อธิบดี ๔
อธิบดี ๔
จตฺตาโร (สี่) + อธิ (ยิ่ง ใหญ่ ทับ) + ปติ (ความเป็นใหญ่)
ความเป็นใหญ่ยิ่ง ๔ อย่าง หมายถึง สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นอธิปติปัจจัยให้สภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วยคล้อยตามตนได้แก่
วิริยาธิปติ ความเพียรเป็นใหญ่ เช่นมีอุตสาหะในการอ่านพระไตรปิฏก แม้ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ (วิริยเจตสิกที่เกิดกับชวนจิต๕๒ ดวง)
จิตตาธิปติ มีจิตเป็นใหญ่ เช่นมีความตั้งใจมั่นไม่เปลี่ยนใจที่จะ
ฉันทาธิปติ ความพอใจใคร่ที่จะทำเป็นใหญ่เช่น พอใจในการศึกษาพระธรรม พอใจในการดูภาพยนตร์หรือซื้อหาสิ่งของต่างๆ (ฉันทเจตสิกที่เกิดกับชวนจิต ๕๒ ดวง) ทำสิ่งใด สิ่งหนึ่งง่ายๆ ชวนจิต ๕๒ ดวง ที่มีเหตุ ๒ หรือเหตุ ๓
วิมังสาธิปติ มีปัญญาเป็นใหญ่ เช่นอ่านหรือฟังธรรมด้วยความเข้าใจอย่างดี (ปัญญาเจตสิกที่เกิดกับชวนจิต ๓๔ ดวง) อธิบดี ๔ นี้เป็นใหญ่ได้ทีละอย่าง ต่างจากอินทรีย์ซึ่งเป็นใหญ่ตามกิจของตนได้พร้อมๆ กันหลายอย่างและชวนจิต ๕๒ ดวงนั้น กามชวนจิต ๒๖ ดวงมหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ อกุศลจิต ๑๐ เว้นโมหมูลจิต ๒ เพราะมีเหตุ ๑ และหสิตุปปาทจิต ๑ เพราะไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย) บางครั้งก็มีสภาพธรรมที่เป็นอธิบดี บางคราวก็ไม่มี
สำหรับอัปปนาชวนจิต ๒๖ ดวง (มหัคคตกุศลจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ โลกุตตรจิต ๘) ต้องมีอธิบดีอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน อธิบดี ๓ คือ ฉันทาธิปติ วิริยาธิปติ จิตตาธิปติ เกิดกับจิตได้ทั้งที่เป็นกุศล อกุศลและกิริยา ส่วน วิมังสาธิปติ เกิดกับจิตที่เป็นกุศลและกิริยาเท่านั้น