ทัพพีที่ไม่รู้รสแกง

 
เมตตา
วันที่  23 ต.ค. 2551
หมายเลข  10198
อ่าน  3,031

ขณะนี้สภาพธรรมเกิดดับทนต่อการพิสูจน์ สัจจธรรมเป็นความจริงที่ทนต่อการพิสูจน์ ผู้ที่เป็นพุทธบริษัทในครั้งพุทธกาล ฟังธรรมะแล้วไม่เป็นโมฆะ เมื่อสามารถที่จะรู้ความจริงตามที่พระองค์ทรงตรัสรู้และทรงแสดง แต่ถ้าไม่มีการระลึกลักษณะของสภาพธรรมก็เป็นโมฆะ เรียนมากเท่าไหร่ ทั้ง ๗ คัมภีร์ของพระอภิธรรม หรือทั้ง ๓ ปิฎก ช่ำชองสักเท่าไร แต่สติไม่เคยเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม ก็เป็นเพียงขั้นคิด ผู้นั้นก็เหมือนกับทัพพีที่ไม่รู้รสแกงที่ทรงแสดงไว้ และ ก็เหมือนผู้ที่มีใบลานเปล่าคือ พูดได้ บอกได้ อธิบายได้ แต่ว่าไม่รู้ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

"ถ้าคนพาล เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอยู่ แม้จนตลอดชีวิต, เขาย่อมไม่รู้ธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกงฉะนั้น."

อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ทัพพี แม้คนแกงต่างชนิด มีประการต่างๆ อยู่ จนกร่อนไป ย่อมไม่รู้รสแกงป่า 'นี้รสเค็ม, นี้รสจืด, นี้รส ต่างๆ อยู่จนกร่อนไป ย่อมไม่รู้รสแกงป่า 'นี้รสเค็ม, นี้รสจืด, นี้รสขม, นี้รสขื่น, นี้รสเผ็ด, นี้รสเปรี้ยว, นี้รสฝาด ฉันใด; คนพาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตลอดชีวิต ย่อมไม่รูู้ธรรมมีประการดังกล่าวแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 23 ต.ค. 2551

"ดอกไม้งามมีสี (แต่) ไม่มีกลิ่น (หอม) แม้ฉันใด, วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำอยู่; (ส่วน) ดอกไม้งาม มีสีพร้อมด้วยกลิ่น (หอม) แม้ฉันใด, วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมมีผลแก่ผู้ทำดีอยู่."

แม้พระพุทธพจน์นี้ ก็ฉันนั้น ย่อมไม่นำกลิ่นคือ การฟัง กลิ่นคือการจำทรง และกลิ่นคือการปฏิบัติมาให้ ชื่อว่าย่อมไม่มีผลแก่ผู้ (ซึ่ง) ไม่ตั้งใจ ประพฤติพระพุทธพจน์นั้น โดยเอื้อเฟื้อด้วยกิจทั้งหลายมีการฟัง เป็นต้น, ชื่อว่าผู้ไม่ทำกิจที่ควรทำในพระพุทธพจน์นั้น; เพราะเหตุนั้น พระศาสดา จึงได้ตรัสว่า "วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำอยู่."

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 23 ต.ค. 2551

จะเห็นได้ว่าการศึกษาธรรม เป็นไปเพื่อน้อมประพฤติปฏิบัติ เมื่อเข้าใจถูกต้อง ด้วยจุดประสงค์ที่ถูก ปัญญาย่อมทำหน้าที่ปรุงแต่งให้สติเกิดระลึกสภาพธรรม ว่าเป็น ธรรมไม่ใช่เรา นี่คือผลของการศึกษาพระธรรมที่ถูกต้อง แต่หากศึกษาเพื่อเรา เพื่อ ได้ เพื่อจะรู้ ไม่ใช่เพื่อละ คือละความไม่รู้ในสภาพธรรมขนาดนี้ แม้จะจำข้อความธรรมได้มาก แต่ก็ไม่เข้าใจอรรถ ไม่เข้าใจตัวจริงของสภาพธรรม ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่ศึกษาก็อยู่ในชีวิตประจำวันและปัญญาควรรู้ในขณะนี้ รู้ในสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ก็เป็นการศึกษาที่ผิด เป็นการศึกษาที่เรียกว่าจับงูผิดที่หาง ไม่เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส ไม่รู้ความจริงขณะนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 23 ต.ค. 2551

ดังนั้น แม้อยู่ใกล้บัณฑิตแต่ศึกษาธรรมด้วยความไม่แยบคาย ก็ลืมจุดประสงค์ที่ว่า เพื่อขัดเกลากิเลสและรู้สภาพธรรมที่มีในขณะนี้ก็มีแต่เพิ่มกิเลสและความไม่รู้ ก็เปรียบ เหมือนทัพพี แม้จะอยู่ใกล้อาหารที่ดีตลอดเวลา แต่ก็ไม่สามารถรู้รสแกงของอาหารได้เลย คือไม่ได้คุณธรรมความดีจากการศึกษา เมตตาเพิ่มขึ้นไหม กุศลประการต่างๆ เพิ่มขึ้นไหม และสำคัญที่สุดก็ไม่ได้เข้าใจสภาพธรรมที่มีในชีวิตประจำวันด้วยครับ วาจาแม้กล่าวมาก แต่ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามก็เหมือนดอกไม้มีสีแต่ไม่มีกลิ่นฉะนั้น การศึกษาธรรมจึงเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสและรู้สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ไม่มีคำว่าสายครับ หากเริ่มต้นถูกต้อง ขออนุโมทนาครับ เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ สำคัญที่น้อมประพฤติปฏิบัติตาม

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 24 ต.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 24 ต.ค. 2551

ปัญญามีหลายขั้น ขั้นฟังเข้าใจเรื่องราวของลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฎจนจรด เยื่อในกระดูกเป็นเหตุปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดได้

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 25 ต.ค. 2551

ถ้าฟังแล้วไม่น้อมประพฤติปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมขณะนั้นก็เปรียบเสมือน "ทัพพีที่ไม่รู้รสแกง"

...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 25 ต.ค. 2551

แม้ในครั้งพุทธกาล พระเทวทัตได้บวชในสำนักของพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แต่ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตาม เป็นโมฆะบุรุษ คือบุรุษว่างเปล่าจากคุณธรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 25 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น ไม่ใช่เพื่อโลภะ ไม่ใช่เพื่อลาภ ไม่ใช่เพื่อยศไม่ใช่เพื่อสักการะ ไม่ใช่เพื่อสุข ไม่ใช่เพื่อการสรรเสริญ แต่ต้องเป็นไปเพื่อปัญญาซึ่งเป็นความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง การที่จะเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการสั่งสมมาของแต่ละบุคคลด้วย จากที่ไม่เคยรู้มาก่อน ก็จะค่อยๆ รู้ขึ้น เข้าใจเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น พระธรรมทั้งหมด เพื่อให้ผู้ฟัง ผู้ศึกษาเกิดปัญญาเป็นของตัวเอง ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจอย่างแท้จริง และมีความมั่นคงในหนทางที่ถูกต้อง ย่อมจะดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทาง (คือการดับกิเลส) ได้ในสักวัน คงไม่เป็นเหมือนกับทัพพีที่ไม่รู้รสแกง อย่างแน่นอน ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เซจาน้อย
วันที่ 26 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
SIRICHAI
วันที่ 26 ต.ค. 2551

สติระลึกรู้ขณะนี้ เวลานี้ ทันที่เท่านั้นคือรู้รสแกง

ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
happyindy
วันที่ 27 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

เป็นทัพพีตราบใด ย่อมไม่มีวันรู้รสแกง เพราะยังเป็นพาลชน (ผู้โง่เขลา) อยู่กับธรรมะทุกขณะ ก็ไม่เคยรู้ งั้นมาเป็นผู้ศึกษาพระธรรมกัน มาเป็นคนจับด้ามมีด มาฟังธรรม ค่อยๆ ฟัง ตั้งใจฟัง ด้ามสึก เมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Pararawee
วันที่ 28 ต.ค. 2551

อนุโมทนาสหายธรรมทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
swanjariya
วันที่ 25 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
สิริพรรณ
วันที่ 1 ก.ค. 2559

กราบอนุโมทนา ขอบพระคุณยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
lokiya
วันที่ 29 ก.พ. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ