสาธารณะเจตสิก 7 ดวง

 
pong
วันที่  10 ต.ค. 2551
หมายเลข  10097
อ่าน  5,198

เรียนท่านสมาชิก ผมมีความสงสัยเรื่องสัพจิตตสาธารณเจตสิก 7 ดวง ซึ่งเป็นเจตสิกที่เกิดขึ้นกับจิตทุกดวง แสดงว่าเจตสิกที่เกิดทั้ง 7 ดวงต้องทำหน้าที่ของตัวเองตลอดเวลาคือ

1. ผัสสะ น่าจะต้องทำหน้าที่รับสัมผัส

2. เวทนา เมื่อเกิดผัสสะแล้วต้องมีเวทนาตามมาติดๆ

3. สัญญา เมื่อมีผัสสะ มีเวทนาแล้ว ก็จำผัสสะและเวทนาที่เกิดขึ้น

4 เจตนา มีความตั้งใจที่ทำทำอะไร

5. เอกัคคตา

6. ชีวิตตินทรีย์

7. มนสิการ

กระผมไม่เข้าใจว่าเจตสิก 7 ดวงนี้ เกิดขึ้นกับจิตทุกดวง แสดงว่าเป็นเจตสิก พื้นฐานที่ต้องเกิดขึ้นเพื่อจะต้องทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเบื้องต้นแล้ว ก็จะทำอะไรต่อไปอีกโดยมีเจตสิกดวงอื่นๆ เกิดตามมาตามการกระทำกรรมนั้น ผมไม่เข้าใจเจตสิกดวงที่ 5-7 หรือแม้ดวงที่ 1-4 ผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่ ทำไม เจตสิก 7 ดวงนี้จึงต้องเกิดขึ้นทุกครั้ง ไม่ถึง 7 ดวงไม่ได้หรือ คงเป็นวงจรของเจตสิกเพื่อทำกิจเบื้องต้นในแต่ละกิจหรือไม่ ผมไม่เข้าใจ อยากถามผู้รู้อธิบายให้กระจ่างด้วย ครับ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 10 ต.ค. 2551

ขอเชิญคลิกอ่านที่ ...

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 11 ต.ค. 2551

จิตเกิดขึ้นอย่างน้อยต้องมีเจตสิก 7 ดวง ถ้าเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาก็มีเจตสิก เกิดร่วมด้วย 30 กว่าดวง ถ้าเป็นอกุศลจิตก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างมาก 20 กว่าดวง เราก็เพียงแต่เรียนรู้ชื่อ ให้รู้ว่าธรรมะทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยหลายอย่าง จุดประสงค์เพื่อให้ละคลายการยึดถือสภาพธรรมะที่เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ฯลฯ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
kulwilai
วันที่ 12 ต.ค. 2551

เจตสิกเป็นสิ่งที่มีจริงเช่นเดียวกับจิตและรูป เป็นธรรมไม่ใช่เรา เจตสิกเกิดพร้อมกับจิตและรู้อารมณ์เดียวกับจิต เช่น ขณะเห็น จิตเห็นรู้แจ้งอารมณ์ เพราะขณะนั้นมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ ผัสสะกระทบอารมณ์ เวทนารู้สึกในอารมณ์ สัญญาจำอารมณ์เจตนาตั้งใจ จงใจให้ธรรมที่เกิดร่วมด้วย ขณะนั้นทำกิจเอกัคคตาตั้งมั่นในอารมณ์ ชีวิติ-นทริย์ตามรักษาธรรมที่เกิดร่วมด้วยมีชีวิตอยู่ได้ และมนสิการสนใจในอารมณ์ ไม่มีเรา เพราะเป็นธรรมทั้งหมด และจิตทุกประเภทก็ต้องมีอย่างน้อยเจตสิก 7 ประเภทนี้เกิดขึ้นทำกิจการงาน ถ้าไม่รู้ลักษณะธรรมตามความเป็นจริงก็เป็นเรา เพราะยึดถือธรรมที่ปรากฏว่าเป็นเรา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 12 ต.ค. 2551

คำตอบนี้...คุณ pong สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป หน้าที่ 150 ครับ

ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป

คำตอบตามความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงสภาพของนามธรรมที่เกิดร่วมกันใน ๑ ขณะว่า จะต้องมีจิตที่ประกอบด้วยเจตสิกอย่างน้อย 7 ประเภท ไม่น้อยเกินไปกว่านี้อีก แต่มากกว่านี้ได้ตามประเภทของจิตที่เกิดขึ้น ถ้าจะเกิดสงสัยว่าทำไมจะต้อง 7 เท่านั้น 6 บ้าง 5 บ้าง 4 บ้าง ไม่ได้เลยหรือ เราก็อาจจะย้อนกลับไปคิดอีกมุมหนึ่งได้ครับว่า ผู้ที่ทรงบรรลุเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยพระองค์เองนั้น ทรงอาศัยประโยชน์อันใดจึงทรงแสดงความจริงของนามธรรมอย่างนี้ เพื่ออะไร? เพื่อให้สาวกเพิ่มความสงสัยหรือเพื่อบรรเทาความสงสัย คำตอบควรจะเป็นอย่างหลังใช่ไหมครับ เพราะเหตุว่าความสงสัยนั้นเป็นอกุศลจิตแน่นอนแต่พระธรรมที่ทรงแสดงไว้นั้นสามารถที่จะให้สาวกเกิดปัญญา รู้ตามความเป็นจริงตรงตามที่ทรงแสดงได้ เพราะสิ่งที่ทรงแสดงนั้นเป็นสัจจธรรม ไม่ขึ้นอยู่กับกาล พร้อมที่จะให้พิสูจน์เสมอ (แต่ต้องตามลำดับขั้นของปัญญาด้วย) ปัญญาขั้นฟังของปุถุชน ไม่อาจจะพิสูจน์หยั่งลงไปในสิ่งที่ละเอียดมากกว่ารูปธรรมคือ นามธรรมได้ทันที แม้แต่การที่จะรู้รูปธรรมตามความเป็นจริงก็ว่ายากแสนยากที่จะรู้ยิ่งนัก เพราะในขั้นของการศึกษาในส่วนของเรื่องราวก็แสนที่จะละเอียดมาก การที่จะเกิดความรู้ถูกต้องในสิ่งที่มีจริงๆ นี้ได้ (รูปธรรม/นามธรรม) ต้องอาศัยการสั่งสมความละเอียดของสติและปัญญาที่มากกว่าขั้นฟังและขั้นคิดแน่นอน การเกิดขึ้นของสติและปัญญาที่มีกำลังมากขึ้นๆ เท่านั้นจึงเริ่มที่จะสังเกต พิจารณารู้ได้โดยไม่ใช่เพียงคิดครับ ทำนองเดียวกันกับที่จะให้หยั่งลงไปจนถึงพระสัพพัญญุตญาณของพระผู้มีพระภาค ก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้ เพราะพ้นวิสัยจริงๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้กำลังความเข้าใจของเราเอง เราก็ค่อยๆ อาศัยการศึกษาไปทีละนิดๆ ประกอบกับการพิจารณาเหตุผลในส่วนที่พอจะพิสูจน์ คือส่วนที่อยู่ในวิสัยที่จะรู้ได้ ในส่วนที่ละเอียดขึ้นไปที่ยังไม่รู้นั้น ก็ไม่ได้เปล่าประโยชน์ครับ เราศึกษาเพื่อให้เห็นความเป็นธรรมะที่ไม่ใช่เรา เช่น จิตที่เกิดกับเจตสิกทั้ง 7 ดวง เช่น จิตเห็นที่กำลังเห็นในขณะนี้ เป็นธรรมะที่เกิดตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เรา เป็นต้น รู้ขั้นฟังก่อนว่าไม่ใช่เรา เข้าใจขั้นคิดว่าไม่ใช่เราเพราะอะไร จนกว่าจะมั่นคงที่จะพิสูจน์ได้จริงๆ ว่าไม่ใช่เรา เมื่อสติปัฏฐานเกิดครับ ค่อยๆ เกิดมั่นคงในความเป็นธรรมะโดยอาศัยการศึกษาพระธรรมที่ทรงแสดงไว้แล้วนั่นเองครับ

ไม่มีผู้ใดจะสามารถแสดงธรรมะที่ละเอียด สุขุม ลึกซึ้ง ประณีต รู้ไม่ได้ด้วยการตรึกได้เทียบเท่าพระปัญญาคุณของพระองค์ได้อีก แต่อาศัยพระมหากรุณาคุณของพระองค์เราจึงยังมีพระธรรมให้ได้ยิน ได้ฟัง แม้ว่าพระองค์จะทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้วกว่า 2,500 ปีครับ

กระผมไม่เข้าใจว่าเจตสิก 7 ดวงนี้ เกิดขึ้นกับจิตทุกดวง แสดงว่าเป็นเจตสิกพื้นฐานที่ต้องเกิดขึ้นเพื่อจะต้องทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะทำอะไรต่อไปอีกโดยมีเจตสิกดวงอื่นๆ เกิดตามมา ตามการกระทำกรรมนั้น

เปลี่ยนจากคำว่า "กรรม" เป็น "กิจหน้าที่" ก็จะทำให้ความเข้าใจชัดเจนขึ้น เพราะกรรมในภาษาไทย หมายถึงการกระทำดีบ้าง ชั่วบ้าง ใช่ไหมครับ แต่ความจริงในธรรมที่ทรงแสดงไว้ มีความหมายที่ต่างจากคำที่เราใช้อย่างไร ศึกษาได้จากที่นี่ครับ

คลิกอ่านกระทู้ที่เกี่ยวข้อง --> กรรม คืออะไร

แสดงว่าเป็นเจตสิกพื้นฐานที่ต้องเกิดขึ้นเพื่อจะต้องทำกิจหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเบื้องต้นแล้ว ก็จะทำอะไรต่อไปอีกโดยมีเจตสิกดวงอื่นๆ เกิดตามมาตามการกระทำกิจหน้าที่ นั้น

ไม่ใช่เฉพาะแต่เจตสิกเท่านั้นที่กระทำกิจหน้าที่ แต่หมายรวมถึงจิตที่เกิดร่วมกันก็ทำกิจหน้าที่เช่นกัน แต่เมื่อจิตและเจตสิก ล้วนเป็นสภาพที่ไม่เที่ยงคือเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ชั่วขณะเพื่อทำกิจ แล้วก็ต้องดับไป เมื่อดับไปก็คือหมดไป แต่จิตดวงที่ดับไปแล้วนั้น ยังเป็นปัจจัยให้จิตดวงใหม่เกิดสืบต่อทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น แล้วจิตดวงใหม่ที่เกิด ก็ตั้งอยู่ชั่วขณะเพื่อกระทำกิจของตนต่อ แล้วก็ดับไป เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตดวงใหม่นี้ก็โดยนัยเดียวกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 12 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 13 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
สุภาพร
วันที่ 14 ต.ค. 2551

เรียนถามว่าเมื่อทั้งจิตและเจตสิกกระทำกิจสืบต่อจากดวงก่อน นั่นหมายถึงว่าจิตและเจตสิกยังคงกระทำกิจซ้ำกับจิตและเจตสิกดวงที่ดับ ทำให้เราเห็นภาพซึ่งติดต่อกันเสมือนไม่ขาดจากกันใช่หรือไม่ค่ะ กรุณาอธิบายให้เข้าใจค่ะ เพราะได้ฟังรายการตอนเช้าที่ท่านอาจารย์บรรยาย ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือไม่ที่ว่าหลังจากมโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้นแล้วความคิดนึกทางใจ แล้วเป็นอย่างไรต่อค่ะ เรียนถามท่านผู้รู้ช่วยขยายความให้ด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ปริศนา
วันที่ 14 ต.ค. 2551

ความคิดเห็นที่ 2

จิตเกิดขึ้นอย่างน้อยต้องมีเจตสิก 7 ดวง ถ้าเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย 30 กว่าดวง ถ้าเป็นอกุศลจิตก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างมาก 20 กว่าดวง เราก็เพียงแต่เรียนรู้ชื่อ เพื่อให้รู้ว่าธรรมะทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยหลายอย่าง จุดประสงค์เพื่อให้ละคลายการยึดถือสภาพธรรมะที่เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ฯลฯ ค่ะ

ขอขอบพระคุณขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 15 ต.ค. 2551

ตอบความคิดเห็นที่ ๗

เมื่อทั้งจิตและเจตสิกกระทำกิจสืบต่อจากดวงก่อน นั่นหมายถึงว่าจิตและเจตสิกยังคงกระทำกิจซ้ำกับจิตและเจตสิกดวงที่ดับ ทำให้เราเห็นภาพซึ่งติดต่อกันเสมือนไม่ขาดจากกันใช่หรือไม่ค่ะ กรุณาอธิบายให้เข้าใจค่ะ

กิจของจิตมีทั้งหมด ๑๔ กิจ จิตที่กระทำกิจแต่ละกิจก็ประกอบด้วยเจตสิกจำนวนเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง บางทีก็กระทำกิจซ้ำกับจิตดวงที่ดับไปก่อนหน้า บางทีก็เกิดขึ้นกระทำอีกกิจหนึ่ง โปรดศึกษาเรื่องกิจของจิตในหนังสือปรมัตถธรรมสังเขปครับ ส่วนที่ทำให้เห็นภาพต่างๆ เหมือนกับสืบต่อกันก็เพราะจิตเกิดดับรวดเร็วมากที่สุด ในขณะนี้เหมือนเห็นกับคิดนึกพร้อมกันจนเสมือนว่าไม่ดับ จึงยึดถือสภาพธรรมที่เกิดดับสลับกันว่าเป็นเราเห็น เป็นเราคิดนึก ความจริงแล้วเห็นและคิดนึกไม่พร้อมกัน ห่างกันหลายขณะจิต แต่การจะรู้ได้ก็ต้องด้วยการอบรมเจริญปัญญาให้รู้ว่า ทั้งเห็น ทั้งคิดนึกเป็นธรรมะทั้งหมด เป็นความจริงที่เกิดดับตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เราครับ

ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือไม่ ที่ว่าหลังจากมโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้นแล้ว ความคิดนึกทางใจ แล้วเป็นอย่างไรต่อค่ะ

มโนทวารวิถีจิตที่เกิดขึ้นดับไป ตรงชวนจิตก็จะมีการรู้อารมณ์ที่เป็นปรมัตถธรรมเดียวกับปรมัตถธรรมที่ดับไปต่อจากวิถีจิตทางตา หู จมูก ลิ้นหรือกายทีละทวาร มโนทวารวาระหลังๆ จะมีการคิดนึกเป็นเรื่องราวบัญญัติของสิ่งที่ได้เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ฯลฯ นั้นๆ ถ้าหากว่าไม่มีการรับรู้อารมณ์ต่อจากวิถีจิตทางปัญจทวาร (ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย) ทางใจ.ก็อาจจะมีการคิดนึกขึ้นได้ แล้วจะเป็นอย่างไรต่อ? สติสัมปชัญญะเกิดขึ้น ระลึกรู้สภาพธรรมในขณะนี้ได้ไหมว่า ไม่ใช่เรา เป็นธรรมะทั้งหมด หรือเป็นอย่างไรต่อ ด้วยความยึดถือสิ่งที่เกิดขึ้นดับไปว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตน ด้วยความสำคัญผิดว่าสิ่งนั้นยังเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นก็หมดไปแล้ว คือดับไปแล้วนั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สุภาพร
วันที่ 16 ต.ค. 2551

กราบอนุโมทนาค่ะ ขอช่วยยกตัวอย่าง กิจของเจตสิกที่เกิดขึ้นมากกว่า 1 ดวง ในกรณีจิตเห็น ให้เข้าใจอีกซักครั้งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
prachern.s
วันที่ 16 ต.ค. 2551
ขณะที่เห็น ผัสสะกระทำกิจกระทบอารมณ์ เวทนากระทำกิจรู้สึก สัญญากระทำกิจจำมนสิการกระทำกิจใส่ใจ เอกัคคตากระทำกิจตั้งมั่น เป็นต้น
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
สุภาพร
วันที่ 16 ต.ค. 2551

กราบอนุโมทนาค่ะ

กราบเรียนถาม ท่านอาจารย์ PRACHERN.S ช่วยอธิบายมโนทวาร และมโนทวรราวัชชนจิต ซึ่งต่างกัน คือภวังคุปัจเฉทจิต เป็นมโนทวาร เป็นวิบากจิต ไม่ใช่ วิถีจิต มโนทวรราวัชนจิตไม่ใช่มโนทวาร เป็นกิริยาจิต เป็นวิถีจิตแรกที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางมโนทวาร ด้วยค่ะ

ขอกราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
prachern.s
วันที่ 17 ต.ค. 2551

คำว่า มโนทวาร เป็นชื่อของจิตที่กระทำกิจเป็นทางหรือเป็นทวาร ให้วิถีจิตทางใจ (มโนทวารวิถีจิต) เกิดขึ้น องค์ธรรม คือ ภวังคุปัจเฉทจิตเป็นวิบากจิตไม่ใช่วิถีจิต ส่วนมโนทวาราวัชชนจิตเป็นชื่อของจิตตามชื่อ ซึ่งเป็นกิริยาจิตเป็นวิถีจิตแรกที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางมโนทวาร (อาวัชชนกิจ) ไม่ใช่ตัวมโนทวารแต่เป็นวิถีจิตทางมโนทวาร

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
สุภาพร
วันที่ 17 ต.ค. 2551
ขอกราบอนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ