ศึกษาอย่างไรจึงจะได้สาระจากพระธรรม
หลายคนอาจตอบว่าก็ฟังให้เข้าใจในสิ่งที่ฟังไง นั่นก็ใช่ แต่มาลงรายละเอียดกันหน่อย ดีไหม คือการศึกษาธรรมะต้องตรง ละเอียด ไม่เผิน ตรง คือเมื่อฟังว่าธรรมะเป็นอนัตตา หมายถึงไม่ใช่สัตว์ ตัวตน บุคคล บังคับบัญชาไม่ได้ แต่ฟังแล้วก็มีตัวตนที่จะบังคับให้สติปัฏฐานเกิด อันนี้ก็ไม่ตรงแล้ว เป็นต้น ละเอียด เพราะสภาพธรรมละเอียด พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนโดยละเอียด เช่น เป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน แต่ไปสำนักปฏิบัติเพื่ออบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็ไม่ใช่ มีปกติแต่ผิดปกติ ไม่เผินคือ ใส่ใจ ไม่ผ่าน ไม่ข้้าม เช่น ธรรมะหรือธาตุ หมายถึงสิ่งที่มีจริงๆ ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตนๆ เกิดดับตามเหตุปัจจัย แต่เมื่อโกรธเกิดก็เอาโกรธมาเป็นเราและเดือดร้อน อยากให้โกรธดับ ลืมสนิทว่าโกรธเป็นธรรมะไม่ใช่เรา เป็นต้น
เพราะฉะนั้น เมื่อฟังพระธรรมต้อง ตรง ละเอียด ไม่เผิน จึงจะได้สาระจากพระธรรม (นำเสนอเหมือนมีตัวตนที่ทำได้ แต่ถ้า ตรง ละเอียด ไม่เผิน คือทุกอย่างเป็นธรรมะ) เพิ่มเติม ไม่เผิน เช่น ธรรมะคือ ขณะนี้ได้แก่ เห็น ได้ยิน คิดนึก จึงไม่ต้องไปแสวงหา ธรรมะที่ไหน ถ้าปัญญาเกิดก็รู้ความจริงของ เห็น ได้ยิน คิดนึก ฯลฯ นั่นแหละ
ตรง ละเอียด ไม่เผิน เป็นลักษณะของปัญญาที่เกิดขึ้นกระทำกิจเข้าใจธรรมะแต่ถ้าเป็นอกุศลก็ย่อมตรงกันข้าม คือ ทั้งคด หยาบ และ เผิน
...ขออนุโมทนาครับ...
ศึกษาแล้วน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน เช่น เบื้องต้นเป็นคนดี มีศีลเป็นที่ รัก มีปัญญา เพราะปัญญาทำให้กุศลเจริญขึ้นทุกประการ ปัญญามาจากการฟังธรรมะค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตั้งใจฟัง ตั้งใจศึกษา พิจารณา ไตร่ตรอง และตรงต่อตัวเองว่า ศึกษาพระธรรมเพื่ออะไร (เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น)
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
การเจริญสติจำเป็นที่จะต้องเป็นไปทีละฃั้น ก็จะรู้สภาพธรรมตั้งแต่ขั้นหยาบก่อน จนปัญญามีความคมกล้าขึ้นเรื่อยๆ ก็จะสามารถรู้สภาวธรรมที่ละเอียดขึ้น
เจ้าของกระทู้ ก็รู้นะว่านำเสนอเหมือนทุกอย่างมีตัวตนที่ทำได้ คือมีตัวตนที่ต้องตรง ต้องละเอียด ต้องไม่เผิน ฟังธรรมแล้วเข้าใจว่าเป็นธรรมะ ก็ ตรง ละเอียด ไม่เผิน อยู่แล้วครับ
ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า
ฟังด้วยความคาดหวัง ฟังด้วยความอยากฟังมาก เพื่อความได้มาก เพื่อการรู้มากย่อมไม่ได้สาระ เพราะอาจได้ฟังได้ยินสิ่งที่ไม่อยากได้ยินได้ฟัง หรือสิ่งที่ไม่ตรงกับการคาดหวังของตน ส่วนการฟังที่ไม่คาดเดาพระธรรมตามใจชอบของเรา หรือด้วยความเป็นเรา ฟังด้วยดี ย่อมเข้าใจด้วยดีเช่นกันว่า ธรรมะย่อมเป็นธรรมะ คงลักษณะ เปลี่ยนแปลงตามใจชอบของใครไม่ได้ การฟังนั้นจึงจะค่อยๆ ตรงขึ้น ละเอียดขึ้นและไม่เผิน ประโยชน์ย่อมเกิดขึ้นได้จากน้อย ไปมาก ตามลำดับ จนถึงประโยชน์อันสูงสุด ด้วยเหตุคือ การฟังถูก เข้าใจถูก ละถูก
ขออนุโมทนาคุณ orawan.c
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ