สาระ หรือ มิใช่สาระ

 
pornpaon
วันที่  26 ต.ค. 2551
หมายเลข  10215
อ่าน  1,949

การสนทนาปฏิบัติธรรมช่วงบ่ายวันอาทิตย์

มีท่านผู้ฟังท่านหนึ่งเปิดประเด็นเรื่อง

"สาระ"......."ไม่ใช่สาระ"

จึงเกิดการสนทนากันหลายมุม หลากนัย จากหลายท่าน เช่นว่ารูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส คิดนึกล้วนแต่เกิดดับ ไม่มีตัวตน ไม่ควรถือเป็นสาระและว่ารูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส คิดนึกล้วนแต่เกิดดับไม่มีตัวตน ไม่ควรถือเป็นสาระ แต่หากฟังเรื่องทั้งหกนั้นเข้าใจ ก็เรียกว่าได้สาระ หรือมีสาระ

สาระสูตรมีว่า ศีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ วิมุตติสาระ

ขณะที่ฟังอยู่นั้น ผู้เขียนได้เกิดคิดไปว่าการฟังพระธรรม หากเข้าใจบ้างแม้นิดหน่อย การฟังนั้นย่อมเป็นสาระ มีสาระ ความเข้าใจ คือ สาระ

ความคิดนึกของแต่ละท่านย่อมต่างกันไปหลากหลายตามการสะสม มีได้ทั้งความเข้าใจถูกและความเข้าใจผิด แต่ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด ผู้เขียนเอง ก็คงมีหลายอย่างที่ฟังแล้ว ได้ยินแล้ว แต่เข้าใจผิดหรือจากการพลั้งเผลอในขณะที่ไม่ได้ตั้งใจฟัง

ด้วยเวลามีไม่มากพอที่จะยกพระสูตรหรือลงรายละเอียดได้มากนักในเวลานั้น

จึงอยากเรียนขอเชิญอาจารย์วิทยากรกรุณากล่าวถึง "สาระสูตร" พร้อมคำอธิบายตามสมควรเพื่อความเข้าใจ เพื่อสาระประโยชน์กับผู้ศึกษาทุกท่านค่ะ และหากว่าท่านผู้อ่านท่านใด สนใจ ไต่ถาม ร่วมสนทนาความคิดเห็นใดๆ ของแต่ละท่าน ผู้เขียนเห็นว่า ล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 26 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย



[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๓๖๘

๑๐. สารสูตร

ว่าด้วยสาระ ๔ ประการ

[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาระ ๔ นี้ ฯลฯ คือ สีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ วิมุตติสาระ นี้แล สาระ ๔ ประการ

จบสารสูตรที่ ๑๐

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 26 ต.ค. 2551

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๑๕๓

เรื่อง สญชัย

"ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่ประสพสิ่งอันเป็นสาระ. ชนเหล่าใดรู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมประสพสิ่งเป็นสาระ"

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 26 ต.ค. 2551

สาระคือสิ่งที่เป็นแก่น สิ่งที่เป็นประโยชน์ ประโยชน์ในที่นี้ไมได้หมายถึงการได้ รูป เสียง รส กลิ่น แต่ประโยชน์คือกุศลธรรมนี่คือสาระ เพราะนำมาซึ่งประโยชน์สุขในโลกนี้ ประโยชน์สุขในโลกหน้าและประโยชน์อย่างยิ่ง (นิพพาน) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสาระจึงมีหลายระดับตามระดับของกุศลธรรม ศีลก็เป็นสาระ นำมาซึ่งประโยชน์ ความสุข สมาธิก็เป็นสาระ (สัมมาสมาธิ) ปัญญาก็เป็นสาระ เพราะเห็นถูกตามความเป็นจริง วิมุตติ (การหลุดพ้น) เป็นสาระเพราะประโยชน์สูงสุดของการศึกษาพระธรรมคือ เพื่อหลุดพ้นจากกิเลส ดังนั้นวิมุตติ (การหลุดพ้น) จึงเป็นสาระ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 26 ต.ค. 2551

สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เกิดขึ้นและดับไป ไม่ใช่สาระ แต่สาระคือความเข้าใจที่เกิดขึ้นจากสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เอง ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะที่ฟังธรรมเข้าใจก็ชื่อว่าเป็นสาระ กุศลธรรมประการต่างๆ ก็เป็นสาระ แต่สาระที่ประเสริฐคือ การอบรมปัญญาเพื่อเข้าใจธรรมที่มีในขณะนี้ เพราะเป็นไปเพื่อดับกิเลส อันเป็นสาระสูงสุด ผู้ที่ถือในสิ่งที่เป็นสาระย่อมได้สาระ คือได้ในสิ่งที่ถูก เป็นประโยชน์ เป็นแก่น นั่นคือ เข้าใจความจริงของสภาพธรรมและดับกิเลสได้ในที่สุด จงเป็นผู้ไม่ประมาทในสาระทุกๆ ประการครับ

ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

ความเข้าใจพระธรรมเป็นสาระสำคัญที่สุดในชีวิต

สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไป??

รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็นสาระ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 27 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 27 ต.ค. 2551

สาธุ

ขออนุโมทนาผู้ตั้งกระทู้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 27 ต.ค. 2551

แก่นแท้ของชีวิตคือการอบรมปัญญา จึงจะมีสาระค่ะ

ขออนุโมทนาเจ้าของภาพค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 27 ต.ค. 2551

สาระหมายถึง สิ่งที่นำความสุขความเจริญมาให้ เพื่อพ้นจากวัฏฏะ

ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของทุกๆ ท่านค่ะ และขอให้ชีวิตมีสาระยิ่งๆ ขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 27 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตแต่ละประเภท แต่ละขณะ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่มีอะไรเหลือ (ไม่ควรทีจะยึดถือในสิ่งที่ปรากฏแล้วหมดไปว่าเป็นตัวตนเป็นสัตว์ เป็นบุคคล) จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ย่อมจะดำเนินไปอย่างนี้ ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่เป็นสาระ คือ ความเข้าใจสิ่งที่มีจริง ตามความเป็นจริง เนื่องจากว่าได้สั่งสมอกุศลมามาก ทั้งโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น การที่จะบรรลุถึงวิมุตติสาระ (แก่น คือ ความหลุดพ้น) ซึ่งเป็นการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงนั้น เป็นเรื่องที่ยากและไกลมาก กว่าที่ปัญญาจะถึงระดับขั้นดังกล่าวได้นั้น ก็จะต้องค่อยๆ อบรมเจริญขึ้นทีละเล็กทีละน้อย และประการที่สำคัญ ต้องเป็นปัญญาของตนเองที่รู้จริงๆ ว่า ความเข้าใจในสภาพธรรมซึ่งเป็นอนัตตา (ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน) เพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้น จึงต้องฟัง ต้องศึกษาพระธรรมด้วยความตั้งใจ ต่อไป เพราะ ผู้ที่เข้าใจพระธรรมเท่านั้นจึงจะได้สาระจากพระธรรม และชีวิตก็จะมีสาระมากยิ่งขึ้น ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ajarnkruo
วันที่ 27 ต.ค. 2551

ถ้าไม่เคยสะสมการฟังและการเจริญเหตุที่เป็นสาระมาก่อนย่อมพอใจแต่การฟังและการเจริญเหตุที่ไม่เป็นสาระ

...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เซจาน้อย
วันที่ 27 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 27 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ สำหรับทุกๆ สาระ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Noparat
วันที่ 28 ต.ค. 2551

เมื่อก่อนมีชีวิตที่ไม่เป็นสาระ เพราะศึกษาพระธรรมแบบผิดๆ แต่เมื่อมีโอกาสได้ ฟังท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์บรรยายธรรม จึงรู้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิตคือการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เพื่อมีความเห็นถูก คลายความ ติดข้อง และเข้าใจสิ่งที่มีจริง ตามความเป็นจริงของชีวิต

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Pararawee
วันที่ 28 ต.ค. 2551

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pannipa.v
วันที่ 28 ต.ค. 2551

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
choonj
วันที่ 28 ต.ค. 2551

ผมเป็นผู้ที่ถาม อ. โดยกล่าวว่า ธรรมที่เกิดดับล้วนไร้สาระ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น คำถามของผมสืบต่อเนื่องจากการสนทนาวันนั้น เกี่ยวกับอกุศลซึ่งไม่มีสาระ และการเข้าใจธรรมที่สนทนา โดยถามว่า ถ้าเข้าใจธรรมเกิดดับไร้สาระก็จะช่วยให้เดือดร้อนน้อยลง เช่น เมื่อโกรธเกิด ก็เข้าใจว่าโกรธไร้สาระ เมื่อโกรธดับก็ไม่เดือดร้อน การเข้าใจอย่างนี้รู้สึกว่าจะเป็นทางลัดให้เข้าใจธรรมดีขึ้นหรือไม่ จึงขอความเห็น อ. คำถามของผมเน้นที่อกุศลนะครับไม่ใช่กุศล อ. ตอบคำถามโดยถามกลับว่า ทางลัดที่ว่าไปถึงไหนมีสิ้นสุดไหม คำถามของผม ผมก็รู้ว่าไม่ถูก แต่ก็สามารถลดความเดือดร้อนในขณะที่อกุศลเกิดได้ระดับหนึ่งจึงถามเพื่อจะฟังว่าเป็นอย่างไร

การสนทนาก็เป็นไปโดยยกเอาสาระสูตรที่เป็นกุศล และไร้สาระสูตรที่เป็นอกุศลมาสนทนาซึ่งผมไม่ได้ถาม แต่ถ้าจะสนทนาต่อในที่นี้ก็ได้ เพราะ ศีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ วิมุติสาระ มรรคมีองค์ ๘ โพธิปักขิยธรรมๆ ลๆ ที่เป็นกุศล เป็นการเจริญสังขารขันธ์ ซึ่งเป็นแก่นเป็นประโยชน์ในการศึกษาธรรมนั้นก็เป็นธรรมที่เกิดดับ แล้วก็เข้าใจว่า มีสาระ เป็นสาระ แต่เมื่อเป็นประตินิสังคญาณ ก็ต้องสลัดคืนให้ธรรมชาติหมดเอาไปไม่ได้ ขณะนั้นจะเรียกว่าไม่ใช่สาระได้ไหม เหมือนกุศล อกุศลผลสุดท้ายก็ต้องทิ้งหมด ครับ

ที่เขียนมาก็ให้อ่านกันสนทนากันเล่นๆ เท่านั้นเองครับ เมื่อยังเป็นปุถุชน สาระก็มีไม่ใช่สาระก็มี ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
pornpaon
วันที่ 28 ต.ค. 2551

คุณชุณห์จะกล่าวด้วยอะไรจะถามด้วยอะไร การถามนั้นจะถามถูกหรือถามผิด ทุกอย่างล้วนเป็นธรรมะ หากแต่อยู่ที่การฟัง จะฟังตามด้วยดี น้อมคิดพิจารณา ในสิ่งที่ได้ยิน เป็นไปในกุศล หรือเป็นไปในอกุศล เป็นสาระ หรือมิใช่สาระ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
เมตตา
วันที่ 29 ต.ค. 2551

ผู้ที่เข้าใจพระธรรมเท่านั้นจึงจะได้สาระจากพระธรรม

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
orawan.c
วันที่ 29 ต.ค. 2551

ความเข้าใจพระธรรม การอนุเคราะห์ผู้อื่นให้เข้าใจ และเห็นประโยชน์ของพระธรรมนั้นเป็นสาระสำคัญที่สุดในชีวิต การสงเคราะห์ช่วยเหลือสังคมนั้นไม่มีวันจบสิ้นและไม่สามารถให้เกิดความสงบสุขได้ เมื่อไม่เข้าใจพระธรรม ความทุกข์ก็จะบรรเทาและหมดสิ้นไปไม่ได้ เพราะไม่รู้เหตุที่แท้จริงของปัญหาต่างๆ เหตุที่แท้จริงของปัญหาและความทุกข์ทั้งหลายนั้นก็ คือ โลภะ โทสะ โมหะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
opanayigo
วันที่ 29 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนา สาระธรรม จากทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
dron
วันที่ 29 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
ปริศนา
วันที่ 29 ต.ค. 2551

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
สิริพรรณ
วันที่ 3 เม.ย. 2564

กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลทุกท่านด้วยความเคารพค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
chatchai.k
วันที่ 18 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ